remove_red_eye829 Views

“นอนกรน” สัญญาณของโรคไหลตาย

โพสต์วันที่ 15/03/2023

เคยได้ยินคนรอบตัวเรานอนกรนดัง ๆ บ้างมั๊ย ดังระดับรุนแรงแบบว่าไม่ไปหาหมอไม่ได้แล้ว วันนี้พี่เรนนี่ขอมาแชร์สักหน่อย เกี่ยวกับการนอนกรน ที่เป็นสัญญาณของโรคไหลตาย ได้เลยนะ เพราะว่าช่วงนี้พี่เรนนี่ได้ข่าวคนรอบตัว เพื่อนของเพื่อน คนรู้จักของเพื่อน หลาย ๆ คนเป็นโรคไหลตายกันเยอะมาก


ทำไมแค่ “นอนกรน” ร้ายแรงถึงตาย ?

การนอนกรนแค่อย่างเดียวอาจไม่มีผลต่อสุขภาพมากนัก แต่รู้มั๊ยว่า การนอนกรนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า OSA ตอนแรกพี่เรนนี่ก็ไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไร แต่คนใกล้ตัวมาบอกว่าเป็น OSA พี่ก็งง ๆ นะว่าคืออะไร แล้วก็ได้รู้ว่า อ๋อออ มันคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเอง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะผิดปกติของการหายใจ คือมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับ ทำให้เกิดการนอนกรน และคุณภาพการนอนไม่ดี นอนหลับไม่ต่อเนื่อง กลายเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย สุขภาพจิตเสีย สมาธิและความจำไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้ ซึ่งพี่เรนนี่ก็ได้รู้ว่าการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ แล้วเกินระยะเวลาที่ห้ามหยุดหายใจเกิน จะทำให้ขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตได้ในที่สุด หรือที่เรียกว่า โรคไหลตายนั้นเอง


อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรน
  • หยุดหายใจในขณะหลับ
  • ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง สำลัก หรือหายใจติดขัดหรือไม่
  • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอและปากแห้ง
  • นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
  • รู้สึกกระสับกระสายจนต้องการขยับขา ในขณะที่นอนเฉยๆ ช่วงกลางคืน
  • ละเมอเดิน
  • ฝันร้าย
  • ฝันผวา
  • ละเมอพูด
  • ละเมอทานอาหาร
  • ออกท่าทางขณะฝัน
  • นอนตกเตียง
  • อาการชัก/ ชักขณะหลับ
  • นอนกัดฟัน


ใครเสี่ยงต่ออาการนอนกรน ?

 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นส่งผลต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จากสถิติในปี 2022 พบว่าผู้เพศชายจะมีโอกาสเป็นประมาณ 3-7% และเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นประมาณ 2-5% เพศชายมีโอกาสหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่าผู้หญิงถึงสองเท่า

ผู้ใหญ่ที่อายุ 30-70 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับประมาณ 26%
ส่วนเด็กที่อายุ 2-8 ปี มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับประมาณ 20% และยิ่งเมื่อเราอายุมากขึ้น อัตราการหยุดหายใจขณะหลับจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก


จำนวนผู้ที่เป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ผู้ใหญ่อายุ 50-70 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และชาวอเมริกันอีกประมาณ 22 ล้านคนกำลังเผชิญกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางถึงรุนแรง ดังนั้น เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 18% ของประชากรทั่วโลก



พฤติกรรมเสี่ยงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • น้ำหนักเกิน พบว่าผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • มีอาการของโรคภูมิแพ้บริเวณจมูก
  • มีสันจมูกเบี้ยวหรือคด รูปหน้าหรือคางผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางหลุบ
  • ต่อมทอนซิลโตขวางทางเดินหายใจ
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด


แนวทางการรักษาอาการนอนกรน ?

  1. ลดน้ำหนัก
  2. ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกในทางเดินหายใจ (CPAP)
  3. ใส่อุปกรณ์ดึงลิ้นหรือกรามให้เลื่อนไปด้านหน้า
  4. จี้หรือผ่าตัดเพดานอ่อนและลิ้นไก่ด้วยเลเซอร์
  5. ผ่าตัดเพดานในช่องปากหรือตัดกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้น
  6. ผ่าตัดเลื่อนกรามเพื่อให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น


แน่นอนว่าหากอาการรุนแรงมาถึงจุดนี้ ย่อมต้องถามหาว่าประกันสุขภาพช่วยอะไรได้บ้าง ?

 ประกันสุขภาพส่วนใหญ่สามารถเคลมได้เมื่อต้องเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) ก็จะต้องตรวจวัดระดับของโรคด้วยว่ารุนแรงถึงขนาดต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเลยหรือไม่ อย่างเช่นประกันสุขภาพของ Generali คำถามที่ว่า หากผู้เอาประกันมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน เพื่อทำการรักษา หรือทำการผ่าตัด จะได้รับความคุ้มครองสัญญาพิเศษเพิ่มเติมใดบ้าง และได้รับความคุ้มครองอย่างไร ?

คำตอบคือ ได้รับความคุ้มครองสัญญาพิเศษเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ และสัญญาพิเศษเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลรายวัน กรณีเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วย และเข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ และหากมีค่าใช้จ่ายในการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography หรือ Sleep Test) ที่เกิดขึ้นภายใน 30 วัน ก่อนหรือหลัง เข้ารับการรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน จะได้รับความคุ้มครองในหมวดค่าวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอ็กซ์ และการตรวจในห้องปฏิบัติการ ตามวงเงินคุ้มครองของสัญญาพิเศษเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 


หากยังไม่เจอประกันที่ใช่ หรือเลือกไม่ถูกจะเอาแบบไหนดี ก็ทักมาปรึกษาพี่เรนนี่ได้น้า  Add Friend




ที่มา : 
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/snoring
https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/obstructive-sleep-apnea-osa/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8508429/
https://www.cpap.com/blog/sleep-apnea-statistics/



เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#นอนกรน
#ไหลตาย
#โรคไหลตาย
#นอนกรนสัญญาณโรคไหลตาย
แนะนำสำหรับคุณ
เลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่
9.6K view
Editor
verified_user
ไขข้อสงสัย ค่ารักษาพยาบาลประกันกลุ่ม
55.1K view
Editor
verified_user
จัดอันดับ 9 โรคไม่ติดต่อยอดฮิต ปี 2021
1.5K view
Editor
verified_user
ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ สุดฮิตแสนแพง
4.2K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่