remove_red_eye1.9K Views

NCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปล่อยไว้อันตรายถึงชีวิต

โพสต์วันที่ 09/06/2021

เดี๋ยวนี้ มองไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงโรคติดต่อ โดยเฉพาะโควิด-19 ที่อินเทรนด์จนทุกคนระวังตัวจนไม่รู้จะระวังยังไงกันละ นอกจากนี้ก็ยังมีโรคติดต่ออื่นๆที่น่ากลัวไม่แพ้กัน ทั้งไข้หวัดใหญ่เอย วัณโรคเอย ไข้เลือดออกเอย

แน่นอนว่าการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคติดต่อถือเป็นเรื่องดี แต่กระนั้น น้องๆก็ไม่ควรมองข้ามการป้องกัน “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ที่อาจมาเยือนเราได้แบบไม่รู้ตัวด้วยนะ เพราะสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้ไม่แพ้โรคติดต่อเลย แล้วโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มันคืออะไร เกิดจากอะไร แล้วมีวิธีป้องกันยังไงบ้าง ไปดูพร้อมๆกับพี่เรนนี่ได้เลยจ้ะ


โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คืออะไร?

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable diseases) คือโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุจาก​การติดเชื้อ เชื้อโรค หรือพาหะนำโรค แต่จะค่อยๆเข้ามาทำให้ร่างกายเราเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ช้าๆ สะสมอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย โรคพวกนี้มักเกิดจากรูปแบบชีวิตประจำวัน อาหาร หรือการโหมใช้ร่างกายแบบไม่ระมัดระวัง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา ก็จะเกิดโรคซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง

สาเหตุของโรค NCDs

ส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่:

  • การบริโภคอาหารรสหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ความเครียด
  • การซื้อยามารับประทานเอง


ความรุนแรงของโรค NCDs

โรค NCDs เป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทย โดยคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs 14 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 340,000 รายต่อปี หรือคิดเป็น 75% ของการเสียชีวิตในแต่ละปีของคนไทยทั้งหมดเลยทีเดียว หากคิดเป็นรายชั่วโมง ก็จะเสียชีวิตเฉลี่ยถึงชั่วโมงละ 37 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเช่นนี้มักเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปีค่ะ

ตัวอย่างโรค NCDs และอาการเตือนที่ควรระวัง:


การป้องกันและลดความเสี่ยงโรค NCDs โดยการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทั้ง:

  • การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือไขมันสูง
  • การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การงดสูบบุหรี่
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การผ่อนคลายความเครียด
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง
  • พยายามตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)...โรคที่เกิดจากพฤติกรรม


จะเห็นเลยว่า โรค NCDs จะมาแบบเงียบๆให้เราไม่รู้ตัว หากเราเผลอไม่ดูแลสุขภาพเป็นระยะเวลานานๆ รู้ตัวอีกทีก็ป่วยไปซะแล้ว

เพราะฉะนั้น หลายคนก็คงหันมาเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ มากกว่าแค่การคอยป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อกันแล้วใช่มั้ยล่ะ เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้องรังเหล่านี้ อยู่ใกล้ตัวและมีความรุนแรงมากกว่าที่คิด โดยแม้จะสามารถรักษาได้ตามอาการของโรค แต่ระยะการรักษา ใช้เวลานานและต่อเนื่อง บางคนก็อาจจะต้องการรักษาไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว

นอกจากการดูแลสุขภาพแล้ว ชีวิตก็ไม่มีอะไรแน่นอนเนอะ วันดีคืนดี เราอาจจะต้องพบเจอโรคเหล่านี้อยู่ดี ซึ่งจะใช้เงินในการรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าน้องรู้จักวางแผนเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายการรักษาเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากป่วยขึ้นมาจริงๆจะได้เบาใจ ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายยังไงล่ะคะ การซื้อประกันสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้น้องๆลดความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาไปได้แบบคุ้มค่า หากอยาก เริ่มต้นซื้อประกันสุขภาพ ก็มาอ่านรีวิวประกันแบบเจาะลึกจากพี่เรนนี่ได้ที่นี่เลยนะคะ






 

 
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#โรคไม่ติดต่อ
#NCDs
#โรคไม่ติดต่ออันตราย
#โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
แนะนำสำหรับคุณ
เลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่
9.6K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

เจนเนอราลี่
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Gen Health Lump Sum - OPD

฿8,384

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye3.6K Views
ค่าห้อง
1,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
100,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
1,000 บาท/วัน
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ฟอกไต
จ่ายตามจริง
คุ้มครองเสียชีวิต
100,000 บาท
เมืองไทยประกันชีวิต
แพ็คเสริมประกันกลุ่ม
ชื่อแผน: D Health Plus (มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿12,697

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.6 (0)
remove_red_eye15.3K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
5,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
50,000 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Opal

฿14,904

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye2K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
350,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
ปลูกถ่ายไขกระดูก-อวัยวะ, ฟอกไต
10,000 บาท
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
100,000 บาท
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่