remove_red_eye0.9K Views

นั่งทำงานนานจน “น้องริดซี่” มาเยือน

โพสต์วันที่ 02/11/2022

ทุกวันนี้หนุ่มสาวออฟฟิศหลายคน ถ้าได้นั่งทำงานอยู่บ้านติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้ลุกเดินเท่ากับการเดินทางไปทำงานที่ทำงานแน่นอน หากนั่งนานจนเกินไป รู้มั๊ยว่าเป็นสาเหตุการเกิดของน้อง “ริดซี่” ได้นะ น้องริดซี่ที่ว่านี้ก็คือ ริดสีดวงนั้นเอง

เมื่อริดซี่มาเยือนสาเหตุสำหรับชาวออฟฟิศส่วนใหญ่มาจากอะไร ?

  1. นั่งทำงานนานเกินไป : ทำให้เกิดการกดทับ/ อุดกั้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณปากทวารหนัก ทำให้เลือดคั่งจนเกิดเป็นก้อนขึ้นมา
  2. ดื่มน้ำน้อย : อุจจาระเกิดความแข็งเสียดสีกับปากทวารหนักทำให้ริดซี่มาเยือนได้
  3. ทานกากใยน้อย : อาหารที่มีกากใย ผัก ผลไม้ จะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ทำการขับถ่ายได้ง่าย
  4. เบ่งอุจจาระแรงและนาน : การเสียดสีของอุจจาระกับปากทวารหนัก เกิดอาการอักเสบ

4 สาเหตุข้างต้นเหล่านี้เชื่อว่าชาวออฟฟิศหลายคนเคยทำพฤติกรรมนี้บ่อย เป็นประจำในทุก ๆ วัน หากไม่อยากเป็นริดซี่ละก็ ต้องรู้จักเปลี่ยนท่าทางการนั่ง ไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีกากใยอาหารบ้าง ทั้งผักและผลไม้ นอกจากนี้ใครที่ชอบนั่งเล่นมือถือ เล่นเกม ตอนนั่งอุจจาระละก็ห้ามนานเกินไปนะจ๊ะ

อาการริดซี่เป็นยังไง ?

ช่วงแรกที่เป็นมันก็จะมีอาการคัน ๆ หน่อยตรงติ่งก้อนริดซี่ เวลาเดินก็จะมีริดซี่โผล่ออกมาไม่ยุบเข้าไปนะเออ แม้จะนั่งจะนอนก็ยังคงมีริดซี่โผล่ออกมาให้กวนใจ ขัดใจตลอดเวลาในการใช้ชีวิตประจำวัน หากปล่อยไปไม่ยอมรักษาให้ทันท่วงทีคราวนี้จะยิ่งใหญ่ขึ้นและอักเสบกว่าเดิม ความรู้สึกคือ ก็จะเจ็บมากทั้งเวลาเดิน นั่ง ขับถ่าย เป็นไปอย่างยากลำบาก หนักสุดเลยคืออาจเลือดออกได้ และในระยะยาวจะทำให้เกิดเป็นเนื้อร้ายต้องเลเซอร์ไม่ก็ผ่าตัดเท่านั้น !

 

พอเป็นแล้วทำไงดี ?

เริ่มแรกเลยเราต้องรู้ก่อนว่าน้องริดซี่เรามีอาการถึงระยะไหนแล้ว…

  • ระยะเบา : ริดซี่ยังจิ๋วอยู่ เป็นก้อนเนื้อที่โผล่ออกมา มีอาการคัน นั่งแล้วรู้สึกเจ็บไม่สะดวกสบาย แต่เรารักษาเองได้เบื้องต้น อย่างแรกเลยคือต้องทานยาและใช้ยาทา โดยเราสามารถรักษาบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ปรึกษากับเภสัชกร
  • ระยะกลาง : ริดซี่เริ่มใหญ่ขึ้น เวลาขับถ่ายอาจมีเลือดออกมาด้วย รู้สึกเจ็บแต่ยังสามารถดันริดซี่กลับเข้าไปได้ เมื่อถึงระยะนี้เริ่มได้เวลาปรึกษาแพทย์ดูเบื้องต้นว่าควรรักษาแบบไหนดี ? แพทย์จะช่วยวินิฉัยได้ว่าจะทานยา ทายา หรือเลเซอร์ดี
  • ระยะหนัก : โอ้โหเมื่อถึงระยะนี้แล้ว พอเป็นริดซี่ก็คืออาการหนักแล้วนะคะน้อง ๆ เพราะริดซี่จะใหญ่จนไม่สามารถกับเข้าไปอยู่ที่เดิมได้อีกแล้วนะคะ เรียกได้ว่าไม่สามารถนั่งทำงานได้แล้วค่ะ อาจจะต้องนอนทำงานไปเลย พี่เรนนี่ขอแนะนำว่าพบแพทย์ด่วน ๆ เลยค่ะ ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้อาจจะต้องผัดตัดไปเลยก็ว่าได้นะคะ

ริดซี่มาเยือน…ประกันสุขภาพใช้ได้มั๊ย ?

พี่เรนนี่ขอตอบเลยว่าได้แน่นอนจ้า ยิ่งใครที่มีประกันสุขภาพแบบ OPD ละก็อุ่นใจได้เลย เพราะจะช่วยเคลมประกันเบื้องต้นของการเป็นริดซี่ได้ ไม่ว่าจะไปพบแพทย์ส่องกล้อง ปรึกษาแพทย์ วินิฉัยโรคที่เป็น ตลอดจนได้รับยา ฯลฯ ส่วน IPD ก็จะครอบคลุมริดซี่ระยะที่ต้องเลเซอร์หรือผ่าตัดก็ได้เช่นกัน

ปรับพฤติกรรมใหม่ ฉบับมนุษย์ออฟฟิศ

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น เน้นผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงการทานอาหารเผ็ดจัด
  • หลังทำงานเสร็จ ก็ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ
  • ดูแลเรื่องระบบขับถ่าย ฝึกอุจจาระให้เป็นเวลาจะเช้า หรือ เย็นก็ได้ แค่ต้องเป็นเวลาประจำ
  • ไม่ควรนั่งหรือยืนนาน ๆ รวมทั้งไม่นั่งห้องน้ำถ่ายนาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 8-10 แก้ว

ถ้าหากทำตาม 5 ข้อที่แนะนำมาข้างต้นเหล่านี้แล้ว ยิ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นริดซี่ได้มากทีเดียว เราก็ไม่ต้องทนทรมานลุ้นว่าริดซี่เมื่อเป็นแล้วต้องรักษาตามอาการเป็นระยะเวลากี่วันยาวนานขนาดไหน หากว่าเรารู้ตัวว่าเราเริ่มเป็นแล้วก็ควรดูแลรักษาตัวเองตั้งเนิ่น ๆ อย่าปล่อยให้เป็นถึงขั้นระยะร้ายแรงแล้วค่อยมารักษานะคะ ! แล้วเจอกันในคู่มือสุขภาพมนุษย์ออฟิศ Ep ถัดไปนะจ๊ะ


รัก
พี่เรนนี่ 

ที่มา : https://www.borraginol.com/en/knowledge/





เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ออฟฟิศซินโดรม
#officesyndrome
#ริดสีดวง
#ริดสีดวงทวาร
#Hemorrhoids
แนะนำสำหรับคุณ
5 โรคอันตรายจาก "คาเฟอีน"
3.2K view
Editor
verified_user
ปวดหัว หรือ “ไมเกรน” โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ
2K view
Editor
verified_user
โรคกระเพาะอาหารกำเริบ
1.6K view
Editor
verified_user
คลิก คลิก คลิก จนนิ้วล็อค
621 view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่