ส่องค่ารักษาโรคหัวใจ สุดฮิตแสนแพง
โรคหัวใจเป็นโรคที่ใครหลายคนมักมองข้าม เพราะคิดว่าโรคหัวใจส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยแล้ว ส่วนวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ยังเป็นวัยที่ร่างกายแข็งแรง ไม่น่าจะเกิดโรคหัวใจได้ง่าย ๆ แต่ก็อย่าประมาทไป เพราะจริง ๆ แล้วโรคหัวใจอาจเกิดกับวัยหนุ่มสาวโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ ไปดูสถิติอัตราการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินกันว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ
ร้อยละสาเหตุของการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ปี 2559-2563
สาเหตุของการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย ระหว่างปี 2559-2563 ใน 3 อันดับแรก คือ
-
หัวใจหยุดเต้น อัตราป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 26
-
ไฟไหม้/ลวก เหตุจากความร้อน/สารเคมี/ไฟฟ้าช็อต อัตราป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 18.2
-
อุบัติเหตุทางรถยนต์ อัตราป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 15
อัตราเสียชีวิตต่อประชากรแสนคนจากภาวะฉุกเฉินเพิ่มขึ้น พบว่า
-
โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้น จาก 43.3 ราย ในปี 2558 เพิ่มเป็น 53.3 ราย ในปี 2562
-
โรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มขึ้น จาก 29.9 ราย ในปี 2558 เพิ่มเป็น 31.4 ราย ในปี 2562
-
อุบัติเหตุการจราจร เพิ่มขึ้น จาก 22.3 ราย ในปี 2558 เพิ่มเป็น 30.2 ราย ในปี 2562
เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ไม่ควรประมาทเจ้าโรคหัวใจที่อาจจะเกิดกับใครก็ได้
รู้ตัวได้ยังไงว่าเราเป็นโรคหัวใจ ?
บางคนอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งอาการเริ่มแสดงออกชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาการที่ว่าเช่น- เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
- ใจสั่น เหงื่อแตก
- อาการสุดท้ายที่รุนแรง คือ วูบ หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น
พฤติกรรมอะไรที่ทำให้เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย ?
ทำไมนะ คนที่อายุยังน้อย ยังไม่แก่เลย แต่กลับเป็นโรคหัวใจซะงั้น สาเหตุหนึ่งก็มาจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม อย่างเช่น สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยแน่นอนว่าปัจจัยทางพันธุกรรมนั้นเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็จริง แต่ว่าถ้าเรารู้จักควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราแต่เนิ่น ๆ ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นปัจจัยทางพฤติกรรม อย่างเช่น
- สูบบุหรี่ สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มเป็นระยะเวลานาน สามารถเพิ่มความดันและน้ำตาล ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และเสียชีวิตเฉียบพลันได้
- ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดความดัน น้ำตาล ไขมันสูง และเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย
- ความเครียด ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตใจ อาจส่งผลกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น
- อาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันจะสะสมในผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบในหัวใจและสมอง เป็นต้น
- อาหารเค็ม เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคความดันสูง ไขมันสูง และเบาหวาน ทำให้เกิดไตเสื่อมและไตวาย
- ความอ้วน ทำให้เกิดเบาหวาน ความดันและไขมันสูง นอนกรน ซึ่งเป็นอันตรายทำให้หัวใจวายได้
ค่ารักษาโรคหัวใจอยู่ที่เท่าไหร่ ?
- ทำบอลลูน 76,000 – 139,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 124,000 - 503,000 บาท
- ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 18,000 – 436,000 บาท
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG) + ผ่าตัดลิ้นหัวใจ 160,000 – 630,000 บาท
- ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง 110,000 – 768,000 บาท
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.muangthai.co.th/th/article/health/heart-disease-high-bill
ประกันครอบคลุมค่ารักษาโรคหัวใจ
ถ้าให้จำกัดโรคหัวใจว่าเป็นโรคประเภทไหน ก็ขอบอกเลยว่าจัดเป็นโรคร้ายแรงอย่างแน่นอน
ดังนั้นหากต้องการประกันที่ครอบคลุมโรคหัวใจละก็ ส่วนใหญ่จะเป็นประกันที่ต้องทำสัญญาเพิ่มเติม อย่างสัญญาประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม
-
FWD ประกันโรคร้ายแรง บิ๊ก ทรี
แผนประกันสุขภาพเดียว ที่คุ้มครองครอบคลุม 3 กลุ่มโรคร้ายแรง อันดับต้นๆ ของไทย โรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
จุดเด่น
- อายุรับประกัน 20-60 ปี
- คุ้มครอง 5 ปี จ่ายเบี้ยประกันคงที่ 5 ปี
- เลือกความคุ้มครองได้ตามต้องการ ลองเปรียบเทียบเบี้ยฯ ง่ายๆ ก่อนตัดสินใจ
- ซื้อออนไลน์ เพียงตอบคำถามสุขภาพ คุ้มครองทันที
- เลือกรับกรมธรรม์ทางอีเมล หรือเป็นรูปเล่มก็ได้
- ความคุ้มครองเมื่อเสียชีวิต 50,000 บาท
-
Cigna ประกันสุขภาพโรคร้าย คุ้มครองครบ
จุดเด่น
- ความคุ้มครองสูงสุด 1,800,000 บาท หากตรวจพบ 4 โรคร้าย ไตวาย โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ภาวะโคม่า
- ค่าชดเชยรายได้สูงสุด 1,200 บาทต่อวัน กรณีเจ็บป่วยนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- ค่าชดเชยรายได้เพิ่มสูงสุด 12,000 บาท กรณีเจ็บป่วยนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เกินกว่า 15 วันติดต่อกัน
- ค่าห้อง ICU สูงสุด 1,200 บาทต่อคืน โดยได้รับค่าห้องสูงสุด 15 วัน
หากแผนประกันที่พี่เรนนี่ยกตัวอย่างมา ยังไม่ถูกใจ ก็ทักมาปรึกษาพี่เรนนี่ได้น้า Add Friend
รัก
พี่เรนนี่
ที่มา :
https://www.medparkhospital.com/content/heart-disease
https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf