สรุป 4 รูปแบบค่ารักษาพยาบาล ที่ต้องรู้ !
“การวางแผนการเงินด้านการรักษาพยาบาลตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นหนทางสู้ความยั่งยืนในวัยเกษียณ” วันนี้พี่เรนนี่ขอมาบอกต่อเรื่องรูปแบบค่ารักษาพยาบาลที่เป็นปัจจัยสำคัญหลักในการใช้จ่าย เมื่อเราต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะค่ารักษาพยาบาลนี้ถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดในการเข้ารักษาตัว หากเราเตรียมเงินหรือสะสมเงินมาได้ไม่พอ ก็อาจจะทำให้ไม่มีเงินรักษาพยาบาล และอาจต้องหาทางเลือก หรือ สวัสดิการอื่น ๆ เข้ามาช่วยทดแทน
สรุป 4 รูปแบบค่ารักษาพยาบาลด้านล่างนี้ จึงช่วยสรุปให้เราเห็นปัญหาของค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อน ว่าเราตรียมเงินมาพอที่จะใช้จ่ายค่ารักษาทั้งหมดหรือไม่
สามารถแบ่งค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- นอนโรงพยาบาลทั่วไป (ค่าใช้จ่าย 10,000 - 100,000 บาท)
- ผ่าตัดทั่วไป (ค่าใช้จ่าย 100,000 - 500,000 บาท)
- ผ่าตัดซับซ้อน (ค่าใช้จ่าย 500,000 - 2,000,000 บาท)
- โรคร้ายแรง (ค่าใช้จ่าย 5,000,000 บาท)
แน่นอนว่าเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วต้องรักษาตัวตาม 4 กรณีข้างต้นนี้ หากทำประกันสุขภาพมานานมากกว่า 3 ปี และไม่เคยมีการเคลมโรคซับซ้อนใดๆ รวมถึงประวัติสุขภาพก่อนทำประกัน 5 ปีก็ไม่มีการรักษาโรคเรื้อรังใดๆ มาก่อน ก็ยิ่งทำให้การเคลมประกันสุขภาพเป็นไปได้ง่ายขึ้น
เพราะจะทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน จากการที่บริษัทประกันขอสืบประวัติให้มั่นใจว่าก่อนทำประกันไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่ยังรักษาไม่หายขาดมาก่อนหรือไม่
ดังนั้นค่ารักษาแต่ละรูปแบบควรเลือกกรมธรรม์ที่คุ้มครองอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
กรณีที่ 1 นอนโรงพยาบาลทั่วไป (ค่าใช้จ่าย 10,000 - 100,000 บาท)จุดเด่นกรมธรรม์ที่ควรมี : ส่วนใหญ่ใช้ OPD ดังนั้นค่าห้องนอนไม่จำเป็นต้องสูงมาก เป็นค่าใช้จ่ายมาตรฐานก็เพียงพอ ส่วน IPD ควรเลือกตามมาตรฐาน เน้นสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่าทำฟัน ค่ากายภาพบำบัด เป็นต้น สวัสดิการประกันสุขภาพบริษัทยังพอมีครอบคลุม
กรณีที่ 2 ผ่าตัดทั่วไป (ค่าใช้จ่าย 100,000 - 500,000 บาท)
จุดเด่นกรมธรรม์ที่ควรมี : ควรมีค่าใช้จ่าย IPD และ OPD ตามมาตรฐาน ค่าห้องตามความเหมาะสมที่เราต้องการ สวัสดิการประกันสุขภาพบริษัทยังพอมีครอบคลุม
กรณีที่ 3 ผ่าตัดซับซ้อน (ค่าใช้จ่าย 500,000 - 2,000,000 บาท)
จุดเด่นกรมธรรม์ที่ควรมี : เน้นค่าใช้จ่าย IPD และ OPD มาก สวัสดิการประกันสุขภาพบริษัทอาจยังไม่ครอบคลุม ดังนั้นการทำประกันสุขภาพของตนเองจึงจำเป็นมาก เพื่อใช้เคลมในยามฉุกเฉิน
กรณีที่ 4 โรคร้ายแรง (ค่าใช้จ่าย 5,000,000 บาท)
จุดเด่นกรมธรรม์ที่ควรมี : เน้นค่าใช้จ่าย IPD มากที่สุด ส่วน OPD อาจต้องดูตามระดับความรุนแรงของโรคร้าย สวัสดิการประกันสุขภาพบริษัทไม่ครอบคลุม ดังนั้นการทำประกันสุขภาพของตนเองจึงจำเป็นมาก
โปรโมชั่น D Health เบาใจ และแผนประกัน D Health เบาตังค์ Plus รับสิทธิพิเศษเมื่อชอปผ่าน “MTL Virtual World” หรือคลิกเข้ารับชมโลกเสมือนจริงได้ที่ https://v-avenue.co ที่ทาง MTL ได้ร่วมมือกับ AIS สร้างโลกเสมือนจริง “V-AVENUE” มาให้น้อง ๆ ได้ลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
ถึงอายุจะน้อยก็ป่วยได้ ต้องวางแผนรับมือเรื่องสุขภาพด้วย ดี เฮลท์ พลัส (D Health Plus) จากเมืองไทยประกันชีวิต ความคุ้มครองสุขภาพของคน Gen ใหม่ เบี้ยไม่แพงแต่ดูแลคุ้มมม…เหมาจ่ายค่าห้องค่ารักษา 5 ล้านบาท คุ้มครองโรคร้าย โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ ครอบคลุมทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้อง ไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด ค่ากายภาพบำบัด ผ่าตัดเล็กใหญ่ หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องนอนก็คุ้มครอง ดูแลกันยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี สมัครได้ตั้งแต่อายุ 11-90 ปี
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.muangthai.co.th/th/health-insurance/d-health-plus?utm_source=google&utm_medium=pa-cv-sem-HealthBraProadtext1-DHealthPSEMAWO-DHealthPlus-pid10112-20220701&utm_campaign=pipe26cc21&gad=1&gclid=Cj0KCQjw2qKmBhCfARIsAFy8buLCEy-YWVlcN1U5Qccu67nZ8p0OZs8Smf-ciec7GdqOAP8JKNFcv6caAq9mEALw_wcB&gclsrc=aw.ds
Source:
https://releaseyourrisk.com/health-insurance-better-2022/