วางแผนให้ดี ! เมื่อราคาเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี
วางแผนให้ดี ! เมื่อราคาเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปี
ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพอยู่มาหลายปี ก็คงเอะใจว่าเข้ามาดูทีไรค่าเบี้ยประกันก็มีการปรับขึ้นทุกปี หากน้องคนไหนที่เริ่มทำประกันสุขภาพมาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจจะช่วยลดค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกปี สงสัยมั๊ยว่า ทำไมค่าเบี้ยประกันสุขภาพถึงเพิ่มขึ้นทุกปี ? แล้วเราจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดี ? เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นแบบไม่คาดคิด…
ทำไมค่าเบี้ยประกันสุขภาพถึงเพิ่มขึ้นทุกปี ?
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพมักเพิ่มขึ้นทุกปี ขึ้นโดยที่ใครหลายคนอาจไม่ทราบว่าสาเหตุเหล่านี้เกิดจากอะไรกันแน่ ? วันนี้พี่เรนนี่ขอพาไปส่อง 6 สาเหตุที่เป็นเหตุผลให้ค่าเบี้ยประกันแพงขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้…
-
อายุ ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นแนวโน้มการเข้ารักษาในโรงพยาบาลก็เพิ่มขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นค่าเบี้ยประกันสุขภาพจึงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- เทคโนโลยีรักษา เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการรักษาทางการแพทย์ที่มีการพัฒนา มีการรักษารูปแบบใหม่ มีทางเลือกการรักษาที่มากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามเช่นกัน บริษัทประกันจึงเพิ่มค่าเบี้ยประกันสุขภาพตามระดับต้นทุนของเทคโนโลยีในการรักษา
- ความเสี่ยงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจน COVID-19
- บริษัทประกันอาจมีการปรับเปลี่ยนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น สำหรับโรคที่อุบัติขึ้นใหม่ในยุคปัจจุบัน
- อัตราเงินเฟ้อ มูลค่าเงินลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป การเกิดอัตราเงินเฟ้อในทุกปี ทำให้มูลค่าเงินลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นบริษัทประกันอาจเพิ่มค่าเบี้ยประกันสุขภาพเพื่อรักษาความคุ้มครองให้เหมาะสมตามสภาวะเงินเฟ้อ
6. การแข่งขันในตลาดประกันสุขภาพ การแข่งขันที่ดุเดือนในตลาดสินค้าประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หลายบริษัทประกันผุดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้ค่าเบี้ยประกันอาจสูงขึ้นตามราคาต้นทุนของประกันสุขภาพฉบับใหม่ที่อัปเดตตามเทรนด์สุขภาพของโลก
ส่อง 5 ขั้นวางแผนรับมือค่าเบี้ยประกันที่เฟ้อขึ้นในทุกปี
การวางแผนรับมือค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในทุกปี เป็นสิ่งสำคัญที่น้อง ๆ หลายคนต้องให้ความสำคัญ ตามแต่ละช่วงอายุที่ต้องวางแผนรับมือตลอดทุกช่วงเวลาของชีวิต- ทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของตัวเอง เริ่มต้นด้วยการทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายประจำที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าบ้าน ค่าคอนโด ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และอื่น ๆ
- กำหนดเป้าหมายการเงิน ตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจการเก็บเงิน เพื่อใช้จ่ายสำรองยามฉุกเฉินอยู่เสมอ
- ออกแบบแผนการเงิน หากรู้ว่าค่าเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้นในอนาคต การเก็บเงินอย่างเดียวจากงานประจำคงไม่เพียงพอ แน่นอนว่าน้องหลายคนอาจลองหางานเสริมทำรองรับงานหลักไว้ด้วย
- สร้างฟอร์มเงินสำรอง ตั้งเงินสำรองสำหรับค่าเบี้ยประกันที่อาจเพิ่มขึ้น
- ติดตามและปรับแผน ปรับแผนการเงินของตัวเองในระยะสั้นและระยะยาวอยู่เสมอ ให้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ใหม่ ๆ
Source:
https://www.healthsystemtracker.org/brief/how-does-medical-inflation-compare-to-inflation-in-the-rest-of-the-economy/#Cumulative%20percent%20change%20in%20Consumer%20Price%20Index%20for%20All%20Urban%20Consumers%20(CPI-U)%20for%20medical%20care%20and%20for%20all%20goods%20and%20services,%20January%202000%20-June%202023