โรคกระเพาะอาหารกำเริบ
เคยมั๊ย ? งานเยอะกองสูงเท่าภูเขา ปั่นงานจนลื๊มมมทานข้าวซะงั้น สำหรับมนุษย์ออฟฟิศ Deadline งานคงต้องมาก่อนกินข้าว ทำให้เราลืมทานข้าว บางทีอาจจะไม่ลืมแต่ก็ทานไม่ตรงเวลา อีกทั้งความเครียดจากงานก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ “โรคกระเพาะอาหาร” (Dyspepsia) เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจ
แม้ว่าโรคกระเพาะอาหารไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ทำให้เราปวดท้องจนทรมาน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการปวดท้องก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ปวดท้องอยู่ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นอาการปวดหายไปเป็นเดือน จนคิดว่าหายแล้ว แต่สุดท้ายก็กลับมาปวดอีก
จากงานวิจัยของ Data Bridge พบว่าตลาดโรคกระเพาะอาหารทั่วโลกมีการเติบโตที่ CAGR (ปี 2020-2027) 3.60% แต่ละปีก็มีผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารก่อนวัยอันควรยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย หันมาดูที่ไทยบอกเลยว่าโรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากเช่นกัน มีการศึกษาความชุกของโรคนี้ในไทย พบถึงร้อยละ 66 เลยทีเดียว
พฤติกรรมชาวออฟฟิศไหนที่ชวนก่อโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุหลักเกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป เนื่องจากพฤติกรรมชาวออฟฟิศ- นั่งทำงานตาม Deadline จนลืมทานข้าว บางครั้งก็ทานอาหารไม่ตรงเวลา
- ทานอาหารรสจัดจ้าน เช่น ส้มตำ ยำแซ่บ ของโปรดชาวออฟฟิศ
- ความเครียดของพนักงานออฟฟิศที่ต้องโดนกดดันจากงาน เพื่อนร่วมงาน สิ่งแวดล้อมการทำงาน ที่เขาเรียกกันว่า “เครียดลงกระเพาะ” นั้นเอง
- หลังเลิกงานแล้วก็ต้องตี้ ตี้แอลกอฮอล์ให้หายเครียด
- ทำงานจนปวดหัวแล้ว ก็ต้องจัดยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน เป็นต้น
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารด้วยกันทั้งสิ้น หากปล่อยไว้นาน ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาจะเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้เน้ออ
รักษาฉบับคนสู้งานยังไงถึงหายถาวร ?
วิธีที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง- พกอาหารสำรองเวลาทำงาน
- ลดทานอาหารรสจัด
- ลดความเครียดระหว่างงาน ทำกิจกรรมผ่อนคลาย สัก 5-10 นาที เช่น ดูรายการบันเทิง ยืดเส้น ยืดสาย
- ลดบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับให้เพียงพอ
วิธีที่ 2 พบแพทย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา นั้นก็คือรักษาด้วยยา… พอมาถึงจุดนี้แล้ว ก็ต้องนึกถึงเรื่องค่าใช้จ่ายพบแพทย์ที่ตามมาว่า อัตราค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ ?
หากมีอาการกระเพาะอาหารกำเริบ จนเกิดแผลในกระเพาะ
มีค่าใช้จ่ายในการรักษาประมาณ 50,000 - 151,000 บาท (*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
ข้อมูลจาก เมืองไทยประกันชีวิต
(*ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง) ข้อมูล ณ วันที่ 9 ก.พ. 2565
เคลมประกันเท่าไหร่ ถึงจะพอ ?
พี่เรนนี่ขอพามาดูว่าประกันตัวไหนที่ครอบคลุมการรักษาโรคกระเพาะได้บ้างและคุ้มครองสูงสุดที่ราคาเท่าไหร่ ไปดูกัน
So you : แผนประกันปรับได้ตามใจ
รายละเอียดความคุ้มครอง
- เลือกแผนประกันได้ตามใจ ไม่ว่าจะคุ้มครอง IPD, OPD กลุ่มโรคมะเร็ง หรือกลุ่มโรคยอดฮิต
- คุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยใน IPD สูงสุด 1,000,000 บาท
- คุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD สูงสุด 2,000 บาท ต่อครั้ง
FWD : เอฟดับบลิวดี ดีไลท์ แคร์ + โอพีดี พลัส
รายละเอียดความคุ้มครอง
- ค่าห้อง และค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาลมีแผนให้เลือกได้ตามใจ เหมาจ่ายสูงสุด 1,250,000 บาท
- หมดกังวลกับค่าธรรมเนียมการผ่าตัด คุ้มครองทั้งผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดใหญ่ เหมาจ่ายตามวงเงินในตารางผลประโยชน์
- แบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (โอพีดี พลัส) มีแผนให้เลือกหลากหลาย สูงสุด 3,000 บาท
การรักษาระยะยาวและได้ผลอย่างถาวรนั้นคือ เราต้องรู้จักเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวทำให้เกิดการไหลของกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินความจำเป็น พี่เรนนี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ชาวออฟฟิศทั้งหลายอย่าลืมออกกำลังกาย ลดอาหารรสจัดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะ แล้วเจอกันใหม่ Ep. ถัดไปนะคะ
ที่มา :
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/peptic-ulcer-disease
https://th.yanhee.net
https://www.databridgemarketresearch.com/reports/global-functional-dyspepsia-market
รัก
พี่เรนนี่