โรคซึมเศร้าที่ต้องรักษา กับราคาที่ต้องเสีย
จากกระทู้ที่มีการถามถึงค่ารักษาโรคซึมเศร้า “ไปหาหมอแต่ละครั้ง แพงมั้ย ค่ารักษาเท่าไหร่” "อยากไป แต่ก็กลัวแบกรับค่าใช้จ่ายไม่ไหว"
เราจะเห็นว่าไม่ใช่แค่ค่ารักษาโรคทางกายเท่านั้นนะครับที่หลายคนกังวล ค่ารักษา “โรคทางใจ” หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ก็อาจจะยิ่งน่ากังวลมากกว่า ถ้าหากต้องรักษากันในระยะยาว แถมในหลากหลายแผนประกัน ก็มักมีเงื่อนไขว่าไม่คุ้มครองโรคทางจิตเวชอีก
ใครที่กำลังเจอปัญหาสุขภาพจิตในตอนนี้ พี่แมนขอกอดแน่นๆ และขอบอกว่า “ไปหาหมอเถอะครับ” แม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มมีอาการก็ตาม การยอมรับว่าสุขภาพจิตตอนนี้เป็นปัญหา และเข้ารับการรักษาในทางที่ถูกที่ควร ทั้งการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด ย่อมทำให้คุณฟื้นฟูจิตใจได้อย่างยั่งยืน เพื่อจะได้กลับมามีพลังในการใช้ชีวิตได้ต่อไปอีกยาวๆ
โดยโรคทางสุขภาพจิตที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในสังคมตอนนี้ ก็คงไม่พ้น “โรคซึมเศร้า” อันเป็นอาการที่เกิดจากสารในสมองหลั่งผิดปกติจากหลายสาเหตุปัจจัย ที่สามารถรักษาด้วยการบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยจะให้ผู้ป่วยพูดคุยกับจิตแพทย์ถึงสาเหตุและอาการในเบื้องต้นก่อน เพื่อประเมินระดับความรุนแรงและหาวิธีแก้ไขปัญหา จากนั้น จิตแพทย์จะวางแผนการรักษา ทั้งด้วยการใช้ยาและรักษาควบคู่ไปกับการบำบัดทางจิตใจ
โดยไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนก็ล้วนมีค่าใช้จ่าย โดยค่าปรึกษาจิตแพทย์โรงพยาบาลรัฐ จะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท หากเข้าพบจิตแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน จะมีราคาประมาณ 1,000-3,000 บาท หากต้องเข้าพบจิตแพทย์เฉลี่ยเดือนละครั้ง หรืออาทิตย์ละครั้ง สำหรับคนที่มีอาการหนัก ก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพง
แต่ข่าวดีก็คือ คุณสามารถเบิกค่ารักษาด้านจิตเวชหรือโรคซึมเศร้าได้ หากคุณมีบัตรทอง 30 บาท, ประกันสังคม, ประกันข้าราชการ หรือประกันสุขภาพบางแผนที่คุ้มครองค่ารักษาส่วนนี้ด้วย ซึ่งมีให้เลือกอยู่จริงครับ!
หากคุณมีสวัสดิการเหล่านี้กับตัว หรือกำลังคิดจะซื้อประกันที่คุ้มครองการรักษาด้านจิตเวชหรือโรคซึมเศร้า งั้นมาเช็คกันว่าแต่ละแผน สามารถเบิกค่ารักษาด้านจิตเวชได้กี่บาท ด้วยข้อมูลที่พี่แมนรวบรวมมาให้ด้านล่างนี้ครับ
บัตรทอง/บัตร 30 บาท/บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสวัสดิการข้าราชการ
- โรงพยาบาลรัฐ เบิกได้เต็มตามที่จ่ายจริง
- โรงพยาบาลเอกชน เบิกได้ 50% แต่ไม่เกิน 8,000 บาท *เฉพาะกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน
ประกันสังคม
- โรงพยาบาลรัฐ
- การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
- โรงพยาบาลเอกชน
- การรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท
- การรักษาใน ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
กรณีต้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาท
ประกันสุขภาพ (เฉพาะแผนที่คุ้มครองโรคทางจิตเวช)
เมืองไทยประกันชีวิต
- Elite Health แผน 3
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) 75,000 บาทต่อโรค และตลอดชีวิตไม่เกิน 3 แสนบาท
- Elite Health แผน 4
- การรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) 100,000 บาทต่อโรค และตลอดชีวิตไม่เกิน 4 แสนบาท
กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต
- iHealthy แผน Diamond
- การรักษาแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD+OPD) 5,000 บาทต่อปี
- iHealthy แผน Platinum
- การรักษาแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (IPD+OPD) 200,000 บาทต่อปี
* วงเงินคุ้มครองเฉพาะในส่วนที่คุ้มครองโรคทางจิตเวท ทุกประเภท เช็คค่าเบี้ยที่นี่
รู้แบบนี้แล้วก็น่าจะอุ่นใจได้บ้าง ว่ายังมีสวัสดิการและประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองค่ารักษาทางจิตเวชให้คุณได้อยู่ ดังนั้น ถ้าหากคุณสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นซึมเศร้า หรือมีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า ทั้งความรู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง ไร้ค่า หมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ ไปจนถึงการคิดอยากจบชีวิตตัวเอง หากมีอาการเหล่านี้นานกว่า 14 วัน พี่แมนแนะนำว่าไปหาหมอเถอะครับ อย่าปล่อยให้อาการลุกลามจนสายเกินแก้ ส่วนเรื่องค่ารักษา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประกันคอยคุ้มครองคุณได้เลยครับ
สุดท้ายแล้ว พี่แมนก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ยอมรับกับทุกสถานการณ์ที่อาจผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างเข้าใจและผ่านพ้นมันไปได้ด้วยดี และที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อที่เราจะได้มีสุขภาพที่ดีอยู่กับเราไปนานๆ ด้วยนะครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression
https://gettgo.com/blog/health-psychiatric
https://flowaccount.com