5 โรคอันตรายจาก "คาเฟอีน"
มนุษย์ออฟฟิศหลายคนที่ตื่นเช้ามา ยังไงก็ต้องแวะไปซื้อเครื่องดื่ม อย่าง “กาแฟ” ก่อนเข้าทำงานเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีพลังงานทำงานได้ทั้งวัน ลดความรู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า ลดอาการง่วงนอนอีกด้วย แต่รู้มั๊ยว่า ใครที่ดื่มมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการ Caffeine Overdose ได้ด้วยนะ ซึ่งหากสะสมเป็นระยะเวลานานแล้วละก็ จะส่งผลให้เกิดโรคอันตรายสุดฮิตของคนไทยเลยนะ วันนี้พี่เรนนี่เลยพามารู้ลึกถึง “คาเฟอีน” สารสุดฮิตติดอันตรายของหนุ่มสาวออฟฟิศ คืออะไร มีประโยชน์-โทษยังไง และสัญญาณอาการก่อนเกิด 5 โรคอันตรายเป็นยังไง ไปอ่านต่อ...
“คาเฟอีน” ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นสารที่ช่วยให้สมองตื่นตัวและกระตุ้นพลังงานภายในร่างกาย ทำให้เราไม่ง่วงนอน รู้สึกแอคทีฟตลอดการทำงาน แต่ ! อย่าลืมไปว่าถ้าหากดื่มมากเกินอัตราต่อวันนึงที่ร่างกายรับได้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ! สำหรับผู้ใหญ่แล้ว การรับคาเฟอีนปริมาณปานกลางอยู่ที่ระดับไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับการดื่มกาแฟประมาณ 3-4 ถ้วย แต่ต้องคำนึงถึงการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารชนิดอื่นที่มีคาเฟอีนด้วยนะ *คำเตือนสำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือปริมาณกาแฟสำเร็จรูป 2 ถ้วย เพราะการรับคาเฟอีนมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งได้
เคยรู้ข้อดีของคาเฟอีนมามาก แล้วข้อเสียของ “อาการ Caffeine Overdose” ถ้าดื่มมากเกินไปจะเป็นยังไง ?
- นอนไม่หลับ คุณภาพการนอนลดลง
- การบริโภคคาเฟอีนเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดความวิตกกังวล
- คาเฟอีนอาจเพิ่มพลังงานและประสิทธิภาพต่าง ๆ ภายในร่างกาย จนทำให้เกิดความเมื่อยล้า
- คาเฟอีนทำให้สมองหลั่งสารคล้ายกับการติดสารเสพติด อาจเกิดอาการติดคาเฟอีนได้
- ร่างกายดูดซึมแคลเซียมน้อยลงจนเกิดภาวะกระดูกพรุน
- ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้
- เกิดอาการกรดไหลย้อนและท้องเสียได้
- กระทบต่อทารกในครรภ์ เด็กน้ำหนักตัวลดลง หรืออาจทำให้แท้งได้
- อาการเจ็บป่วยแย่ลง เช่น โรคต้อหิน โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคลมชัก โรคเบาหวาน
ใครควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนบ้าง ?
- ผู้ที่มีภาวะไวต่อคาเฟอีน
- ผู้ที่กินยารักษาโรคบางชนิด
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร
15 อันดับเครื่องดื่มกาแฟสุดฮอต Starbucks ที่มีคาเฟอีนมาก-น้อยที่สุด มีเมนูอะไรบ้าง ระดับคาเฟอีนปริมาณเท่าไหร่บ้าง ?
ที่มา: Above Average Coffee, January 15, 2022
5 โรคอันตรายที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากไป
-
โรคหัวใจ
: การดื่มกาแฟมากจนเกินไป อาจเกิดโรคหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจตามมา
-
โรคเหน็บชา
: เนื่องจากคาเฟอีนจะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี 1 ทำให้เราเกิดอาการเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการบวม อาจถึงขั้นทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตได้
-
โรคกระดูกพรุน
: กาแฟมีส่วนเข้าไปขัดขวางการดูดซึมและนำแคลเซียมไปใช้ ส่งผลให้กระดูกไม่ได้รับการบำรุง จนเกิดภาวะกระดูกพรุนและบางตามมา
-
โรคความดันโลหิตสูง
: เนื่องจากหัวใจจะทำงานเพิ่มขึ้น เต้นเร็วและเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตก็จะเพิ่มขึ้นได้ -
โรคกระเพาะอาหาร
: การดื่มกาแฟในปริมาณที่มากเกินไป จะกระตุ้นให้กรดหลั่งออกมามาก เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
โรคอันตรายที่เกิดจากการดื่มคาเฟอีนสามารถเคลมประกันสุขภาพได้มั๊ย ?
พี่เรนนี่ขอแนะนำเลยว่าหากน้อง ๆ ได้ทำ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ส่วนใหญ่จะครอบคลุม 5 โรคอันตรายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเหน็บชา โรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง และโรคกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นทั้ง IPD หรือ OPD ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ฉบับนั้น แต่อย่างไรก็ตามบางกรมธรรม์อาจไม่ครอบคลุมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อ ถ้าต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมอาจต้องหากรมธรรม์ที่อัปเกรดขึ้น เป็นต้น สุดท้ายแล้ว พี่เรนนี่ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่าหากเราปรับพฤติกรรมของเราให้ดื่มสารที่มีคาเฟอีนน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ น้ำอัดลม น้ำดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต ชา ชานม และอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพเรา ก็จะทำใหหเราห่างหายจากโรคร้ายเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน แล้วเจอกันในคู่มือสุขภาพมนุษย์ออฟฟิศ EP ต่อไปนะคะที่มา :
https://www.bbc.com/thai/international-42095555#:~:text=%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A,%E0%B8%8A%E0%B8%B2%201%20%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%3A%2075%20%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1
https://aboveaveragecoffee.com/strongest-starbucks-drinks/
https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/caffeine-overdose/