remove_red_eye13.9K Views

รู้จัก mRNA vaccine VS Viral vector vaccine

โพสต์วันที่ 13/07/2021

เดี๋ยวนี้ไถฟีดเฟสบุ๊คทีไร ก็มีแต่คนไปฉีดวัคซีน ใครยังไม่ได้ฉีดก็คงเริ่มร้อนๆหนาวๆจะเอายังไงดี และยังมีอีกหลายคนที่เลือกไม่ถูกว่าจะไปฉีดวัคซีนอย่าง AstraZeneca หรือรอวัคซีนทางเลือกดี ซึ่งวัคซีนทั้งสองแบบแตกต่างกันตรงเทคโนโลยีที่ใช้ โดย Astrazeneca เป็น Viral Vector Vaccine ส่วนวัคซีนทางเลือก จะใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งมีแผนจะนำเข้ามาในประเทศไทยช่วงปลายปี 2564 ทั้งวัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna

 

แล้วเทคโนโลยี Viral Vector Vaccine กับ mRNA นี่แตกต่างกันยังไง? มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากแค่ไหน เราไปทำความรู้จักเทคโนโลยีวัคซีนทั้งสองแบบพร้อมกันๆเลยจ้า


ความแตกต่างของ mRNA กับ Viral Vector Vaccine



mRNA Vaccine

เป็นวัคซีนที่สังเคราะห์สารพันธุกรรม mRNA หรือ messenger RNA ที่เป็นเพียงส่วนขนาดเล็กมากของ spike protein ในไวรัส เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายแล้ว วัคซีนจะนำส่ง mRNA ที่ห่อหุ้มด้วย nanoparticles ที่ทำด้วยไขมันเข้าสู่เซลล์ โดย mRNA จะทำหน้าที่เป็น "แม่พิมพ์" ในการผลิต spike protein เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเราให้สร้าง antibody ต่อต้าน spike protein นั้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ mRNA จะสลายตัวไปหมด ไม่ผนวกกับ DNA ของเรา ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และไม่ก่อให้เกิดมะเร็งค่ะ

เงื่อนไขในการเก็บรักษาวัคซีน mRNA ก็คือ วัคซีนชนิดนี้จะสลายตัวได้ง่ายมาก จึงต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัด ทำให้การขนส่งวัคซีนค่อนข้างยากและต้องใช้เครื่องมือการเก็บรักษาราคาแพง ซึ่งถ้าหากผู้จัดสรรวัคซีนเก็บรักษาวัคซีนอย่างดีตามที่กำหนด ก็ไม่มีผลกระทบอะไรกับการฉีดวัคซีนของเราเลยค่ะ




Viral Vector Vaccine

มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ mRNA vaccine คือจะเป็นการนำส่ง DNA ที่เป็นต้นแบบของ spike protein เข้าสู่เซลล์เช่นกัน แต่จะใช้ adenovirus แทนที่การใช้ nanoparticles จากไขมันแบบในวัคซีน mRNA เมื่อ DNA ในไวรัสจากวัคซีนถูกส่งเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะสร้าง mRNA ก่อน ซึ่งจะผลิต spike protein เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกันกับวัคซีน mRNA นั่นเอง

นอกจากนี้ ตัว adenovirus ยังถูกออกแบบไม่ให้แบ่งตัวได้ จึงไม่สามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้อีก และไวรัสที่ใช้ในวัคซีน AstraZeneca มีต้นแบบจากไวรัสของชิมแปนซี จึงไม่ติดและแพร่เชื้อก่อโรคในมนุษย์ และไม่ผนวกกับ DNA ของมนุษย์ค่ะ


การทำงานของวัคซีน


มีอยู่สองสิ่งที่พี่เรนนี่อยากให้น้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของวัคซีนด้วยเทคโนโลยีใหม่ทั้งสองแบบ นั่นก็คือ

  1. วัคซีนก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง ไม่จริง! :

     

    มักมีคำบอกเล่าออกมาว่า spike protein ที่วัคซีนสร้างขึ้นจะคงค้างอยู่ในร่างกาย และอาจเกิด misfolded protein ตกตะกอน ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หรือ ALS สิ่งนี้ไม่เป็นความจริงนะคะ เพราะ spike protein ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจาก mRNA หรือ Viral Vector Vaccine เมื่อทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันแล้วจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดไปหมด เหมือนกับร่างกายกำจัดเชื้อไวรัส ซึ่งแสดงว่าวัคซีนที่ฉีดได้ผลดี จึงไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง DNA ในร่างกายของเรานั่นเอง

  2. เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นที่คุ้นเคย: 

     

    เทคโนโลยีการสร้างไขมันห่อหุ้มแบบ lipid nanoparticles ถูกใช้มานานในวงการแพทย์พอสมควร โดยถือเป็นวิธีการนำส่งยา (delivery system) แบบหนึ่ง เพื่อทำให้สามารถส่งยาไปยังเป้าหมายได้ดี ยาหลายชนิด เช่นยาต้านเชื้อรา ก็ใช้ liposome ห่อหุ้ม มีผลให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น ให้ผลข้างเคียงน้อยลง ไขมันที่ใช้สร้างก็คือตระกูล triglycerides และ cholesterol การห่อหุ้ม mRNA ด้วย lipid nanoparticles จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดค่ะ


แม้วัคซีนทั้งสองแบบจะใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นวงกว้าง แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกพัฒนาเป็นสิบปีจนมีประสิทธิภาพดีมาก เราอาจตกใจว่าไม่เคยเห็นคนพูดถึงเทคโนโลยีวัคซีนเหล่านี้มาก่อน นั่นก็เป็นเพราะแต่เดิมการจะพัฒนาเทคโนโลยีเช่นนี้มักใช้ระยะเวลานานเพราะไม่มีสถานการณ์เร่งด่วน แต่ด้วยปัญหาการระบาดของ Covid-19 จึงทำให้นักวิจัยเร่งรัดกระบวนการให้มีประสิทธิภาพและเร็วไวที่สุดเท่าที่จะทำได้

นอกจากนี้ วัคซีนทั้งสองแบบผ่านการศึกษาใน phase 3 ในกลุ่มอาสาสมัครเกิน 150,000 คน และมีการใช้จริงรวมกันกว่า 600 ล้านคนแล้ว อีกทั้งยังพบผลข้างเคียงรุนแรงได้น้อยมาก โดยเฉลี่ยคือ 1 ต่อ 300,000 ถึง 400,000 คน และเป็นผลข้างเคียงที่สามารถรักษาได้

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้จึงไม่ได้เป็นสิ่งน่ากลัวหรืออันตรายแบบที่หลายคนเชื่อกัน การศึกษาและการใช้จริงกับประชาชนเป็นวงกว้าง น่าจะพิสูจน์ตัวมันเองได้ดีแล้วค่ะ งั้นไปดูกันต่อว่า วัคซีนทั้งสองแบบ มีผลการวิจัยการใช้เป็นอย่างไรกันบ้าง


ผลการวิจัยวัคซีน Viral vector vaccine ยี่ห้อ AstraZeneca

จาก Real World Data โดยสหราชอาณาจักร
ทีมนักวิจัยได้ข้อมูลประชากรราว 383,000 คน ที่มีการทำ RT-PCR ตรวจหาเชื้อเกือบ 2 ล้านครั้ง และในช่วงที่ฉีดวัคซีนก็มีการระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์ Alpha อย่างหนักพอดี ผลการวิจัยพบว่า คนที่ฉีดวัคซีน 1 เข็มไปอย่างน้อย 3 สัปดาห์ สามารถป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ถึง 61% และถ้าฉีดครบ 2 เข็มจะป้องกันได้ถึง 79% 


ผลการวิจัย mRNA vaccine

จาก Real World Data โดย Center of Disease Control and Prevention USA

จากผลการวิจัย พบว่า mRNA vaccine สามารถป้องกันการติดเชื้อทั้งแบบที่มีและไม่มีอาการได้ดีมาก โดยกลุ่มที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อสูงถึง 91% และในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ก็ยังมีประสิทธิผลสูงถึง 81% นอกจากนี้ ในกลุ่มที่ติดเชื้อ พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ ตรวจพบปริมาณเชื้อ SARS-CoV-2 ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนถึง 40% ผู้ติดเชื้อมีไข้น้อยกว่า และหายเร็วกว่าผู้ไม่ได้รับวัคซีนถึง 6 วันเศษ

การศึกษานี้เป็นอีกข้อพิสูจน์ว่า วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงมาก นอกจากจะกันป่วย ป่วยหนัก และกันตายแล้ว ยังสามารถ "กันติด" ได้ด้วย เป็นหลักฐานที่พบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ช่วยตอกย้ำคุณภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดได้เป็นอย่างดีค่ะ

รู้แบบนี้แล้ว หลายๆคนก็พอจะอุ่นใจได้แล้วว่าความหวังยังมี ไม่ว่าน้องจะฉีดวัคซีนแบบ mRNA หรือ Viral Vector Vaccine ก็ช่วยป้องกันโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เชื่อถือได้ ยังไงพี่เรนนี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้หลายคนที่ยังกังวล ให้ค่อยๆลองตัดสินใจกันไปนะคะ เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันแน่นอนค่ะทุกคน

ด้วยรัก 
พี่เรนนี่




ขอบคุณแหล่งข้อมูล : 
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2107058
https://www.cdc.gov/.../vacc.../different-vaccines/mrna.html
https://www.cdc.gov/.../different-vaccines/viralvector.html
https://www.nature.com/articles/s41591-021-01410-w
Facebook : Manop Pithukpakorn


 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#mRNA
#Viral Vector
#Vaccine
#Pfizer
#Moderna
#Astra Zeneca
#Johnson and Johnson
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

เมืองไทยประกันชีวิต
แพ็คเสริมประกันกลุ่ม
ชื่อแผน: D Health Plus (มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿12,697

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.6 (0)
remove_red_eye15.7K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
5,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
50,000 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Opal

฿14,904

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye2.1K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
350,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
ปลูกถ่ายไขกระดูก-อวัยวะ, ฟอกไต
10,000 บาท
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
100,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: ประกันสุขภาพ Finsurance

฿16,861

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.3 (0)
remove_red_eye6.9K Views
ค่าห้อง
5,500 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
3,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
12,000 บาท/ปี
กายภาพบำบัด
3,000 บาท
คุ้มครองเสียชีวิต
50,000 บาท
เจนเนอราลี่
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Gen Health Lump Sum

฿8,060

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye7.6K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
300,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ฟอกไต
จ่ายตามจริง
คุ้มครองเสียชีวิต
300,000 บาท
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่