remove_red_eye2K Views

“RSI” โรคที่คน WFH เป็นมากที่สุด !

โพสต์วันที่ 12/07/2022

ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ก็พัฒนาได้ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์มากมาย  โดยเฉพาะมนุษย์ออฟฟิศอย่างเรา ๆ เนี่ยมีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงาน สะดวกขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเรื่องการ Work from home ที่มีเครื่องมือ support มากมาย ให้การทำงานอยู่บ้านเป็นเรื่องง่ายยย 

จนกลายเป็น New Normal พฤติกรรม Work from home แบบใหม่ ที่เรานั่งอยู่บ้านสบาย ๆ ไม่ต้องลุกไปไหน ตื่นมาก็นั่งทำงานได้เลย สะดวกสุด ๆ แต่พี่เรนนี่ขอเตือนไว้ก่อนเลย ว่าภายใต้ความสะดวกสบายเหล่านั้น ก็มีอันตรายแฝงอยู่ 

หากเรานั่งทำงานนานเกินไป ไม่ลุกออกไปไหน หลายปัจจัยจากการทำงานย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่นอน โดยมาตราฐานด้านสุขภาพแล้ว เราจำเป็นต้องเดินให้ได้มากกว่า 6,000 ก้าวต่อวัน เผาผลาญแคลลอรี่ให้ได้ 300 Kcal ต่อวัน รวมถึงวันนึงต้องยืนให้ได้ถึง 10 นาทีต่อวันด้วยนะ

เนื่องจากถ้าเรามัวแต่นั่งท่าเดิม ไม่ออกกำลังกาย ไม่ลุกไปไหน โรค RSI หรือ Repetitive Strain Injury ก็จะตามมาหาเราแน่นอน

ทำความรู้จักกันหน่อยว่าโรค RSI คืออะไร ?

RSI เป็นโรคที่เกิดจากการนั่งทำงาน นั่งเล่นอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบผิดท่านาน ๆ โดยอาการเจ็บป่วยจะเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา ซึ่งอาการบาดเจ็บ ปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อยในระยะแรก อาจนำไปสู่อาการปวดรุนแรงจนใช้งานอวัยวะบางส่วนได้ไม่สะดวกและต้องพบแพทย์ในที่สุด

อาการของ RSI เป็นอย่างไร ?

 อาการปวดจากการอักเสบของเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ เช่น แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว ข้อศอก แผ่นหลัง ต้นคอ หรือหัวไหล่ รวมไปถึงการใช้สายตาจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ด้วย

จากข้อมูลการวิจัยของ National Safety Council สหรัฐอเมริกา พบว่า
  • 540 คนจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน/ชั่วโมง
  • 12,900 คนจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน/วัน
  • 90,400 คนจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน/สัปดาห์
  • 7,000,000 คนจะได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน/ปี

เห็นได้เลยว่าเมื่อเวลาผ่านไปยิ่งนานเท่าไหร่ ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานเหล่านี้ยิ่งเกิดเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ดังนั้นการตระหนักในการรักษาสุขภาพจำเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ทำให้เกิดโรค RSI เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมได้

 RSI ส่วนไหนที่คนเป็นเยอะที่สุด และปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคนี้ ?

 


ถ้าถามถึงประเทศที่มีจำนวนแรงงานเยอะเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน นั้นก็คือ อินเดีย นั้นเอง ปัจจุบันอินเดียถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการจ้างแรงงานเกือบครึ่งประเทศ (Trading Economics, Mar 2022) และมีจำนวนประชากรแรงงานสูงถึง 471 ล้านคน เลยทีเดียว (Worldbank, 2021) โดยงานวิจัยการศึกษาอัตราการเกิดโรค RSI ของแรงงานประชากรในประเทศอินเดีย พบว่า การเจ็บป่วยบริเวณคอเกิดขึ้นมากที่สุด 52% การเจ็บป่วยบริเวณหลังเกิดขึ้น 45% และการเจ็บป่วยบริเวณไหล่เกิดขึ้น 38% ตามลำดับ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้นั้นส่วนใหญ่มากจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย จึงทำให้อัตราการเกิดโรคสูงถึง 58% ไม่มีเวลาทำกิจกรรมยามว่าง 57% และ Burn out จากการทำงาน 54% ตามลำดับ


หากน้อง ๆ คนไหนที่กำลังพบเจอกับสภาพแวดล้อม หรือ ปัญหาเหล่านี้อย่าได้ใจเย็นและละเลยการเกิดความเจ็บป่วยแม้จะเกิดขึ้นเล็กน้อยก็ตาม เพราะอาการบาดเจ็บเหล่านี้จะยิ่งเป็นฉนวนให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่เรื้อรัง จนเกิดความพิการได้เลยนะ รู้อย่างงี้แล้ว เราก็ควรเตรียมรับมือให้พร้อมก่อนเกิดโรคเหล่านี้ ไม่ว่าจะออกกำลังกาย การทำกิจกรรม งานอดิเรกต่าง ๆ การรับประทานอาหารรวมถึงการทำประกันสุขภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนขาดไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียว!
เพื่อความอุ่นใจต่อสุขภาพร่างกายในวันข้างหน้า เพราะ “การไม่มีโรค ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ” ที่สุดในชีวิตนี้แล้ว


ด้วยรัก
พี่เรนนี่. 






ข้อมูลอ้างอิง 

Workplace Injury Statistics: Injury Rates and Most Common Workplace Injuries

https://tradingeconomics.com/country-list/labor-force-participation-rate

https://data.worldbank.org/indicator/SL.TLF.TOTL.IN?most_recent_value_desc=true

https://workinjurysource.com/workplace-injury-statistics-injury-rates-common-work-injuries/

https://www.researchgate.net/publication/332225729_Non-radiation_occupational_hazards_and_health_issues_faced_by_radiologists_-_A_cross-sectional_study_of_Indian_radiologists

https://www.researchgate.net/publication/317219877_Repetitive_Strain_Injury_RSI_among_computer_users_A_case_study_in_telecommunication_company








เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แนะนำสำหรับคุณ
เลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่
9.8K view
Editor
verified_user
เลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างมั่นใจ มีอะไรบ้าง
1K view
Editor
verified_user
ทำไมถึงเคลมประกันสุขภาพไม่ได้
5.1K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Health Smile

฿9,360

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.1 (0)
remove_red_eye2.1K Views
ค่าห้อง
3,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
500,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
3,000 บาท/ครั้ง
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
250,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Opal

฿14,904

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye2.1K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
350,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
ปลูกถ่ายไขกระดูก-อวัยวะ, ฟอกไต
10,000 บาท
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
100,000 บาท
เมืองไทยประกันชีวิต
แพ็คเสริมประกันกลุ่ม
ชื่อแผน: D Health Plus (มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿12,697

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.6 (0)
remove_red_eye15.7K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
5,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
50,000 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่