ชี้เป้า “ประกันออฟฟิศซินโดรม 2023” มนุษย์ออฟฟิศมีติดไว้เลย
ชีวิตประจำวันของมนุษย์ออฟฟิศ 24 ชั่วโมง ที่แบ่งให้กับการนั่งทำงานไปแล้ว 8 ชั่วโมง บางทีก็มากกว่านั้น… ซึ่งตลอดเวลาของการนั่งทำงานที่ยืดยาวเกินไปที่พี่เรนนี่ก็ประสบพบเจอมาเช่นกัน เป็นผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตา คอ บ่า ไหล่ มือ แขน ขา ฯลฯ หากทำไปนานวันเข้า สะสมเข้าไปทุกวัน ความเมื่อยล้านี้อาจส่งผลร้ายแรงมากกว่าที่คิด สุดท้ายแล้วเมื่อหลายโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานนี้เอง เรามัดรวมกันนั้น เรียกว่า โรคกลุ่ม ‘Office Syndrome’ นั่นเอง
อาการที่เกิดจาก Office Syndrome
- อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด: โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก
- ปวดและชาที่นิ้วมือ/ฝ่ามือ/แขน: เกิดขึ้นจากพังผืดบริเวณข้อมือกดทับเส้นประสาท
- นิ้วล็อค: เกิดจากการออกแรงที่นิ้วมือและเสียดสีจนเส้นเอ็นของนิ้วมืออักเสบ
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ: เกิดการบวมหรือเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า เข่า และข้อมือ
- อาการตาแห้ง: ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์/ มือถือนานเกินไป
- อาการปวดตา: จ้องหน้าจอหรือมือถือนานเกินไปโดยไม่ได้พักสายตา
- อาการปวดหัว: กล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงหัวได้สะดวก
- อาการปวดหลัง: ท่ายืนหรือท่านั่งไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
Office Syndrome เกิดได้ง่าย ๆ ถ้าเรายังทำงานแบบนี้…
- ทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) เป็นเวลานาน เพราถ้าเราทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน จะมีการใช้กล้ามเนื้อและข้อต่อจุดเดิมแบบซ้ำไปซ้ำมเป็นเวลานาน ทำให้เมื่อยล้ากล้ามเนื้อ จนสุดท้ายกล้ามเนื้อก็บาดเจ็บได้
- ทำงานนั่งผิดท่า (Poster) ลักษณะท่านั่งทำงาน นั่งหลังค่อม คอยื่น ไหล่ห่อ การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อข้อต่อกระดูกบางส่วนรับน้ำหนักมากเกินไป
- สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน
- ยกของหนัก กล้ามเนื้อที่ใช้รับน้ำหนักที่หลังแต่ละคนมีไม่เท่ากัน แน่นอนว่าบางคนที่กล้ามเนื้อน้อย ก็อาจจะต้องใช้กระดูกรับน้ำหนักแทน
ลดความเสี่ยงการเกิด Office Syndrome ยังไงดี ?
ท่านั่งเหมาะสม Office Syndrome ไม่มาแน่นอน
- ปรับจอภาพให้อยู่ในระดับสายตา
- ไม่ยกไหล่ขณะพิมพ์งาน
- หาที่วางข้อมือเวลาพิมพ์งาน ใช้เมาส์
- ปรับพนักพิง 100-110 องศา
- ปรับพนักพิง 100-110 องศา
- ปรับความสูงของเก้าอี้ หรือ เบาะเสริมให้ศอกตั้งฉาก 90 องศา
- เข่าและขาต้องตั้งฉาก 90 องศา หาที่วางเท้าไม่ให้ลอย
สิ่งแวดล้อมรอบตัว ถ้าปรับก็จะดีขึ้น
- อากาศ ยิ่งอากาศหมุนเวียนมาเท่าไหร่ ระบายดี ยิ่งดีต่อสุขภาพ
- แสงสว่าง ถ้ามีหน้าต่างแสงส่องถึง หรือ ไฟที่สว่าง ก็ช่วยเรื่องสายตาได้
- ทัศนียภาพ ปรับภาพวิวให้น่าดู เพื่อละสายตาจากหน้าจอได้บ้าง
กิจกรรมผ่อนคล่าย ห่างไกล Office Syndrome
- ทุก 2 ชั่วโมง แบ่งเวลา 15-20 นาที เพื่อผ่อนคลาย
- ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทำงานจนเพลินอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะคะ
- แผ่นแปะแก้ปวดก็ช่วยได้นะ ใช้ตอนปวดกล้ามเนื้อบ่า ไหล่ หลัง
- หยอดน้ำตาเทียม เมื่อรู้สึกตาเริ่มแห้ง
- ลดน้ำหนักก็ช่วยได้นะ เพื่อให้เข่า เท้า รับน้ำหนักน้อยลง ก็จะปวดน้อยลง
- นวด สปา Office Syndrome อะไรก็ว่าไป - ประกันสุขภาพช่วยได้ค่ากายภาพ
เงื่อนไขการเบิกจ่ายค่ากายภาพบำบัด
- ประกันสุขภาพทั่วไป: ส่วนใหญ่จะเบิกค่าบริการกายภาพบำบัดได้ในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) หรือที่เรียกกันติดปากว่า “แอดมิท” นั้นเองง
- ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือประกัน OPD: กรณีรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล หรือคลินิกกายภาพบำบัดทั้งของราชการและเอกชนโดยไม่ได้พักค้างคืนในฐานะผู้ป่วยใน จะต้องมีใบส่งตัวจากแพทย์ที่โรงพยาบาลซึ่งระบุว่าให้คนไข้เข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดเท่านั้น จึงจะสามารถเบิกค่าบริการทางกายภาพบำบัดได้ ซึ่งส่วนใหญ่วงเงินจะไม่เกินครั้งละ 1,000-2,000 บาทค่ะ
- ประกันอุบัติเหตุ: ประกันแบบนี้ก็สามารถเบิกค่าบริการทางกายภาพบำบัดได้ แต่ต้องมีสาเหตุอันเกิดจากอุบัติเหตุเท่านั้น และอาจจะต้องตรวจสอบเงื่อนไขของประกันด้วยว่าครอบคลุมถึงการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดด้วยหรือไม่
ประกันสุขภาพชาวออฟฟิศที่แนะนำ
- Soyou โซยู Work ได้พร้อม Care ออฟฟิศซินโดรม
- ซิกน่า ซูเปอร์แพลน คุ้มครองกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม
รายละเอียดความคุ้มครอง
- คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 69 ปี
- ครอบคลุม รพ. เครือ BDMS
- เลือกได้สูงสุด 1 ล้านบาท
- เลือกคุ้มครอง IPD OPD หรือโรคร้ายแรงได้
- เพิ่ม/ลด ค่าเบี้ยได้ เลือกซื้อเท่าที่ใช้
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
- FWD เอฟดับบลิวดี ออฟฟิศซินโดรม เป็นแล้วไม่อ่อนโยนต่อร่างกาย
- เอฟดับบลิวดี พรีม่า แคร์ + โอพีดี พลัส ที่ดูแลการรักษาออฟฟิศซินโดรม
รายละเอียดความคุ้มครอง
- หมดกังวลกับค่าธรรมเนียมการผ่าตัด คุ้มครองทั้งผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดใหญ่ เหมาจ่ายตามวงเงินในตารางผลประโยชน์
- ห่วงใย และพร้อมดูแล สำหรับการรักษาต่อเนื่องภายใน 30 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล
- รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย 10% ในปีถัดไป หากไม่มีเคลม
- แบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (โอพีดี พลัส) มีแผนให้เลือกหลากหลาย สูงสุด 3,000 บาท
หากแผนประกันที่พี่เรนนี่แนะนำไปด้านบน ยังไม่ถูกอกถูกใจ ก็ทักมาคุยกับพี่เรนนี่ได้เลย คุยกับพี่เรนนี่
ที่มา :
https://www.fwd.co.th/th/health/prima-care/
https://www.fwd.co.th/th/health/opd-plus/
https://www.praram9.com/officesyndrome/
https://ergonomictrends.com/common-workplace-ergonomic-issues/
https://www.princsuvarnabhumi.com/office-syndrome/
https://drprem.com/wellness/dont-let-your-workplace-take-a-toll-on-your-health-understanding-and-tackling-the-office-syndrome/