remove_red_eye5K Views
ทำอย่างไรเมื่อไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน
โพสต์วันที่ 19/04/2020
ด้วยภาวะโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำเอาเศรษฐกิจชะลอตัว ร้านค้าต่างๆในหลายๆ industry ก็หยุดชะงัก รายได้ลดหาย หรือไม่มีรายได้เลย พี่เรนนี่ก็มานั่งคิดนะคะว่า ชาวเราที่โดนผลกระทบโควิด-19 ที่มีหนี้ต้องจ่าย มีบ้านต้องผ่อน แล้วยังมีค่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพอีก ณ จุดนี้ เรามีทางเลือกอะไรบ้าง
เพราะหลายคนก็เข้าใจว่า ถ้าขาดส่งเบี้ยประกัน ทั้งหมดที่เคยจ่ายๆไปให้ประกันก็จะสูญเปล่าใช่มั้ยล่ะ พี่เรนนี่เคยมีคนมาปรึกษาเรื่องนี้หลายคนและบางทีก็เห็นกระทู้ประเด็นนี้อยู่บ้าง พี่เรนนี่ก็จะแนะนำไปว่า จริงๆแล้วถ้าหากใครยังไม่มีเงินจ่ายเบี้ยตอนนี้ มันก็มีทางออกแบบที่ไม่ต้องยกเลิกกรมธรรม์อยู่นะ มาเดี๋ยวพี่เรนนี่จะชี้ทางสว่างให้ เรื่องนี้ถ้าคนรู้ทริก ก็จะรอด ใครไม่รู้ทริก ก็เสียเปรียบมากๆ
แต่ว่าทริคต่อไปนี้ที่พี่เรนนี่จะแนะนำใช้ได้กับประกันเฉพาะแบบนะ ได้แก่ ประกันออมทรัพย์, ประกันชีวิต และประกันบำนาญเท่านั้นน้า ถ้าเป็นพวกประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรงจะไม่เกี่ยวจ้า
งั้นถ้าลองมาดูว่าเรามีทางออกหรือตัวเลือกอะไรบ้าง หากเราเข้าตาจนไม่มีเงินจ่ายเบี้ยแล้ว บริษัทประกันชีวิตทุกเจ้า จะมี 3 ทางเลือกให้เราค่ะ (แต่เค้าอาจจะไม่บอกโต้งๆกัน) ดังนี้
พอรู้หลักคร่าวๆแล้วว่ามีวิธีไหนที่พอทำได้บ้างหากไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องวิธีคำนวณกันดีกว่า ว่าเงินก้อนที่จะได้คืนเนี่ย จะได้เท่าไหร่ แล้ววิธีไหนคุ้มค่าที่สุด
อย่าเพิ่งตกใจนะจ๊ะ ตัวเลขอาจจะดูเยอะไปหมด มาเดี๋ยวพี่เรนนี่จะไล่อธิบายให้ฟังทีละตัว
ในส่วนแรก จะบอกว่ากรมธรรม์ของน้องมีทุนประกันเท่าไหร่ อย่างในนี้ทุนประกันอยู่ที่ 650,000 บาท มีระยะเวลาคุ้มครองที่ 45 ปี จ่ายเบี้ยปีละ 30,205.50 บาท ส่วนเจ้า multiplier คือตัวคูณที่ทำให้น้องสามารถคำนวณมูลค่าเงินสดได้ง่าย ในนี้กำหนดไว้ที่ 650 ต้องใช้ยังไงเดี๋ยวไปดูกัน
อย่างในตารางด้านบน หากน้องเริ่มทำประกันตอนอายุ 31 ฉะนั้นปีกรมธรรม์จะเท่ากับปีที่ 1 หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ในปีแรกนี้ จะเห็นได้ว่าในช่อง “เวนคืนกรมธรรม์” ไม่ได้ใส่เลขอะไรไว้เลย นั่นหมายความว่า น้องจะไม่ได้เงินคืนใดๆทั้งสิ้น กรมธรรม์จะเริ่มใส่มูลค่าเงินสดให้ตั้งแต่กรมธรรม์ปีที่ 2 เป็นต้นไปตามตัวอย่าง
สมมุติในปีที่ 2 น้องคิดอยากยกเลิกกรมธรรม์ จำนวนเงินก้อนที่น้องจะได้คืนก็จะเท่ากับตัวเลขในตารางช่อง “เวนคืนกรมธรรม์” คูณด้วย multiplier 650 อย่างในตัวอย่างจะเป็นเท่ากับ 18 x 650 = 11,700 บาทนั่นเอง
หรือถ้าในปีที่ 2 น้องคิดอยากจะลดความคุ้มครอง ก็ให้ดูตัวเลขที่ช่อง “ใช้เงินสำเร็จ” แล้วคูณเลขด้วย multiplier เหมือนเดิม จะได้เงินก้อนคืนเป็น 34 x 650 = 22,100 บาท เริ่มดูเยอะกว่ายกเลิกกรมธรรม์ไปดื้อๆใช่มั้ยล่ะ
และในวิธีท้ายสุด ถ้าน้องอยากจะปรับระยะเวลาคุ้มครอง ก็ให้ดูที่ช่อง “ขยายเวลา” (แต่ความเป็นจริงคือระยะเวลาคุ้มครองลดลงแหละ) ถ้าน้องทำวิธีนี้ในกรมธรรม์ปีที่ 2 ความคุ้มครองจาก 45 ปีที่น้องจะได้ จะถูกลดเหลือจากวันที่ขอปรับเวลาไปอีก 9 ปี กับอีก 119 วัน โดยจากในตารางกำหนดว่าหากทำวิธีี้ก็จะไม่ได้เงินก้อนคืนแต่อย่างใด
คือได้เงินก้อนคืนบ้างมันก็ดีใช่มั้ยล่ะ แต่จะดีกว่าถ้าน้องสามารถคำนวณลึกลงไปได้อีก ว่าเงินก้อนที่ได้มานั้นมันคุ้มกับที่เราจ่ายเบี้ยไปมั้ย จะได้เลือกวิธีที่คุ้มที่สุดได้ถูกยังไงล่ะ
งั้นเรามาดูตาราง excel การคำนวณความคุ้มอีกอันเพื่อวัดความคุ้มของแต่ละวิธีกัน อันนี้พี่เรนนี่ทำเองนะจ๊ะ แบบเอาตัวเลขมาคูณ multiplier ให้เสร็จสรรพ จะได้เห็นภาพง่ายๆ
อย่างตัวอย่างที่เราคุยกันว่าถ้าน้องยกเลิกกรมธรรม์ในปีที่ 2 จะได้เงินก้อน 11,700 บาท ถ้าถามว่าคุ้มมั้ย ก็ให้เอามาหักลบกับเบี้ยสะสมที่จ่ายไปแล้ว ซึ่งดูได้ในช่อง accum. Premium (Accumulated Premium = เบี้ยประกันสะสม) จะเท่ากับ 60,411 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณเลขออกมาแล้ว ในช่องตารางความคุ้มยังติดลบอยู่ที่ -48,711 บาท ก็ดูจะไม่คุ้มเท่าไหร่นัก
ให้ทำการหักลบเบี้ยสะสมแบบนี้กับมูลค่าเงินสดทุกวิธีในของแต่ละปี ก็จะเริ่มเห็นภาพว่าแบบไหนถึงจะคุ้ม ซึ่งบอกเลยว่าถ้ามีเหตุให้หยุดจ่ายตั้งแต่ปีแรกๆ จะให้คุ้มก็คงยาก แต่ยิ่งทำประกันตัวนั้นๆนานเท่าไหร่ โอกาสที่พอหยุดจ่ายเบี้ยในวิธีต่างๆแล้วยังคุ้มค่า ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
อย่างในตัวอย่าง ถ้าเราหยุดจ่ายตั้งแต่ปีที่สองคือไม่มีความคุ้มอยู่ในนั้นเลย แต่ถ้าสังเกตดีๆ ถ้าเราเลือกแบบลดความคุ้มครอง (หรือใช้เงินสำเร็จ) หรือลดระยะเวลาคุ้มครอง ก็จะเริ่มคุ้มค่าเบี้ยตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 6 แต่ถ้าเลือกวิธี เวนคืนกรมธรรม์ กว่าจะคุ้มเบี้ยคือปาไปปีที่ 16 นู้นเลยจ้า
ดังนั้น พอดูแล้วถ้าใครมองว่าไม่อยากขาดทุนจากการยกเลิกประกัน พี่เรนนี่ก็แนะนำว่าอย่าไปเลือกวิธีเวนคืนกรมธรรม์ในช่วงปีต้นๆเลยจ้า ดูไม่คุ้มสุด พี่เรนนี่เห็นหลายๆคนเลือกวิธีนี้ แล้วมาเกรี้ยวกราดในโซเชียลเพราะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีอื่นๆมาก่อน อ๊ะ ไม่รู้เราไม่ว่ากัน
Photo credit: https://www.freepik.com/free-photos-vectors/business
เพราะหลายคนก็เข้าใจว่า ถ้าขาดส่งเบี้ยประกัน ทั้งหมดที่เคยจ่ายๆไปให้ประกันก็จะสูญเปล่าใช่มั้ยล่ะ พี่เรนนี่เคยมีคนมาปรึกษาเรื่องนี้หลายคนและบางทีก็เห็นกระทู้ประเด็นนี้อยู่บ้าง พี่เรนนี่ก็จะแนะนำไปว่า จริงๆแล้วถ้าหากใครยังไม่มีเงินจ่ายเบี้ยตอนนี้ มันก็มีทางออกแบบที่ไม่ต้องยกเลิกกรมธรรม์อยู่นะ มาเดี๋ยวพี่เรนนี่จะชี้ทางสว่างให้ เรื่องนี้ถ้าคนรู้ทริก ก็จะรอด ใครไม่รู้ทริก ก็เสียเปรียบมากๆ
แต่ว่าทริคต่อไปนี้ที่พี่เรนนี่จะแนะนำใช้ได้กับประกันเฉพาะแบบนะ ได้แก่ ประกันออมทรัพย์, ประกันชีวิต และประกันบำนาญเท่านั้นน้า ถ้าเป็นพวกประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุหรือโรคร้ายแรงจะไม่เกี่ยวจ้า
งั้นถ้าลองมาดูว่าเรามีทางออกหรือตัวเลือกอะไรบ้าง หากเราเข้าตาจนไม่มีเงินจ่ายเบี้ยแล้ว บริษัทประกันชีวิตทุกเจ้า จะมี 3 ทางเลือกให้เราค่ะ (แต่เค้าอาจจะไม่บอกโต้งๆกัน) ดังนี้
1. การเวนคืนกรมธรรม์
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การเวนคืนมูลค่าเงินสดกรมธรรม์” ซึ่งจะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ย หยุดความคุ้มครอง และปิดกรมธรรม์ไปเลย แล้วบริษัทจะคืนเงินให้ก้อนหนึ่งซึ่งอาจมากหรือน้อยกว่าเบี้ยที่เราจ่ายไป โดยเงินก้อนนี้จะแปรผันตามจำนวนปีที่จ่ายเบี้ยไปแล้วก่อนหยุดจ่ายเบี้ยนั่นเองค่ะ
2. การลดความคุ้มครอง
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การใช้มูลค่าเงินสำเร็จ” ซึ่งจะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ยเช่นกัน แต่น้องจะยังมีความคุ้มครองไปจนครบสัญญาเหมือนเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น จะลดความคุ้มครอง (ทุนประกัน) ลงจากเดิมมาเท่ากับมูลค่าเงินสำเร็จที่แจ้งไว้ในตารางแนบท้ายกรมธรรม์ และมีเงินก้อนเท่ากับทุนประกันใหม่คืนเราตอนครบกำหนดสัญญา ซึ่งตารางมูลค่าเงินสำเร็จนี้ เดี๋ยวพี่เรนนี่จะอธิบายให้ฟังในส่วนถัดไป
3. การปรับระยะเวลาคุ้มครอง
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การขยายเวลาคุ้มครอง” จะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ยแต่ยังมีความคุ้มครองชีวิตเท่าเดิม (ทุนประกันเท่าเดิม) แต่ปรับ “ระยะเวลาคุ้มครอง” เพื่อให้เบี้ยที่จ่ายมาแล้วสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ ซึ่งถ้าหยุดจ่ายตั้งแต่ปีต้นๆ เบี้ยประกันก็จะครอบคลุมระยะเวลาคุ้มครองไม่กี่ปี แต่บางครั้งเมื่อเบี้ยที่จ่ายมาแล้วหลายปีจนมีมูลค่ามาก วิธีนี้ก็จะคุ้มครองที่ระยะเวลาเท่าเดิมได้ แถมมีเงินจ่ายคืนทันทีให้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น จะงดการจ่ายผลประโยชน์อื่นๆนะ (เช่นเบี้ยคืนระหว่างปี เป็นต้น)
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การเวนคืนมูลค่าเงินสดกรมธรรม์” ซึ่งจะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ย หยุดความคุ้มครอง และปิดกรมธรรม์ไปเลย แล้วบริษัทจะคืนเงินให้ก้อนหนึ่งซึ่งอาจมากหรือน้อยกว่าเบี้ยที่เราจ่ายไป โดยเงินก้อนนี้จะแปรผันตามจำนวนปีที่จ่ายเบี้ยไปแล้วก่อนหยุดจ่ายเบี้ยนั่นเองค่ะ
2. การลดความคุ้มครอง
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การใช้มูลค่าเงินสำเร็จ” ซึ่งจะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ยเช่นกัน แต่น้องจะยังมีความคุ้มครองไปจนครบสัญญาเหมือนเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น จะลดความคุ้มครอง (ทุนประกัน) ลงจากเดิมมาเท่ากับมูลค่าเงินสำเร็จที่แจ้งไว้ในตารางแนบท้ายกรมธรรม์ และมีเงินก้อนเท่ากับทุนประกันใหม่คืนเราตอนครบกำหนดสัญญา ซึ่งตารางมูลค่าเงินสำเร็จนี้ เดี๋ยวพี่เรนนี่จะอธิบายให้ฟังในส่วนถัดไป
3. การปรับระยะเวลาคุ้มครอง
หรือที่บริษัทประกันจะเรียกว่า “สิทธิ์การขยายเวลาคุ้มครอง” จะหมายถึงการหยุดจ่ายเบี้ยแต่ยังมีความคุ้มครองชีวิตเท่าเดิม (ทุนประกันเท่าเดิม) แต่ปรับ “ระยะเวลาคุ้มครอง” เพื่อให้เบี้ยที่จ่ายมาแล้วสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ ซึ่งถ้าหยุดจ่ายตั้งแต่ปีต้นๆ เบี้ยประกันก็จะครอบคลุมระยะเวลาคุ้มครองไม่กี่ปี แต่บางครั้งเมื่อเบี้ยที่จ่ายมาแล้วหลายปีจนมีมูลค่ามาก วิธีนี้ก็จะคุ้มครองที่ระยะเวลาเท่าเดิมได้ แถมมีเงินจ่ายคืนทันทีให้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น จะงดการจ่ายผลประโยชน์อื่นๆนะ (เช่นเบี้ยคืนระหว่างปี เป็นต้น)
พอรู้หลักคร่าวๆแล้วว่ามีวิธีไหนที่พอทำได้บ้างหากไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องวิธีคำนวณกันดีกว่า ว่าเงินก้อนที่จะได้คืนเนี่ย จะได้เท่าไหร่ แล้ววิธีไหนคุ้มค่าที่สุด
วิธีคำนวณความคุ้มค่า
มาถึงตรงนี้ ให้น้องคำนวณตัวเลขที่อยากรู้ได้จาก “ตารางมูลค่าเงินสด” ซึ่งสามารถหาดูได้ท้ายกรมธรรม์ ซึ่งตารางตรงนี้มักเป็นตารางที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไปเลย แต่ตอนนี้เราจะได้จับมันมาใช้จริงละ หน้าตาจะเป็นแบบนี้อย่าเพิ่งตกใจนะจ๊ะ ตัวเลขอาจจะดูเยอะไปหมด มาเดี๋ยวพี่เรนนี่จะไล่อธิบายให้ฟังทีละตัว
ในส่วนแรก จะบอกว่ากรมธรรม์ของน้องมีทุนประกันเท่าไหร่ อย่างในนี้ทุนประกันอยู่ที่ 650,000 บาท มีระยะเวลาคุ้มครองที่ 45 ปี จ่ายเบี้ยปีละ 30,205.50 บาท ส่วนเจ้า multiplier คือตัวคูณที่ทำให้น้องสามารถคำนวณมูลค่าเงินสดได้ง่าย ในนี้กำหนดไว้ที่ 650 ต้องใช้ยังไงเดี๋ยวไปดูกัน
อย่างในตารางด้านบน หากน้องเริ่มทำประกันตอนอายุ 31 ฉะนั้นปีกรมธรรม์จะเท่ากับปีที่ 1 หากมีการเวนคืนกรมธรรม์ในปีแรกนี้ จะเห็นได้ว่าในช่อง “เวนคืนกรมธรรม์” ไม่ได้ใส่เลขอะไรไว้เลย นั่นหมายความว่า น้องจะไม่ได้เงินคืนใดๆทั้งสิ้น กรมธรรม์จะเริ่มใส่มูลค่าเงินสดให้ตั้งแต่กรมธรรม์ปีที่ 2 เป็นต้นไปตามตัวอย่าง
สมมุติในปีที่ 2 น้องคิดอยากยกเลิกกรมธรรม์ จำนวนเงินก้อนที่น้องจะได้คืนก็จะเท่ากับตัวเลขในตารางช่อง “เวนคืนกรมธรรม์” คูณด้วย multiplier 650 อย่างในตัวอย่างจะเป็นเท่ากับ 18 x 650 = 11,700 บาทนั่นเอง
หรือถ้าในปีที่ 2 น้องคิดอยากจะลดความคุ้มครอง ก็ให้ดูตัวเลขที่ช่อง “ใช้เงินสำเร็จ” แล้วคูณเลขด้วย multiplier เหมือนเดิม จะได้เงินก้อนคืนเป็น 34 x 650 = 22,100 บาท เริ่มดูเยอะกว่ายกเลิกกรมธรรม์ไปดื้อๆใช่มั้ยล่ะ
และในวิธีท้ายสุด ถ้าน้องอยากจะปรับระยะเวลาคุ้มครอง ก็ให้ดูที่ช่อง “ขยายเวลา” (แต่ความเป็นจริงคือระยะเวลาคุ้มครองลดลงแหละ) ถ้าน้องทำวิธีนี้ในกรมธรรม์ปีที่ 2 ความคุ้มครองจาก 45 ปีที่น้องจะได้ จะถูกลดเหลือจากวันที่ขอปรับเวลาไปอีก 9 ปี กับอีก 119 วัน โดยจากในตารางกำหนดว่าหากทำวิธีี้ก็จะไม่ได้เงินก้อนคืนแต่อย่างใด
คือได้เงินก้อนคืนบ้างมันก็ดีใช่มั้ยล่ะ แต่จะดีกว่าถ้าน้องสามารถคำนวณลึกลงไปได้อีก ว่าเงินก้อนที่ได้มานั้นมันคุ้มกับที่เราจ่ายเบี้ยไปมั้ย จะได้เลือกวิธีที่คุ้มที่สุดได้ถูกยังไงล่ะ
งั้นเรามาดูตาราง excel การคำนวณความคุ้มอีกอันเพื่อวัดความคุ้มของแต่ละวิธีกัน อันนี้พี่เรนนี่ทำเองนะจ๊ะ แบบเอาตัวเลขมาคูณ multiplier ให้เสร็จสรรพ จะได้เห็นภาพง่ายๆ
อย่างตัวอย่างที่เราคุยกันว่าถ้าน้องยกเลิกกรมธรรม์ในปีที่ 2 จะได้เงินก้อน 11,700 บาท ถ้าถามว่าคุ้มมั้ย ก็ให้เอามาหักลบกับเบี้ยสะสมที่จ่ายไปแล้ว ซึ่งดูได้ในช่อง accum. Premium (Accumulated Premium = เบี้ยประกันสะสม) จะเท่ากับ 60,411 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณเลขออกมาแล้ว ในช่องตารางความคุ้มยังติดลบอยู่ที่ -48,711 บาท ก็ดูจะไม่คุ้มเท่าไหร่นัก
ให้ทำการหักลบเบี้ยสะสมแบบนี้กับมูลค่าเงินสดทุกวิธีในของแต่ละปี ก็จะเริ่มเห็นภาพว่าแบบไหนถึงจะคุ้ม ซึ่งบอกเลยว่าถ้ามีเหตุให้หยุดจ่ายตั้งแต่ปีแรกๆ จะให้คุ้มก็คงยาก แต่ยิ่งทำประกันตัวนั้นๆนานเท่าไหร่ โอกาสที่พอหยุดจ่ายเบี้ยในวิธีต่างๆแล้วยังคุ้มค่า ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
อย่างในตัวอย่าง ถ้าเราหยุดจ่ายตั้งแต่ปีที่สองคือไม่มีความคุ้มอยู่ในนั้นเลย แต่ถ้าสังเกตดีๆ ถ้าเราเลือกแบบลดความคุ้มครอง (หรือใช้เงินสำเร็จ) หรือลดระยะเวลาคุ้มครอง ก็จะเริ่มคุ้มค่าเบี้ยตั้งแต่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 6 แต่ถ้าเลือกวิธี เวนคืนกรมธรรม์ กว่าจะคุ้มเบี้ยคือปาไปปีที่ 16 นู้นเลยจ้า
ดังนั้น พอดูแล้วถ้าใครมองว่าไม่อยากขาดทุนจากการยกเลิกประกัน พี่เรนนี่ก็แนะนำว่าอย่าไปเลือกวิธีเวนคืนกรมธรรม์ในช่วงปีต้นๆเลยจ้า ดูไม่คุ้มสุด พี่เรนนี่เห็นหลายๆคนเลือกวิธีนี้ แล้วมาเกรี้ยวกราดในโซเชียลเพราะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับวิธีอื่นๆมาก่อน อ๊ะ ไม่รู้เราไม่ว่ากัน
Photo credit: https://www.freepik.com/free-photos-vectors/business