remove_red_eye1.6K Views

จัดอันดับ 9 โรคไม่ติดต่อยอดฮิต ปี 2021

โพสต์วันที่ 07/07/2022
หากจะวางแผนทำประกันละก็ โรคยอดฮิตหลาย ๆ โรคที่มีอัตราการเกิดในประเทศไทยสูงเนี้ย ก็จำเป็นนะที่จะต้องมีแผนการรักษาครอบคลุมในประกันสุขภาพที่เราจะทำด้วย วันนี้พี่เรนนี่เลยขอมาจัดอันดับสถิติของโรคยอดฮิตในปีที่ผ่านมากันสักหน่อย ว่าโรคไหนจะครองแชมป์อัตราการเกิดสูงที่สุดในไทย เพื่อเป็นแนวทางให้น้อง ๆ สามารถนำไปวางแผนการทำประกันต่อในอนาคต



อันดับที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง อัตราการเกิดโรค 9.12%

ใครที่มีอาการปวดหัว มึนหัว แล้วเป็นบ่อยครั้งยกมือขึ้น ต้องรีบพบแพทย์ตรวจสุขภาพกันหน่อย เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการพื้นฐานของโรคความดันโลหิตที่มีสาเหตุมาจากไขมันอุดตัน ความเครียด การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงอาการแทรกซ้อนจากโรคไตหรือเบาหวานด้วย

ลองเช็คกันหน่อยว่า โรคความดันโลหิต เป็นหรือยัง ?

โรคความดันโลหิตนี้จะมีระดับความดันโลหิตสูงผิดปกติ คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท โรคนี้อาจไม่แสดงอาการแต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และไตวาย เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรค

  • พันธุกรรม มีคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง เค็มจัด และสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • อาการจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด

ค่าใช้จ่ายในการรักษา : ค่ายา 700 – 3,000 บาท/ครั้ง


อันดับที่ 2 โรคเบาหวาน อัตราการเกิดโรค 4.56%

แน่นอนว่าของหวานเป็นของโปรดปราณของหลายๆ คน  ไม่ว่าจะเค้ก โดนัท ขนมปัง ไอศกรีม ชานมไข่มุก พูดแล้วพี่เรนนี่ก็อยากเติมน้ำตาลขึ้นมาทันที :D ซึ่งพี่เรนนี่ก็เชื่อว่าชาวของหวานทั้งหลายก็รู้กัน ว่าการทานของหวานเยอะๆ นั้น อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะฉนั้นก็เลือกทานกันกรุบกริบ พอเหมาะพอดีกันเนอะ 

โดยเบาหวานจะเกิดจากการผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ผิดปกติทั้งไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ ส่งผลให้การควบคุมน้ำตาลเลือดผิดปกติ

ลองเช็คกันหน่อยว่า โรคเบาหวาน เป็นหรือยัง ?

โรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง หากตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรจะเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งค่าปกติ คือต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

สาเหตุการเกิดโรค

  • กรรมพันธุ์
  • น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย
  • อายุที่มากขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากขึ้น
  • โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ 
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด คางทูม
  • ความเครียดเรื้อรัง
  • การได้รับยาบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น
  • การตั้งครรภ์ มีการสร้างฮอร์โมนยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

ค่าใช้จ่ายในการรักษา : อุปกรณ์ตรวจค่าน้ำตาล 900 – 4,000 บาท


อันดับที่ 3 ไขมันในเลือดสูง อัตราการเกิดโรค 4.22%


ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงอาจทำให้เกิดอาการเดิน โซเซ กล้ามเนื้อดึง เหยียดร่างกายไม่ถนัด บางรายที่มีอาการหนักมาก อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรค

  •  กรรมพันธุ์ ร่างกายเผาผลาญไขมันลดลง
  • ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด และโรคเบาหวาน
  • รับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ เช่น อาหารที่มีไขมันมาก มีน้ำตาลมาก
  • ดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ

ค่าใช้จ่ายในการรักษา 
  • ทำบอลลูน 76,000 – 139,000 บาท
  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 124,000 - 503,000 บาท
  • ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 18,000 – 436,000 บาท
  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) + ผ่าตัดลิ้นหัวใจ 160,000 – 630,000 บาท
  • ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง 110,000 – 768,000 บาท   

    *ค่ารักษาอ้างอิงจากโรคหัวใจ

     

อันดับที่ 4 โรคข้อเข่าเสื่อม อัตราการเกิดโรค 2.11%


โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้า ๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากๆ รวมไปถึงพฤติกรรมที่มีการใช้ข้อเข่าหนักๆ  ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูป เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรค

  • อายุ 40 - 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรค 40%
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • การใช้งานเข่า เช่น การวิ่งมาราธอน หรือ การเดินขึ้น-ลงบันได
  • อุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย
  • โรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  • การใช้ยาฉีด Hyaluronic Acid 22,000 บาท/เข็ม
  • การใช้ยาฉีดสเตียรอยด์ 3,000 บาท/เข็ม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 220,000 - 290,000 บาท


อันดับที่ 5 โรคหัวใจ อัตราการเกิดโรค 0.96%>

โรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจนั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคก็จะมีความแตกต่างกัน

สาเหตุการเกิดโรค

  • โรคหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ข้อบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การติดเชื้อที่หัวใจ
  • โรคของผนังหุ้มหัวใจ

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  •  ทำบอลลูน 76,000 – 139,000 บาท
  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 124,000 - 503,000 บาท
  • ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 18,000 – 436,000 บาท
  • ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) + ผ่าตัดลิ้นหัวใจ 160,000 – 630,000 บาท
  • ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง 110,000 – 768,000 บาท


อันดับที่ 6 โรคหลอดเลือดสมอง อัตราการเกิดโรค 0.61%

 
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้มีอาการชา อาจเกิดขึ้นบนใบหน้าหรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลามไปถึงขั้นทรงตัวลำบาก เดินเซอีกด้วยค่ะ

สาเหตุการเกิดโรค


  • หลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากการสะสมของไขมัน จากการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไขมันสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
  • ความเสี่ยงจากการมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคของลิ้นหัวใจ หรือภาวะหัวใจโต
  • หลอดเลือดแดงสมองแตก จากภาวะความดันโลหิตสูง

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  • ค่ารักษาวิธีการลากลิ่มเลือดผ่านสายสวนหลอดเลือด 180,000 บาท
  • ค่ารักษาและบำบัดโรคหลอดเลือดสมองขั้นต่ำ 350,000 บาท

อันดับที่ 7 โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง อัตราการเกิดโรค 0.53%

 

 หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหายเนื่องจากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมตีบไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก

สาเหตุการเกิดโรค

  • การสูบบุหรี่
  • มลพิษทางอากาศ
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT)

อันดับที่ 8 โรคมะเร็ง อัตราการเกิดโรค 0.31%


กลุ่มโรคยอดฮิตซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอวัยวะทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งมะเร็งที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูง เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม สำหรับผู้ชายก็จะมีความเสี่ยงเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น โดยโรคมะเร็งจะเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง

สาเหตุการเกิดโรค

  • สูบบุหรี่ สาเหตุของมะเร็งปอด
  • ดื่มสุราเป็นประจำ สาเหตุของมะเร็งตับ
  • ไวรัสตับอักเสบชนิดบี สาเหตุของมะเร็งตับ
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สาเหตุของมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
  • พยาธิใบไม้ตับ สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรม สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด
  • รับประทานอาหารเค็ม ไหม้เกรียม สาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่
  • พันธุกรรม
  • ตากแดดบ่อย สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง


ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  • การตรวจวินิจฉัย 30,000 บาท
  • การผ่าตัด 200,000 บาท
  • การให้ยาผ่านการฉายรังสี 100,000 – 500,000 บาท
  • การใช้เคมีบำบัด 400,000 – 1,200,000 บาท

อันดับที่ 9 โรคซึมเศร้า อัตราการเกิดโรค 0.23%

 โรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมาก ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

สาเหตุการเกิดโรค

  • สมองทำงานผิดปกติโดยเส้นประสาทอาจไม่สมดุลกัน หรือมีปัญหาในการทำงานประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านความรู้สึก และอารมณ์
  • ความคิด และมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น ทัศนคติในแง่ลบ อ่อนไหวต่อสิ่งรอบตัวได้ง่าย
  • เหตุการณ์เลวร้ายที่ต้องเผชิญ ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า และสิ้นหวัง
  • การใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น สเตียรอยด์
  • โรคที่นำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า เช่น โรคหัวใจ
  • พันธุกรรม


ค่าใช้จ่ายในการรักษา

  • ค่าปรึกษาจิตแพทย์โรงพยาบาลรัฐ 500 - 1,000 บาท
  • ค่าปรึกษาจิตแพทย์โรงพยาบาลเอกชน 1,000 - 3,000 บาท

สุดท้ายแล้วพี่เรนนี่ก็อยากให้ทุกคนนำความรู้ข้างต้นนี้ไปใช้วางแผนทำประกันสำหรับตัวเองและบุคคลรอบข้างเรากันนะคะ โดยเฉพาะหลายๆ โรค เกิดได้จากทางพันธุกรรม หากบรรพบุรุษหรือเครือญาติทางสายเลือดเราเป็น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก การมีประกันไว้ก่อนที่จะเกิดโรค ก็จะช่วยให้เราอุ่นใจ และหากเกิดเป็นโรคอะไรขึ้นมา ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่ารักษาเองด้วยหล่ะ แล้วกลับมาเจอกันในสัปดาห์หน้ากับเรื่องค่ารักษาพยาบาลในยุคเงินเฟ้อกันนะคะ 

ด้วยรัก
พี่เรนนี่.





ข้อมูลอ้างอิง : 

https://www.muangthai.co.th/th/article/heart-disease-high-bill

https://www.samitivejchinatown.com/th/center-of-excellence/centers-and-clinics/detail/3

https://www.muangthai.co.th/th/article/heart-disease-high-bill

https://www.muangthai.co.th/th/article/the-most-expensive-medical-cost

https://health.kapook.com/view176028.html





เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#โรคยอดฮิต
#โรคไม่ติดต่อ
#NCDs
แนะนำสำหรับคุณ
เลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่
9.9K view
Editor
verified_user
เลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างมั่นใจ มีอะไรบ้าง
1.1K view
Editor
verified_user
ระยะเวลารอคอยคืออะไร?
15.6K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

เจนเนอราลี่
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Gen Health Lump Sum

฿8,060

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye7.9K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
300,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ฟอกไต
จ่ายตามจริง
คุ้มครองเสียชีวิต
300,000 บาท
เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: โครงการเมืองไทยคุ้มครอง OPD

฿2,674

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye2.7K Views
ค่าห้อง
ไม่คุ้มครอง
ผู้ป่วยใน
ไม่คุ้มครอง
ผู้ป่วยนอก
500 บาท/ครั้ง
คุ้มครองเสียชีวิต
50,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Platinum

฿27,492

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye2.2K Views
ค่าห้อง
8,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
1,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
10,000 บาท
ตรวจสุขภาพประจำปี
500 บาท
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่