อ้วน vs ผอม เกินไป ภัยร้ายทำลายสุขภาพ
ช่วงนี้คนรอบตัวพี่เรนนี่ชอบชวนไปร้านหมูกระทะกันทั้งนั้น หลังจากที่ทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ได้ออกกำลังกาย นั่งทำงาน WFH ไม่ได้เดินออกไปไหนเล้ย แล้วน้ำหนักพี่เรนนี่ก็ขึ้นเอา ๆ พอไปตรวจร่างกายประจำปีเรียกได้ว่า เจ้าไขมันตัวร้าย LDL (Low-Density Lipoprotein Cholesterol), เจ้าคอเรสเตอรอล (Cholesterol), เจ้าไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ล้วนมีค่าเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีก่อนทั้งนั้น
ไม่ได้แล้วพี่เรนนี่ต้องตีห่างร้านหมูกระทะสักพัก !!!
ขอบอกเลยว่าเจ้าค่าตัวร้ายเหล่านี้ ถ้าหากสะสมไปนานวันเข้าไมยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็จะนำไปสู่โรคอ้วนในที่สุด !!! ซึ่งโรคนี้แน่นอนว่าเป็นบ่อเกิดของโรเรื้อรังหลาย ๆ โรคยอดฮิตของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง
แต่ในทางกลับกันหากมีเพื่อน ๆ บางคนที่ผอมเกินไปก็ไม่ดีเหมือนกันนะ เพราะถ้าผอมเกินไปก็เสี่ยงทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคไทรอยด์, โรคกระดูกพรุน
โรคข้างต้นเหล่านี้ล้วนติดอันดับ Top 10 ของโรคที่ฆ่าชีวิตของคนไทยติดต่อปีซ้อนปีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแล้วพี่เรนนี่จะปล่อยไว้ไม่ได้ วันนี้พี่เรนนี่เลยมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนเกินไปก็ไม่ดี ผอมเกินไปก็ไม่ดีอีก เราต้องเดินทางสายกลางสิถึงจะดี
ทำไมปัจจุบันจึงเกิดภาวะอ้วนและผอมเกินไป ?
ปัจจุบันไม่ว่าจะอาหาร ขนม ต่างก็ปรุงแต่งเติมสีสันและรสชาติให้อร่อยมากขึ้น ดังนั้นรสชาติอาหารจึงเค็มจัด เผ็ดจัด หวานจัด เราถึงรู้สึกอร่อย นี้แหละตัวการที่เป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ ตามมา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุ ทั้งการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น เนื้อ ไขมัน แป้งและของหวาน รับประทานไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ นั่งๆ นอนๆ เป็นส่วนใหญ่ ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมเหล่านี้แหละทีเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วน
ค่า BMI เท่าไหร่ ถึงเรียกว่า “อ้วนและผอม”
อย่างแรกมาตรวจสอบกันก่อนดีกว่าว่าเพื่อน ๆ ที่อ่านจนถึงตอนนี้มีภาวะเข้าข่ายโรคอ้วนหรือไม่ ปกติแล้วเราจะวัดว่าเราอ้วน หรือ ผอมไปด้วยวิธี BMI (Body Mass Index) ตั้งแต่สมัยเด็กจนโตก็จะเจอค่านี้เสมอเวลาตรวจสุขภาพประจำปี ค่า BMI เท่าไหร่ถึงบอกว่าเราจะอ้วนไหมมีตามนี้ ไปดู ค่า BMI < 18.5 เรียกว่า “ผอม”
ค่า BMI 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”
ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
ค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”
วิธีคำนวณน้ำหนัก ค่า BMI ว่าเราอยู่ที่ระดับไหน
ประกันสุขภาพหลาย ๆ เจ้าได้ให้ความคุ้มครองโรคกลุ่ม NCDs หรือที่เรียกว่าโรคไม่ติดต่อ อย่างโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมของเราที่ทำเป็นประจำในทุก ๆ วัน โดยจะมีการสะสมอาการอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะยิ่งทำให้เกิดการเรื้อรังของโรคตามมา ซึ่งเป็นผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง
กราฟอัตราแสดงการเกิดโรคกลุ่ม NCDs ในประเทศไทยปี 2021
ที่มา : Statista, May 2022
อัตราการเกิดโรคกลุ่ม NCDs เหล่านี้ในปี 2022 มีดังนี้
อันดับที่ 1 โรคความดันโลหิตสูง 9.12 ล้านคน
อันดับที่ 2 โรคอ้วน 4.56 ล้านคน
อันดับที่ 3 โรคไขมันในเลือดสูง 4.22 ล้านคน
อันดับที่ 4 โรคกระดูกพรุน 2.11 ล้านคน
อันดับที่ 5 โรคหัวใจ 0.96 ล้านคน
และนี้คือ 5 โรคตัวท็อปที่เกิดขึ้นกับคนไทยมากที่สุด
โดยประกันส่วนใหญ่จะครอบคลุมโรคเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ยกเว้นโรคทางจิตเวชที่จะมีบทงกรมธรรม์ที่ครอบคลุม ท้ายนี้พี่เรนนี่ก็ขอเตือนว่า ยาที่ดีที่สุด ที่จะลดความอ้วน และ การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ ยาออกกำลังกาย !!! ยาวิเศษที่จะช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากพฤติกรรมสะสมแย่ ๆ ได้ แล้วเจอกันใหม่สัปดาห์หน้านะคะ
ที่มา : https://www.statista.com/statistics/1309661/thailand-number-of-patients-with-non-communicable-diseases-by-type/