remove_red_eye63.6K Views

10 สาเหตุที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด

โพสต์วันที่ 07/07/2020
สวัสดีครับ ก่อนที่คุณผู้อ่านจะเลือกทำประกันสุขภาพกันสักตัว เคยลองนึกเล่นๆดูไหมครับว่า เรามีความเสี่ยงจะเสียชีวิตจากโรคอะไรมากที่สุด?

จริงๆพี่แมนว่า การรู้ข้อมูลตรงนี้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ที่จะทำให้คุณพอจะคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการรักษาหากเกิดเป็นโรคร้ายที่มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตขึ้นมาได้จริงๆ เวลาเลือกซื้อประกันสุขภาพจะได้วางแผนทำประกันที่มีความคุ้มครองเพียงพอและตรงจุด และนอกจากเรื่องการซื้อประกัน คุณผู้อ่านจะได้หมั่นดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ได้เป็นพิเศษอีกด้วย

แต่ถ้ายังนึกไม่ออกว่าควรจะคาดการณ์ความเสี่ยงโรคร้ายจากไหน งั้นเราลองมาดูสถิติ 10 อันดับสาเหตุการตายของคนไทย จัดทำโดยกองยุทธศาสตรและแผนงานสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เทียบกันระหว่างปี 2557 กับปี 2561 ลองเดากันเล่นๆในใจดูสิครับ คิดว่าเป็นโรคไหนกัน?

พี่แมนเชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาถูกใช่ไหมล่ะ ใช่แล้วครับ! โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของคนไทย ไม่ใช่โรคไหนอื่นไกลแต่เป็นโรคที่ทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อและแอบมีกลัวกันบ้างแหละ นั่นก็คือ “โรคมะเร็ง” นั่นเอง


3 อันดับโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด

และถ้าให้จัดอันดับ top 3 โรคร้ายก็จะมีดังนี้ครับ:
  1. โรคมะเร็ง: อัตราการเสียชีวิต 120.3 คน ต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มจากปี 2557 มากถึง 12.12%
  2. โรคหลอดเลือดในสมอง: อัตราการเสียชีวิต 47.1 คน ต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มจากปี 2557 มากถึง 21.71%
  3. โรคปอดอักเสบ: อัตราการเสียชีวิต 45.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน เพิ่มจากปี 2557 มากถึง 20.86%
ที่นี่ก็พอจะเห็นภาพคร่าวๆแล้วว่าโรคฮอตฮิตที่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยคือโรคอะไร งั้นเดี๋ยวไปดูกันต่อเลยครับว่า รายละเอียดของโรคทั้ง 10 โรคที่ทางกองยุทธศาสตรและแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดอันดับมาให้ จะมีโรคอะไรที่คุณควรให้ความสนใจบ้าง ดังนี้ครับ


1. โรคมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตคนไทย ซึ่ง 5 อันดับมะเร็งที่ป๊อปปูล่าที่สุด ได้แก่ มะเร็งตับ, มะเร็งหลอดคอ หลอดลมใหญ่และปอด, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งเต้านมหญิง, มะเร็งปากมดลูก โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งโดยรวมอยู่ที่ 73,436 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 83,524 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากมะเร็งเพิ่มมากขึ้นถึง 12.12%


2. โรคหลอดเลือดในสมอง หรือ Stroke

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองอยู่ที่ 26,486 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 32,702 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองเพิ่มมากขึ้นถึง 21.71%

โรคหลอดเลือดในสมอง เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือด อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ กลายเป็น "โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน" โดยถ้าหากเกิดอาการรุนแรงอาจนำไปสู่อาการของอัมพฤกษ์อัมพาต หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยครับ

อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เช่น เกิดอาการตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งซีก อ่อนแรงและหน้าเบี้ยว หรือมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ กลืนลำบาก ปวดศีรษะ บางครั้งจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง


3. โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบโดยรวมอยู่ที่ 25,597 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 31,382 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบเพิ่มมากขึ้นถึง 20.86%

โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ (Pneumonia) เกิดชึ้นเมื่อมีเชื้อโรคที่แพร่เข้าสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งเชื้อที่พบจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดโรค เช่น ได้รับเชื้อจากที่ชุมชนทั่วไป หรือจากภายในโรงพยาบาล

โดยอาการที่พบได้บ่อยของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อก็ได้แก่มีอาการไอมีเสมหะเจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอหายใจลำบากหายใจหอบมีไข้เหงื่อออกหนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน และอ่อนเพลีย


4. โรคหัวใจขาดเลือด

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดโดยรวมอยู่ที่ 19,026 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 27,355 คน/ปี ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในบรรดาทั้ง 10 โรค เรตการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 41.73% เลยทีเดียวครับ

โรคนี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยมีกลไกการเกิดมาจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบแคบอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าหลอดเลือดจะอุดตันเมื่อไหร่ และกล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดตอนไหน แต่สามารถสังเกตอาการได้ โดยผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญที่ควรต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วนครับ


5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก

ที่เป็นสาเหตุการตายเดียวที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยทางสุขภาพของคนไทยนะครับ โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก เช่น การเดินทางโดยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ รวมไปถึงรถสาธารณะอย่างรถเมล์และรถแท็กซี่ด้วยครับ โดยรวมอยู่ที่ 15,878 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 17,496 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบกเพิ่มมากขึ้นถึง 8.62%


6. โรคเบาหวาน

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคเบาหวานอยู่ที่ 11,977 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 15,205 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นถึง 25.14%

โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดการความบกพร่องของการสร้างหรือการทำงานของอินซูลิน โดยโรคเบาหวานมักจะเกี่ยวพันกับโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงโรคอื่นๆ เช่นโรคหัวใจอัมพาตไตวายความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นต้น อันอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ครับ


7. โรคเกี่ยวกับตับ

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคตับอยู่ที่ 10,334 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 10,623 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคตับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1.32%

โรคตับ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บหรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับช้าลง ทั้งการผลิตโปรตีน การจัดการกับสารพิษในร่างกาย การไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับไม่สะดวกจนอาจถึงขั้นปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายแปรปรวน และอาจทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้

คนที่ตับมีปัญหามักจะเริ่มจากอาการที่ไม่ได้บ่งบอกชัดเจนนัก เช่นอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ประจำเดือนมาไม่ปกติ จนถึงขั้นตัวเริ่มเหลือง ตาเหลือง มีอาการบวมขึ้นที่แขนขาและหน้าท้อง ถ้าหากเริ่มมีอาการรุนแรงขึ้นอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดเพราะความดันในตับสูง มีอาการปวดแน่นที่ชายโครง บริเวณมุมปากหรือริมฝีปากมีสีคล้ำผิดปกติ ถ้าหากคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยเร็วก่อนที่จะมีอาการรุนแรงไปมากกว่านี้ครับ


8. โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรังอยู่ที่ 8,281 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 9,651 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรังเพิ่มขึ้น 14.88% เลยทีเดียว

โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง หมายถึงโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง เริ่มตั้งแต่ส่วนบนของหลอดลมไปจนถึงถุงลมในปอด โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ที่พบบ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchitis) หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน (acute bronchiolitis) และโรคปอดบวมเฉียบพลัน (acute pneumonia)


9. โรควัณโรคทุกชนิด

โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรควัณโรคอยู่ที่ 6,228 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 6,249 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรควัณลดลง 1.10% ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่รักษาหายหากพบหมอเร็ว

วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium ซึ่งมีหลายชนิด โดยเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทยก็คือเชื้อ Mycobacterium tuberculosis

วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดโดยพบถึงร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดก็เป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น


10. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากไวรัส (เอดส์)


โดยตามสถิติในปี 2557 คนที่เสียชีวิตจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากไวรัสอยู่ที่ 6,023 คน/ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่ 4,860 คน/ปี เรตการเสียชีวิตจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากไวรัสลดลงถึง 20.45% ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่สามารถควบคุมให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถอยู่กับโรคได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Human Immunodeficiency Virus ในขณะที่โรคเอดส์หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการได้มากมายหลายอย่าง เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว เกิดการลุกลามของโรคเริม ปอดอักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ผอมลงและน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว


เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คุณผู้อ่านก็คงจะพอมองเห็นภาพรวมแล้วนะครับ ว่าแต่ละคนควรจะมีแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างไร รวมถึงควรจะวางแผนทางการเงินและการซื้อประกันสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมรับกับโรคร้ายเหล่านี้ที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่คาดฝันได้อย่างไร พี่แมนเชื่อว่า ถ้าหากคุณเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ทั้งในแง่สุขภาพและการเงิน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบไหน ยังไงก็เอาอยู่แน่นอนครับ

ที่มา: รายงานสถิติสาธารณะสุข พ.ศ.2561 โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณะสุข


Photo credits:

เกี่ยวกับผู้เขียน
Man
พี่แมน แห่งรีวิวประกัน หนุ่มนักคิดวัย 37 ปี อดีตหนุ่มออฟฟิศที่เก็บเงินสร้างธุรกิจส่วนตัวสำเร็จ ปัจจุบันเป็นคุณพ่อลูกสอง ภรรยาหนึ่ง พี่แมนชอบแนะนำแนวทางการจัดการเงินและหนี้ให้กับคนรอบๆตัวจากประสบการณ์ เพราะอยากให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อทุกคนจะได้ไม่ต้องปวดหัวเพราะเรื่องเงินๆ ทองๆ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ประกันมะเร็ง
#ประกันโรคร้ายแรง
แนะนำสำหรับคุณ
ประกันมะเร็ง โอนไว ซื้อง่ายผ่านหน้าเว็บ
835 view
Editor
verified_user
เลือกประกันสุขภาพฉบับมือใหม่
9.8K view
Editor
verified_user
ความเสี่ยงที่ติดมากับประกันสุขภาพแต่ละเเบบ ที่อาจไม่มีใครบอกคุณ
2.4K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

ประกันโรคร้าย
ชื่อแผน: ประกันมะเร็ง เจอ-จ่าย-จบ

฿1,200

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.2 (0)
remove_red_eye1.8K Views
โรคมะเร็งทุกชนิดทุกระยะ (ไม่รวมมะเร็งผิวหนัง)
200,000 ฿
โรคมะเร็งผิวหนัง
40,000 ฿
ประกันโรคร้าย
ชื่อแผน: Smile Cancer

฿3,553

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.0 (0)
remove_red_eye1.9K Views
มะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ (ยกเว้นมะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่ "เมลลาโนมา")
700,000 ฿
มะเร็งผิวหนังที่ไม่ใช่ "เมลลาโนมา"
140,000 ฿
เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันโรคร้าย
ชื่อแผน: Cancer Care

฿820

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.1 (0)
remove_red_eye2.4K Views
มะเร็งระยะเริ่มต้น
75,000 บาท
มะเร็งระยะลุกลาม
500,000 บาท
คุ้มครองเสียชีวิต
50,000 บาท
ประกันโรคร้าย
ชื่อแผน: ซูเปอร์แพลน คุ้มครองโรคร้ายและมะเร็งทุกระยะ

฿2,544

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.0 (0)
remove_red_eye2.1K Views
มะเร็งระยะเริ่มต้น
150,000 บาท/กรมธรรม์
มะเร็งระยะลุกลาม
600,000 บาท/กรมธรรม์
คุ้มครองโรคร้าย
ซื้อเพิ่มได้
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่