สำรองจ่าย (v.)

Advance Payment

แปลแบบเข้าใจง่าย

ตามสัญญาและหลักการประกันภัยแล้ว บริษัทประกันจะกำหนดว่าจะจ่ายเคลม 1) ให้ใคร 2) เท่าไหร่ 3) จ่ายเมื่อเกิดความเสียหายที่รับประกัน และโดยหลักแล้วจะจ่ายเมื่อมีหลักฐานพร้อมและเพียงพอกับการพิจารณาเมื่อยื่นเคลม แปลว่าเราจะต้องนำหลักฐานการเคลมส่งให้บริษัทประกัน บริษัทประกันจึงจะจ่ายค่าเสียหายถึงบัญชีธนาคารเรา เพราะฉะนั้นการสำรองจ่ายจึงเป็นเรื่องปกติของการเบิกเคลมประกัน

แต่ในสมัยใหม่บริษัทส่วนใหญ่จะอำนวยความสะดวกโดยมีการเชื่อมต่อระบบกับโรงพยาบาลให้รวดเร็วสำหรับลูกค้ามากขึ้น จึงทำให้ลูกค้าไม่ต้องจ่ายให้โรงพยาบาลก่อน เป็นการลัดคิวให้เลย ในปัจจุบันการสำรองจ่ายจะเกิดใน 2 กรณี
1) บริษัทประกันไม่มีบริการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลนั้น ๆ
2) บริษัทประกันได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลแล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาการเคลม ต้องใช้เวลาและข้อมูลเพิ่ม จึงไม่สามารถพิจารณาเคลมได้ทันก่อนลูกค้าออกจากโรงพยาบาล จึงต้องให้ลูกค้ามายื่นเคลมพร้อมหลักฐานอีกครั้งหนึ่งและสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อนนั่นเอง

ตัวอย่างเหตุการณ์

เรนนี่เข้าแอดมิทรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการกระเพาะอักเสบเรื้อรัง เมื่อจะทำเรื่องออกจากโรงพยาบาล บริษัทประกันแจ้งว่าไม่สามารถเคลมทันทีได้ ให้เรนนี่ออกค่ารักษาก่อน เนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังเป็นโรคที่ต้องเป็นมาก่อนนานแล้ว แต่เรนนี่เพิ่งทำประกันมา 6 เดือน เป็นไปได้ว่าโรคนี้เรนนี่เป็นมาก่อนทำประกัน บริษัทประกันอาจจะไม่สามารถคุ้มครองได้ จึงจะขอข้อมูลเพิ่มเติมตอนยื่นเบิกเคลมอีกครั้ง

ภาษากฎหมาย

การจัดการค่าสินไหมทดแทนประกันภัยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยึดถือหลักการของสัญญาประกันภัย
(Principles of Insurance Contract) ทั้ง 6 ประการ อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีหลักการ 3
ประการที่มีความสัมพันธ์กันและผู้รับประกันภัยพึงให้ความสำคัญ หลักการทั้งสามประการนั้น ได้แก่
1) หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเป็นจริง
2) หลักการรับช่วงสิทธิ์
3) หลักการร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงนั้น โดยปกติแล้วผู้รับประกันภัยจะมีแนวทาง
พิจารณาชดใช้ตามวิธีที่ผู้เอาประกันภัยกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยไว้ ซึ่งแนวทางที่ใช้กันในการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน มี 4 แนวทาง คือ
1) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริง (Indemnity Basis หรือ Actual Value Basis)
2) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าทดแทน (Reinstatement หรือ Replacement Value Basis)
3) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามการกำหนดมูลค่า (Valued Basis) หรือตามมูลค่าที่ตกลงกัน (Agreed
Value Basis)
4) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินที่กำหนด (Specified Sum Basis)

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

คำที่คนมักค้นหา
#สำรองจ่าย #เบิกประกัน #เคลม #เคลมไม่ได้ #ออกไปก่อน

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่