remove_red_eye1.1K Views

“Social Dilemma” ภัยร้ายของความเครียด ที่ไม่ควรมองข้าม

โพสต์วันที่ 03/08/2022

หลังจากการเข้ามาของเทคโนโลยี Social Media ตั้งแต่ยุค 2010 ที่ผู้คนเริ่มเข้าถึงสื่อดิจิทัลต่าง ๆ มากขึ้น อย่างเช่น Facebook, Twitter และ Instagram 

ถ้าหากย้อนดูสถิติการใช้งานของแพลตฟอร์ม Social ต่าง ๆ ละก็ บอกเลยว่า Facebook ยังคงครองเจ้าตลาดอันดับ 1 ของโลก โดยมีจำนวนผู้ใช้งานทั้งสิ้น 2,912 ล้านคน (ข้อมูลจาก Hootsuite, APR 2022) และสัดส่วนการใช้ Internet ของคนทั่วโลกประมาณ 61.8% (ข้อมูลจาก WeAre Social, OCT 2021) เห็นได้เลยว่าเพียงไม่กี่ 10 ปี Social Media ก็แทบจะครองเมืองทั่วโลกเลยทีเดียว

จะหันไปทางไหน เดินออกไปข้างนอกก็เห็นคนก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือกันไปหมด พฤติกรรมเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า “การเสพติด Social” มีผู้คนที่เสพติดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

วันนี้พี่เรนนี่เลยอยากพูดถึง Social Dilemma หนังที่บอกว่าการใช้ Social เหล่านี้มีผลควบคุมจิตใจของผู้ใช้งานอย่างไรบ้าง ทำไมอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในปัจจุบันเพิ่มขึ้น การควบคุมของ AI หุ่นยนต์เบื้องหลังของ Social Media เหล่านี้ ทำให้คนเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นจริงหรือไม่

เริ่มแรกขอพาไปดูว่า อัตราการเกิดความเครียดของชาวสหรัฐฯ กันหน่อยว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากน้อยขนาดไหน


จากการรายงานของ Technology in Society ปี 2017 มีการคาดการณ์ว่า ตั้งแต่ปี 2017 - 2022 จะมีอัตราการเกิดความเครียดจากผลกระทบของสื่อดิจิทัลของชาวสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่า 333 ล้านคน


 

ทำไม Social Media ถึงส่งผลกระทบต่อความเครียดของผู้เล่นมากขึ้นกันนะ ?

ไม่ว่าเราจะทำอะไรผ่าน Social Media แน่นอนว่าระบบ AI ที่อยู่เบื้องหลังภายใต้แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ล้วนรู้ถึงความคิดและการกระทำของเรา อีกทั้งยังสามารถคาดการณ์การกระทำของผู้ใช้ในอนาคตได้ด้วย เคยรู้สึกมั๊ยเวลาเราเข้าแอป E-Commerce ไปชอปปิง แล้วพอออกมาเข้าแอปอื่น ก็มีโฆษณาตามหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา หรือบางทีเรากดโพสต์ใน Social Media เสพสื่อเฉพาะที่เราอยากอ่าน อยากดู หลังจากนั้นก็จะมีโพสต์ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาให้ได้อ่าน ได้ดูอีกเรื่อย ๆ
เท่านี้ก็รู้แล้วว่าการทำงานของเบื้องหลังแพลตฟอร์มเหล่านี้ สามารถรู้และอ่านใจเราได้ ซึ่งถ้าหากเราไม่รู้ตัว ก็อาจจะโดนแพลตฟอร์มเหล่านี้ควบคุมจิตใจไปซะแล้ว หากโดนบ่อย ๆ เข้าก็ยิ่งทำให้เราเสพติด อาการของคนที่เสพติดโซเชียลมีเดีย (Social Addiction) ทำให้เราใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลานานเกินไป จนกระทบกับการงาน การเรียน และขาดปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เป็นตัวก่อความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า โรคเครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้
โดย Social Dilemma ได้กล่าวถึงอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2000 ที่โซเชียลมีเดียเข้ามาครองเมืองมากขึ้น




ผลการวิจัยจาก Center for Disease Central and Prevention เผยถึงจำนวนวัยรุ่นผู้หญิงสหรัฐฯ ที่มีอาการซึมเศร้า นำไปสู่การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก โดยวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 70% และวัยรุ่นหญิงอายุ 10-14 ปี อัตราการฆ่าตัวเพิ่มขึ้นถึง 151% ตั้งแต่ปี 2001-2010 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตความเครียดจากการเสพติดสื่อ Social Media ทำให้คนเราเกิดอาการ FOMO (Fear Of Missing Out) มากขึ้น หรือที่เรียกกันว่าความกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่างไป ซึ่งความกลัวนีจะทำให้เรากลัวตกข่าว กระแส เทรนด์ต่าง ๆ นำไปสู่ความอยากได้ อยากมี และความไม่พอ เกิดการเปรียบเทียบกับความสุขของคนในโซเชียลพฤติกรรมเหล่านี้จึงนำไปสู่ความเครียด ถ้าหากไม่ได้รับการบำบัดจิตวิทยากับแพทย์ละก็ ยิ่งนำไปสู่โรค หรือ อาการทางจิตเวชได้ โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย

หากพูดถึงประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองผู้ป่วยได้ เราต้องคำนึงถึงอาการป่วยเรื้อรังมาก่อนว่าเคยเป็นมาก่อนทำประกันมั๊ย นอกจากนี้เรื่องอายุและเพศก็เกี่ยวข้องเช่นกันกับค่าเบี้ยประกัน




 

อย่างเช่นอัตราการเกิดโรคเครียดและวิตกกังวล กลุ่มอายุ 25-34 ปี เป็นช่วงอายุที่เกิดขึ้นมากที่สุด อีกทั้งเพศหญิงก็มีความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้มากกว่าเพศชายด้วย และโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่จะเป็นข้อยกเว้นในการเคลมประกัน ดังนั้นการทำประกันสุขภาพของแต่ละแพ็คเกจเราก็ต้องศึกษาข้อตกลงและเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ดีก่อนทำประกันด้วย

ประกันที่คุ้มครองโรคทางจิตเวช

: คุ้มครองทุกภาวะที่เกี่ยวข้องกับทางจิตเวช โรคอะไรก็ได้ตามคำสั่งแพทย์

Elite Health จากเมืองไทยประกันชีวิต
  • Elite Health แผน 3  : IPD 75,000 บาทต่อโรค และตลอดชีวิตไม่เกิน 3 แสนบาท

  • Elite Health แผน 4  : IPD 100,000 บาทต่อโรค และตลอดชีวิตไม่เกิน 4 แสนบาท

Precious Care จาก FWD
  • แซฟไฟร์: ค่ารักษาด้านจิตเวชสูงสุด 100,000 บาท

  • ไดมอนด์: ค่ารักษาด้านจิตเวชสูงสุด 200,000 บาท


สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะมีประกันคุ้มครองแค่ไหน แต่หากโรคภัยต่างๆ ไม่เกิดขึ้นกับตัวเรา น่าจะดีที่สุดเนอะ ยังไงพี่เรนนี่ก็ขอให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี แล้วมีความสุขกันนะคะ 

รัก
พี่เรนนี่ 

ที่มา : 
https://datareportal.com/social-media-users
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Social-Addiction-Affects-Mental-Health
https://influencermarketinghub.com/social-media-addiction-stats/



 
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#เครียด
#ความเครียด
#socialdilemma
#ภัยร้ายความเครียด
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Elite Health (มี OPD)

฿30,624

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.1 (0)
remove_red_eye9.4K Views
ค่าห้อง
12,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
40,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
2,500บาท/ครั้ง
MRI-เคมีบำบัด-ล้างไต (แบบผู้ป่วยนอก)
จ่ายตามจริง
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
จ่ายตามจริง
เมืองไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Elite Health

฿22,092

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.7 (0)
remove_red_eye6.8K Views
ค่าห้อง
10,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
20,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
MRI-เคมีบำบัด-ล้างไต (แบบผู้ป่วยนอก)
จ่ายตามจริง
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
จ่ายตามจริง
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่