remove_red_eye3.4K Views

วัย 30+ มีความเสี่ยงในโรคอะไรบ้าง

โพสต์วันที่ 12/01/2021

น้องอายุสามสิบ... สามสิบ ทำไมไม่แจ๋ววว!!! ช่วงวัยเลข 2 ก็คิดนะว่าร่างกายเราฟิตแบบนี้ แก่ไปก็ไม่ป่วยง่ายๆ แบบนอนน้อย เที่ยวหนักแค่ไหน ก็ยังตื่นเช้ามาทำงานได้สบายๆ แต่พออายุขึ้นเลข 3 แล้วเท่านั้นแหละแม่คุณเอ้ยยยย!

หลังเป่าเค้กวันเกิดขึ้นเลข 3 ได้ไม่นาน อาการต่างๆ ตามมาปุบปับ เหมือนภูมิต้านทานต่างๆ ปิดสวิตช์ดับลงทันทีทันใด ทั้งอาการปวดตัวปวดกระดูก นอนหลับยาก ป่วยง่าย อาการทั้งหลายที่ไม่คิดว่าจะเกิดกับเราในเร็ววัน พี่เค้าเล่นเรียงคิวมากันเลยจ้ะ 

พี่เรนนี่สงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ก็เลยไปหาข้อมูลมา ถึงรู้ว่าอาการเหล่านี้มันมา “ตามวัย” จะแข็งแรงเท่าไหนก็มีสิทธิ์เป็นโรคเหล่านี้ได้ ซึ่งก็จะมีอยู่ 3 โรคหลักๆที่น้องๆวัยย่าง 30 ต้องระวัง ใครมีอาการดังต่อไปนี้ มาบอกเล่ากันหน่อยซิ จะได้รู้ว่าจริงอย่างที่เขาว่ากันรึเปล่า...




1. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท


ย้อนกลับไปวัย 30 ต้นๆ พี่เรนนี่จำได้แม่นว่ามีเพื่อนหลายคนจำเป็นต้องนัดทำกายภาพบำบัดกับคุณหมอเป็นว่าเล่น จนสงสัยว่ามันคือโรคติดต่อหรือยังไง พอค้นข้อมูลถึงได้รู้ว่า นี่คือโรค “หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท” อันเป็นโรคยอดฮิตในวัย 30 ที่สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณหลังและขา โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการนั่งด้วยอิริยาบถไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน ยกของหนัก หรือเคลื่อนย้ายอิริยาบถด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง โดยมีอาการในแต่ละส่วนดังนี้

อาการที่หลัง :

ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง มักจะมีอาการปวดแบบตื้อๆ โดยมักจะมีอาการเมื่อยืน เดิน นั่ง ขับรถนานๆ อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด แต่เมื่อนอนพักอาการจะทุเลาลง

อาการที่ขา :

1. มีอาการปวดหรือชาขาตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งไป สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้
2. การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น


 



2. โรคเนื้องอกในรังไข่ หรือถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst)

ผู้หญิงแทบทุกคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคซิสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ โดยเฉพาะถ้าอยู่ในวัย 30 ก็ต้องเคยได้ข่าวเพื่อนๆ รอคิวเข้าผ่าตัดกันมาบ้างหล่ะ ซิสต์ในรังไข่ประเภทที่มักเกิดกับเพศหญิงวัยนี้ ก็จะเป็นซิสต์ประเภทถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด มีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนเกิดเป็นถุงน้ำที่รังไข่เรียกว่า “เดอร์มอยด์ซีสต์” ซึ่งลักษณะอาการที่ปรากฏมักทำให้คิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ สยองกันไป ทั้งที่ความจริงคือโรคถุงน้ำรังไข่ที่พบได้บ่อย ๆ ในเพศหญิงนั่นเองค่ะ

อาการ : 

  • ปวดหน่วงๆ ในท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน
  • คลำพบก้อนได้ในท้องน้อย
  • ปวดท้องเฉียบพลัน ที่เกิดจากการมีภาวะแทรกซ้อน รังไข่บิดขั้ว, ซิสต์แตก หรือเกิดการติดเชื้อ
  • พบจากการตรวจสุขภาพภายในประจำปี

ดังนั้น พอเราอายุ 30 อัพ การตรวจภายในและอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูมดลูกและรังไข่จึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำทุกปี เพราะหากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นต้องตัดรังไข่ได้เลยนะจ๊ะ




3. โรคปวดหัวไมเกรน


อาการนี้เชื่อว่าวัยทำงานทั้งหลายหรือใครที่มีเรื่องเครียดๆ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว น่าจะเคยได้สัมผัสมาแล้วรวมถึงพี่เรนนี่ด้วย เรียกได้ว่าเป็นโรคเพื่อนซี้มาเยี่ยมเยียนกันบ่อยเกิ๊น หากใครเป็นและมีอาการไม่รุนแรง นอนพักแปปๆแล้วหาย ก็โชคดีไป แต่หากอาการหนักขึ้นๆหรือเป็นบ่อยๆ พี่เรนนี่ก็แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการได้อย่างตรงจุดน่าจะดีกว่าค่ะ

โดยไมเกรนเกิดจากการกระตุ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง โดยตัวการอาจยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเป็นได้จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ความเครียด สภาพแวดล้อม การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะเป็นไมเกรนแบบไม่มีอาการเตือน แต่อาการมักค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และอาจเกิดอาการต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หากมีอาการเตือน ก็สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ เช่น มองเห็นแสงกระพริบๆ หรือสายตาพร่ามัว มองเห็นรูปภาพเป็นรูปทรงต่างๆ ผิดขนาด แสงซิกแซก เห็นจุดแสงวาบ มองเห็นเป็นเส้นคลื่น

อาการ

  • รู้สึกปวดตุบๆ รุนแรง โดยมักปวดบริเวณศีรษะข้างเดียว หรือปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดสองข้าง ในขณะที่ปวดก็มักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย และอาจมีความรู้สึกไวต่อเสียงและแสงสว่างมากกว่าปกติ
  • เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะที่รับความรู้สึก(ประสาทสัมผัส) การเคลื่อนไหว หรือการพูด พูดลำบาก กล้ามเนื้อจะรู้สึกคล้าย ๆ จะอ่อนแรง หรืออาจรู้สึกเหมือนมีใครกำลังสัมผัสตัวอยู่ รู้สึกชาที่มือหรือเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้ จะค่อย ๆ เริ่มเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาที และจะยังคงมีความรู้สึกนี้เป็นชั่วโมง หรือหลายชั่วโมงก็ได้หากมีหลายอาการ
สุดท้ายแล้ว สุขภาพดีๆ ไม่มีขายเนอะ ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญ การมองหาประกันไว้ป้องกันความเสี่ยง ควรทำ “ก่อน” อาการป่วยจะเกิดขึ้นนะคะ หากในวันที่เรากำลังป่วยแล้วมามองหาแผนประกันทีหลัง ก็อาจจะไม่มีใครรับทำด้วยนะเออ หรือยิ่งซื้อประกันสุขภาพตอนอายุมากๆ เบี้ยก็ยิ่งแพง เพราะฉะนั้น มีไว้ก่อน อุ่นใจกว่าแน่นอนจ้า

ด้วยรัก
พี่เรนนี่



ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.pobpad.com

เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#โรคเสี่ยงวัย 30
#โรคภัยวัย 30
#อาการป่วยเมื่อถึงวัยเลข 3
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

เจนเนอราลี่
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Gen Health Lump Sum

฿8,060

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye7.9K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
300,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ฟอกไต
จ่ายตามจริง
คุ้มครองเสียชีวิต
300,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Falcon คุ้มเวอร์

฿15,000

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
0.0 (0)
remove_red_eye3.4K Views
ค่าห้อง
3,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
1,000,000 บาท
ผู้ป่วยใน (จำกัด/ครั้ง)
80,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
10,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Health Premium

฿10,330

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.5 (0)
remove_red_eye3.3K Views
ค่าห้อง
3,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
200,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
ชดเชยรายวัน
ซื้อเพิ่มได้
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
100,000 บาท
เมืองไทยประกันชีวิต
แพ็คเสริมประกันกลุ่ม
ชื่อแผน: D Health Plus (มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿12,697

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.6 (0)
remove_red_eye16K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
5,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
50,000 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่