remove_red_eye627 Views

“อัลไซเมอร์” โรคที่หนุ่มสาวไม่ควรมองข้าม

โพสต์วันที่ 22/11/2022

“อัลไซเมอร์” โรคคนแก่ที่หนุ่มสาวหลายคนไม่ควรมองข้าม หากน้อง ๆ คนไหนที่เคยมีหรือกำลังมีผู้สูงวัยอยู่ด้วยกันที่บ้าน หลาย ๆ บ้านก็อาจพบเจอกับอัลไซเมอร์ที่้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาการที่ลูกหลานอย่างเราพบเจอจากผู้สูงอายุในบ้านบ่อย ๆ ก็คือ…

บางทีก็ลืมว่าทานข้าว ทานยาไปแล้ว

บางทีก็ลืมหน้าลูก ๆ หลาน ๆ

บางทีก็ลืมว่าอาบน้ำไปแล้ว

แล้วก็มักจะทำซ้ำ ๆ วนไปวนมาเรื่อย ๆ

แน่นอนว่าผู้ป่วยเหล่านี้ ละสายตาจากลูกหลานไปไม่ได้เด็ดขาด ลูกหลานจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเลยทีเดียวแหละ เพราะผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง อาจมีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมาได้ เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด “อัลไซเมอร์” มีอะไรบ้าง ?

  • อายุ ยิ่งอายุมาเท่าไหร่ ความชุกชุมของโรคก็จะเกิดตามมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 65-74 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 27 กลุ่มผู้ที่มีอายุ 75-84 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 37.2 และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ร้อยละ 35.7 แต่บางทีก็อาจในผู้ที่อายุน้อยได้เช่นกัน

จำนวนผู้ป่วยชาวสหรัฐฯ ปี 2022 ที่มีอาการอัลไซเมอร์ อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

  •  พันธุกรรม อาจะมีปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติ ๆ เราที่เคยเป็น เราก็มีสิทธิเป็นได้เช่นกัน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการให้เห็นตั้งแต่อายุ 50-60 ปี

  • อุบัติเหตุทางศีรษะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน
  • โรคหลอดเลือด ที่เกิดจาก น้ำหนักเกินมาตรฐาน ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน

อัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงตั้งแต่ปี 2000-2019



เป็นที่น่าตกใจเมื่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงตั้งแต่ปี 2000-2019 ลดลง ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด HIV กลับกันเมื่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นมากถึง 145.2% เลยทีเดียว

อย่างที่รู้ ๆ กันผู้สูงอายุก็มีสิทธิเป็นอัลไซเมอร์ได้มากกว่า แต่ ! หนุ่มสาววัยทำงานก็มีสิทธิเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้เหมือนกันนะ

หนุ่มสาวออฟฟิศที่ชอบ…

ลืมว่าเซฟงานไว้ตรงไหน

ลืมกุญแจรถ กุญแจบ้าน

ลืมสแกนนิ้วเข้างาน

หรือถ้าลืมอะไรบ่อย ๆ ก็อาจมีสิทธิเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน

Check List อาการอัลไซเมอร์ที่เราอาจเข้าข่ายเป็น…
  • ความจำมีปัญหา หลงๆ ลืมๆ
  • มีปัญหาเรื่องตัวเลขและการคำนวณ
  • มักจะคิดคำพูดไม่ออก จนต้องใช้ภาษามือ
  • วางของผิดที่ผิดทางแล้วจำไม่ได้
  • มีปัญหาเรื่องการวางแผน เช่น การเดินทางหรือใส่เสื้อผ้า
  • สับสนเรื่องเวลา สถานที่

สาเหตุที่คนในวัยทำงานเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็เพราะพฤติกรรมบ้างาน มักนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานและมีความเครียด มีโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิตสูง และกว่าครึ่งเป็นโรคอ้วน ซึ่งนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ทั้งสิ้น

ปรับพฤติกรรมป้องกันอัลไซเมอร์

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง
  2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน
  3. ไม่สูบบุหรี่
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง การพลัดตกหกล้ม
  6. ตรวจสุขภาพประจำปี ติดตามโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะ
  7. ฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกม ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ
  8. หมั่นพบปะพูดคุยกับผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

ค่าใช้จ่ายรักษาโรคอัลไซเมอร์อยู่ที่เท่าไหร่ ?

  • ค่ารักษาอัลไซเมอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 110,000 บาทต่อปี
  • ค่าใช้จ่ายทางด้านการแพทย์เฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 บาทต่อปี
  • ค่าเดินทาง ค่าจ้างผู้ดูแล ค่าอาหารเสริม เฉลี่ยอยู่ที่ 48,000 บาทต่อปี
  • ค่าเสียโอกาสของญาติผู้ดูแล เฉลี่ยอยู่ที่ 7,200 บาทต่อคนต่อปี

ประกันครอบคลุมโรคอัลไซเมอร์ยังไงบ้าง ?

แน่นอนว่าประกันสุขภาพที่เราต้องเลือกซื้อนั้น ก็ต้องดูรายละเอียดกันก่อนว่า ครอบคลุมค่ารักษาในส่วนของโรคร้ายแรงมั๊ย เพราะโรคอัลไซเมอร์ ถือได้ว่าจัดอยู่ในกลุ่มประกันที่ครอบคลุมโรคร้ายแรง รวมถึงระยะของการเป็นโรค เนื่องจากอัลไซเมอร์จะมีระยะของการเกิดโรคตั้งแต่ระดับต้นไปจนถึงระดับปลาย อย่างระดับต้นประกันก็จะคุ้มครองค่ารักษา 30% ส่วนระดับปลายอาจคุ้มครองได้สูงสุดถึง 80% เป็นต้น

ตัวอย่างประกันที่คุ้มครองโรคอัลไซเมอร์
เมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือหรือทั่วทุกมุมโลก คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

FWD ประกันโรคร้ายแรง Big 3 แผนประกันสุขภาพเดียว ที่คุ้มครองครอบคลุม 3 กลุ่มโรคร้ายแรง อันดับต้นๆ ของไทย ทั้งโรคมะเร็ง กลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก



ที่มา : 
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2018/alzheimer-disease
https://www.alz.org/media/documents/alzheimers-facts-and-figures.pdf
https://www.cdph.ca.gov/Programs/CCDPHP/DCDIC/CDCB/CDPH%20Document%20Library/Alzheimers'%20Disease%20Program/151764_Alzheimers_Disease_Facts_and_Figures_Report_ADA.pdf
https://www.wealthythai.com/en/updates/stock/stock-of-the-day/12988









เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#อัลไซเมอร์
#ความจำเสื่อม
#ขี้ลืม
#หลงลืม
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Elite Health

฿22,092

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.7 (0)
remove_red_eye6.8K Views
ค่าห้อง
10,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
20,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
MRI-เคมีบำบัด-ล้างไต (แบบผู้ป่วยนอก)
จ่ายตามจริง
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
จ่ายตามจริง
เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: D Health Plus (ไม่มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿23,677

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
3.9 (0)
remove_red_eye22.8K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
1,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
0 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่