remove_red_eye1.2K Views

อัพเดท Insurtech มาแรงปี 2020

โพสต์วันที่ 28/08/2020
ปี 2020 นี้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตเรา เรียกได้ว่าป็นส่วนสำคัญของชีวิตเราเลยทีเดียว เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิต ช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น เช่น ช่วยเราเก็บสติถิติต่างๆ ในช่วงที่มีโควิดแพร่เชื่อที่ระยอง เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลและตามรอยก็ช่วยแจ้งเตือนผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด ทำให้ผู้มีความเสี่ยงรู้ตัว ดูแลตัวเองด้วย อ่านเพิ่มใน หมอชนะ และ ไทยชนะ จะช่วยเราจากโควิดระลอก 2 ได้ไหม เทคโนโลยีก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน เรามาอัพเดทเทรนด์กันดีกว่าว่าตอนนี้เทคโนโลยีประกันหรือ Insurtech มีอะไรกันบ้าง และอะไรที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2020-2021

People photo created by pressfoto - www.freepik.com

1.Telemedicine

ในยุคที่คนส่วนมากในประเทศสามารเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการวีดิโอคอลกับครอบครัว เล่นเกม หรือซื้อของออนไลน์ ทางการแพทย์เห็นจุดนี้ จึงพัฒนาเทคโนโลยีเทเลเมดดิซีน (Telemedicine) หรือชื่อทับศัพท์ภาษาไทยว่า “ระบบโทรเวชกรรม” ซึ่งก็คือบริการทางการแพทย์โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Video Conference หรือที่เรียกทั่วไปว่า วีดีโอคอล มาใช้ในการพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย

พูดคุยกับแพทย์ปรึกษาปัญหาสุขภาพระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยผ่านวีดีโอคอล

ลักษณะการพูดคุยกับแพทย์กับผู้ป่วยผ่านระบบ Telemedicine แทบจะไม่ต่างจากการพูดคุยกันในห้องตรวจของโรงพยาบาล เพียงแต่ตัวแพทย์กับผู้ป่วยจะอยู่คนละสถานที่กันเท่านั้น และสื่อสารกันผ่านเทคโนโลยีการวีดีโอคอลแบบเห็นหน้าคู่สนทนาทั้งสองฝ่าย เป้าหมายของ Telemedicine นั้นก็เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงคำแนะนำจากแพทย์ได้ง่ายขึ้น โดยที่ไม่ต้องเดินทางใดๆ

Ping An Good Doctor คือแอปพลิเคชันที่พยายามเข้ามาตอบโจทย์ปัญหานี้ ด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถค้นหาแพทย์ ปรึกษา และนัดหมายแพทย์ออนไลน์ได้ อีกทั้งยังให้คำปรึกษาเบื้องต้นง่ายๆ ผ่านการตอบคำถามด้วย AI (Artificial intelligence) และเมื่อผู้ป่วยต้องการได้รับยาหรือเวชภัณฑ์ต่างๆ ก็สามารถคลิกซื้อยาส่งถึงบ้านได้ ที่สำคัญคือ Ping An Good Doctor ยังเป็นส่วนหนึ่งของ ผิงอัน บริษัทประกันรายใหญ่ของจีน การรักษาพยาบาลผ่านแพลตฟอร์มนี้จึงเบิกประกันได้ (สำหรับลูกค้าของผิงอัน) เรียกได้ว่าตอบโจทย์ครบวงจร

Ping An Good Doctor ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าในช่วงโควิด 19 ระบาด (ช่วงเดือน ก.พ.2020) ยอดการใช้งานการปรึกษาแพทย์ผ่านระบบของ Ping An นั้น เพิ่มสูงขึ้นถึง 900% จากยอดผู้ใช้งานเดิม และแม้แต่ Telemedicine โดยโรงพยาบาลเอง อย่าง Cleveland Clinic ยังออกมาเปิดเผยว่าระบบต้องรับโหลดจากคนที่กังวลว่าจะติดเชื้อไวรัสและต้องการปรึกษาผ่านทางออนไลน์แทบไม่ทัน จนระบบล่มกันเลยทีเดียว


2.Social Media

สมัยนี้ใครๆ ก็ใช้ Social Media ไม่ว่าจะใช้อัพเดทชีวิตตัวเอง ตามติดชีวิตเพื่อนๆ อ่านข่าวสาร ตามกระแสสังคม จึงทำให้ Social Media เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักการตลาดรวมถึงธุรกิจประกันภัย บริษัทประกันภัยสามารถเลือกนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ตรงกับข้อมูลที่แต่ละคนตั้งค่าไว้บนเครือข่ายได้ วิธีนี้ช่วยประหยัดเวลาการเข้าถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ให้ข้อมูลประกันหรือคำนวนเบี้ยประกันให้ลูกค้าได้ง่ายๆ ผ่าน Facebook หรือ Line และสามารถเข้าถึงข้อมูลเทรนลูกค้า, ฟีตแบคจากลูกค้า และ insight ต่างๆ ผ่านเครื่องมือ social listening


นอกจากการตลาดแล้วยังมีแนวคิดที่จะนำพฤติกรรมและการแสดงออกบน Social Media มาใช้ประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันได้ ซึ่งหากมีการนำเสนอพฤติกรรมเสี่ยงบน Social Media ก็จะเป็นข้อมูลที่นำมาประกอบการประเมินค่าเบี้ยประกันและเงื่อนไขที่เหมาะสมได้เช่นกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและทดลอง น่าจะแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต

 


3. Facial Recognition

การทำประกันสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่กำลังนิยมกันในหมู่คนรักสัตว์ แต่ปัญหาที่จะตามมาของบริษัทประกันก็คือว่า บางทีสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวก็มีลักษณะ หน้าตาคล้ายกัน หรือเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สัตว์เลี้ยงตัวนี้ คือสัตว์ที่เอาประกันจริง จะให้น้องหมาเซ็นเอกสารก็ไม่ได้ จะให้ประทับรอยเท้า บางทีมนุษย์เราก็แยกไม่ค่อยออกว่าตัวจริงตัวปลอม 

พัฒนาการจดจำใบหน้าสัตว์เลี้ยงในการทำประกันสัตว์เลี้ยง

บริษัท Ant Financial บริษัทในเครือ Alibaba เลยพัฒนา Facial Recognition เข้ากับ AI เพื่อใช้กับโครงการประกันสุขภาพแมวและสุนัขซะเลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกเอกสารหรือดำเนินการฝังชิปเพื่อยืนยันตัวตนสัตว์เลี้ยง ก็เพียงให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงใช้แอป Alipay ตั้งค่าโปรไฟลสัตว์เลี้ยงด้วยการถ่ายรูปเพื่อบันทึกข้อมูล ด้วยการใช้จมูก แทนการจดจำลายนิ้วมือแบบมนุษย์ เนื่องจากจมูกของสัตว์นั้นจะมีเอกลักษณ์และรูปแบบผิวที่แตกต่างกัน จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ยืนยันจมูกของสัตว์ได้ ซึ่ง Alipay ยืนยันว่ามีความแม่นยำสูงถึง 99% ส่วนรายละเอียดประกันสุขภาพสัตว์เลี้ยงนั้น ก็มีเบี้ยประกันหลากหลายให้เลือก และยังมีกรมธรรม์ที่ครอบคลุมอุบัติเหตุและโรคที่ไม่ได้เป็นตั้งแต่เกิดอีกด้วย


4. Robotic

บริษัทประกันมักว่าด้วยเรื่องเอกสารเยอะแยะ แผนประกันต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังจะเข้าสู่ระบบดิจิตัล โดยบันไดขั้นแรกของการเปลี่ยนผ่านองค์กรธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัลคือ การนำกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาปรับใช้ในงานที่ทำเป็นประจำ หรืองาน routine เช่น งานเอกสารต่าง ๆ ที่องค์กรสามารถเซ็ตระบบอัตโนมัติเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยลดเวลาและภาระต้นทุนต่าง ๆ ได้

ส่วนบันไดขั้นต่อ ๆ ไปของการเปลี่ยนผ่านในระดับที่ 2 คือ กระบวนการประมวลผลอัจฉริยะแบบอัตโนมัติ (Intelligent Process Automation: IPA) และระดับที่ 3 คือ กระบวนการรับรู้และเข้าใจแบบอัตโนมัติ (Cognitive Automation: CA)

ช่วยจัดการเอกสารในการทำประกันต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อ, อนุมัติ, ไปจนถึงการเคลมประกัน ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการประมวลผลอัจฉริยะแบบอัตโนมัติที่สามารถอนมุติกรมธรรม์ หรือเคลมอัตโนมัติได้

สำหรับ Robotic Process Automation หรือตัวย่อ RPA คือ ระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมากและงานประเภทที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซึ่งระบบ RPA จะเข้าไปจัดทำและเปลี่ยนแปลงข้อมูลขั้นพื้นฐาน เช่น เอกสารพวกใบวางบิล ใบกำกับสินค้า รวมไปถึงกระบวนการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า และการตรวจสอบการบันทึกต่าง ๆ เป็นต้น


5. Data Driven Pricing

เรื่อง Dynamic Pricing ของวงการประกันเป็นอะไรที่ถูกพูดถึงมาซักพักใหญ่แล้ว จากการที่เรามีเครื่องมือในการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น บริษัทประกันก็อยากที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ตั้งราคาเบี้ยประกันต่างๆ ให้ตรงกับความเสี่ยงของผู้เอาประกันมากที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความนิยมในกลุ่มประกันสุขภาพ โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้เอาประกันด้วยเครื่องมือ health tech และนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับเบี้ยประกันตามเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ ผลพลอยได้จากวิธีแบบนี้จะทำให้คนรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น เพื่อที่จะได้จ่ายเบี้ยประกันน้อยลง ซึ่งถือว่า win win กันทั้งสองฝ่ายเพราะพี่เรนนี่ก็เชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยจริงๆ หรอกเนอะ

นำข้อมูลพฤติกรรมของคนเข้ามาใช้ในการกำหนดเบี้ยประกันด้วย เพื่อส่งเสริมให้คนที่ดูแลสุขภาพไม่ต้องจ่ายเบี้ยแพง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Dynamic Pricing ก็คือโครงการเบาหวาน Better Care ที่รับประกันผู้ป่วยเบาหวาน ในขณะที่เกือบทุกแพคเกจอื่นๆ ในตลาดไม่รับประกันโรคนี้ แต่ข้อแม้ของประกันตัวนี้คือการที่ผู้เอาประกันจะต้องตรวจค่าน้ำตาลสะสมทุกๆ 6 เดือน และสามารถนำระดับค่าน้ำตาลสะสมใหม่มาอัพเดทเบี้ยประกันได้ทันที ถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว


เราได้รู้เทรนด์คร่าวๆ ของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประกันภัย หรือ Insurtech แล้ว เรามาตามดูเทรนด์กันต่อไปว่าจะเป็นเหมือนที่คาดไว้หรือไหม แต่ที่แน่ๆ เราว่าเพราะเจ้าโควิดก็ทำให้เราเห็นค่าเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น telemed ก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาชีวิตและช่วยชีวิตเราได้มากขึ้น อยากให้พวกเราติดตามเทคโนโลยีต่างๆ เอาไว้ เพราะเจ้าโควิดทำให้พวกเราต้องปรับตัวเสมอ

ที่มา:
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ประกันสุขภาพ
#ประกันเบาหวาน
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่