ค่ารักษาพยาบาล vs ประกันสุขภาพ ในยุคเงินเฟ้อ
วันนี้หากถามถึงราคาของสินค้า โภคภัณฑ์ต่าง ๆ ที่พร้อมใจปรับราคาขึ้นกันทุกหมวดหมู่ ซื้อของที่ก็ทำเอาหัวใจจะวาย ร้องอุทานในใจ “ทำไมสินค้าถึงแพงขึ้นมาเยอะมากขนาดนี้…”
ตอบไปเลยว่าตอนนี้ประชากรทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อ ที่ส่งผลให้ข้าวของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แพงยิ่งขึ้น
ลามไปถึงอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพทั่วโลกก็กำลังประสบปัญหาต้นทุนที่สูงและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอัตราเงินเฟ้อด้านการแพทย์เป็นเวลาหลายปีและกำลังถีบตัวใกล้เคียงกับตัวเลขสองหลักขึ้นทุกขณะ เช่น อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 9.2% ซึ่งอัตราดังกล่าวนี้ค่อนข้างสูงและ เพิ่มขึ้นในอัตรารวดเร็ว
ช่วงแรกพี่เรนนี่ขอพาไปดูก่อนว่า ปัจจุบันวิกฤตเงินเฟ้อเป็นอย่างไร สถานการณ์ไปถึงไหนแล้ว และวิกฤตเงินเฟ้อนั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับค่ารักษาพยาบาล ไปดูกันเลย
Thailand: Inflation rate from 2007-2027
(compared to the previous year)
ที่มา : Statista ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2565
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 - 2021 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยปี 2007 คิดเป็นร้อยละ 2.2 ซึ่งในปี 2007 นี้เป็นปีที่เริ่มเกิดวิกฤตสินเชื่อซัพไพร์ม และส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.46 ในปี 2008
จนกระทั่งปัจจุบันปี 2022 อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในไตรมาสที่ 3/2565 ของประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 6.20% (ข้อมูล มิ.ย. 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยอัตราเงินเฟ้อนั้นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าของวิกฤตซัพไพร์มเลยทีเดียว เมื่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยและต้นทุนสินค้าต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เป็นผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นตามมาเช่นกันค่ะ
ซึ่งก็หนีไม่พ้น ทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตามเช่นกัน โดยพบว่าอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบันสูงกว่าเงินเฟ้อทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า เฉลี่ย 6-8% และแนวโน้มในอีก 12 ปีข้างหน้า จะแพงขึ้นอีกเท่าตัว ว่าแล้วก็ปาดเหงื่อแปป!
ที่มา : Aon Investments USA
ปัจจุบัน ค่ารักษาพยาบาลปรับตัวขึ้นไปสูงมาก โดยถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะปรับตัวขึ้นประมาณ 7% ต่อปี และหากมาดูถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อและประกันสุขภาพ จะเห็นได้ว่าเมื่อไหร่ที่เงินเฟ้อมีค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนั้นอัตราค่ารักษาพยาบาลจะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังกราฟด้านล่าง
ค่าใช้จ่ายพยาบาลแพงขึ้น ก็มีหลายสาเหตุ?
- อัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้ต้นทุนและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
- การพัฒนายาและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิผลในการรักษาสูงขึ้น
- ระบบสิทธิบัตร ที่ทำให้เกิดการผูกขาดและตั้งราคาตามใจชอบ
และเมื่อค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นกว่าแต่ก่อนพี่เรนนี่เลยขอยกตัวอย่าง ว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาเท่าไหร่ และถ้าหากซื้อประกันสุขภาพจะดีกว่ามั๊ย
สถิติค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโรคร้ายแรง (Medical Expense Statistic)
ที่มา : Actuaral Business Solution ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ย. 2562
Review Prakan ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ย. 2562
จากตารางเห็นได้ว่าค่ารักษาพยาบาลของแต่ละโรครวมทั้งสิ้นต่อการรักษาโรค มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1,500,000 บาท หรือบางรายอาจสูงกว่านั้น ในขณะที่หากเราทำประกันสุขภาพจะสามารถจ่ายเป็นรายปี หรือ รายเดือนก็ได้ ทำให้เรารู้จักการออมเงินทุกวัน เพื่อให้หลักประกันเป็นตัวช่วยในการวางแผนการดำเนินชีวิตของเราให้ดีขึ้น และเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากขึ้นได้อย่างมีคุณภาพด้วยนะเออ
ด้วยรัก
พี่เรนนี่.
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.statista.com/statistics/720767/medical-cost-trend-in-us/
https://www.statista.com/statistics/332274/inflation-rate-in-thailand/
https://www.oic.or.th/sites/default/files/institute/course/89369/public/20-9-62_naayphiechth_ecchiiyrmniithwiisin_-_prakanphaysukhphaaphkabkaarphathnaaesrsthkicchkhngpraeths.pdf
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/Pages/default.aspx
https://inflationdata.com/articles/2019/08/29/inflation-affect-cost-insurance/
https://insights-north-america.aon.com/highlights-us-english/2022-global-medical-trend-rates-report