remove_red_eye806 Views

สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐาน เหตุผลที่คุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อเรี่ยไรค่ารักษาพยาบาล!

โพสต์วันที่ 27/05/2020
หลายคนคงได้อ่านข่าวแม่ปุ๊กที่ได้ออกมาไลฟ์ Facebook เพื่อขายของ แสดงน่าความสงสาร และให้คนโอนเงินบริจาคเพื่อเป็นค่ารักษาให้ลูกๆ ที่ป่วยอยู่ วันนี้เราขอข้ามกระแสดราม่า ความใจร้ายของแม่ปุ๊ก แล้วมาตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมแม่ปุ๊กต้องเรี่ยรายค่ารักษาให้ลูก สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานของน้องๆ ไม่พอเหรอ? แล้วมาให้ความรู้เรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานกันดีกว่า เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้สิทธิ์และไม่เป็นเหยื่อของการเรี่ยรายเงินกัน
 
ครั้งแรกที่แม่ปุ๊กออกมาเรียกร้องความสงสาร สมัยน้องอมยิ้ม ตอนนั้นน้องอมยิ้มอายุ 3 ขวบ และครั้งนี้ แม่ปุ๊กก็ออกมาเรียกร้องความสนใจตอนนั้นน้องอิ่มบุญก็อายุ 3 ขวบเช่นกัน เราเลยมาดูกันว่า เด็กอายุ 3 ขวบ ประเทศไทยเรามี  สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานอะไรบ้าง


สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานในบ้านเราแบ่งหลักๆ เป็น 3 ส่วนคือ
1.  สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ :  คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว
2.  สิทธิประกันสังคม : คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนตามสิทธิ์
3.  สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท : คุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือ สิทธิประกันสังคม


สิทธิเบื้องต้นที่น้องอมยิ้มและน้องอิ่มบุญสามารถใช้เพื่อรักษาโรคร้ายได้
  • การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง / โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งไตวายเรื้อรัง เอดส์ ผ่าตัดตาต้อกระจก ผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ และยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
ในส่วนของตัวเลขค่าใช้จ่ายของน้องยิ้มทั้งและน้องอิ่มบุญแต่ละสำนักข่าวรายงานไม่ตรงกันนัก แต่สรุปตรงกันว่าค่าใช้จ่ายรวมของแต่ละคนอยู่ที่หลักล้าน แต่ได้ใช้สิทธิการรักษา 30 บาท ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. , กองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยเด็ก และ กองทุนสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และเหลือส่วนต่างในเคสของน้องอิ่มบุญแค่หลักหมื่นเท่านั้น 

พี่เรนนี่มองว่าไม่มีความจำเป็นต้องมาเรี่ยรายเงินบริจาคเพื่อรักษาโรคร้ายของน้องๆ เพราะว่า  สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานของน้องๆ ก็สามารถครอบคลุมได้เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว และเงินเรี่ยรายที่ได้ก็มากเกินกว่าค่าใช้จ่ายไปมากเกินความสมควร

ดังนั้นถ้าพวกเราคนไทยทุกคนทราบถึงความคลุมครองของ สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานกัน เราอาจจะไม่พลาดโอนเงินให้มิจฉาชีพก็ได้ 


เราเห็นอะไรเพิ่มจากเหตุการณ์นี้บ้าง?
ถ้าเราตกที่นั่งลำบาก อยู่ในสถานการณ์คับขันไม่มีเงินใช้จริงๆ แล้วลูกเรา หรือคนที่ดูแลเราป่วย จะมีเครื่องมืออะไรที่ช่วยเราได้บ้าง? ซึ่งวันนี้พี่เรนนี่ได้แนะนำให้รู้จักกับ สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐาน ต่างๆแล้ว เราน่าจะรู้แล้วแหละว่ามีตัวเลือกในการรักษายังไงบ้าง 

นอกจากนั้นยังมีอีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือประกันที่เราเลือกซื้อเพิ่มขึ้นมาจากสิทธิพื้นฐานด้วยนะ พี่อยากให้ทุกคนศึกษาสิทธิ์ประกันต่างๆ ของเราไว้ ไม่ตกเป็นเหยื่อของการเรี่ยรายเงิน และรอดปลอดภัยจากโรคร้ายแบบกระเป๋าไม่ฉีกนะจ๊ะ


แถมๆ
ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าเรามีสิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานอะไรบ้าง พี่เรนนี่เลยขอมาแนะนำช่องทางตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลตาม สิทธิการรักษาพยาบาลพื้นฐานกันดีกว่า

ช่องทางการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

  1. ติดต่อด้วยตนเองได้ที่สถานีอนามัย/โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้านหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำหรับผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อสำนักงานเขตของ กทม. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กทม.
  2. บริการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลด้วยระบบอัตโนมัติ
    • โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ3 บาท/ครั้ง)
    • ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทาง www.nhso.go.th
ใครอยากรู้เพิ่ม รู้ลึกรู้จริง ลองอ่านหนังสือคู่มือ 10 ความรู้สิทธิประกันสุขภาพจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติดูนะ กดดาวน์โหลดได้เลยตามลิงก์นี้ หนังสือคู่มือ 10 ความรู้สิทธิประกันสุขภาพจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ


Credits:
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่