remove_red_eye4.2K Views

ออฟฟิศซินโดรมมาเยือน รู้มั๊ย “กายภาพบำบัด” ก็เคลมประกันได้นะ

โพสต์วันที่ 30/09/2022

หนุ่มสาวออฟฟิศมาทางนี้ !

ใครมีอาการเหล่านี้กันอยู่บ้าง ปวดคอ! ปวดบ่า! ปวดไหล่! ปวดข้อมือ! ปวดหลัง!

อาการเหล่านี้เรียกกันว่า “Office Syndrome”

ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้มีความเป็นไปได้สูงมากที่มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนั่งทำงานที่ผิดท่าผิดทาง ยิ่งเราต้องนั่งทำงานจากบ้านในระยะเวลายาว ยิ่งทำให้มีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น เนื่องจากเราได้แต่นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมฯ ไม่ได้เดินออกไปไหนเท่าไหร่ ท่าทางการนั่งทำงานก็จะเหมือนเดิม อาการออฟฟิศซินโดรมจะสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นโรคเรื้อรังในที่สุด


ลักษณะงาน หรือ พฤติกรรม ของผู้ที่เคยเป็นออฟฟิศซินโดรม

ที่มา: ผลสำรวจ "HonestDocs" ชี้ คนไทย 99% มีสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม 29 มี.ค. 2021



ช่วงอายุกับพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่เสี่ยงต่อออฟฟิศซินโดรม


 
ที่มา: ผลสำรวจ "HonestDocs" ชี้ คนไทย 99% มีสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม 29 มี.ค. 2021

 

 

 

ดังนั้นเราควรระมัดระวังและรักษาอาการดังกล่าวตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเลย

วิธีบำบัดที่ดีที่สุด คือ การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะวิ่ง Fitness โยคะ การเล่นกีฬา ฯลฯ เป็นการช่วยขยับยืดกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่ถ้าหากหักโหมเกินไปก็ไม่ได้นะ เพราะอาจจะได้รับบาดเจ็บหนักกว่าเดิม ออกกำลังกายแต่พอดี วิธีบำบัดต่อมา คือ “กายภาพบำบัด” พี่เรนนี่พามาทำความรู้จักกันก่อนว่า กายภาพบำบัด คืออะไร รักษาอย่างไรบ้าง

กายภาพบำบัด หรือ Physical Therapy 

เป็นการรักษาสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยไม่ต้องพึ่งยาทาน ซึ่งเป็นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมถึงจิตใจด้วยนะ

กายภาพบำบัดจะแบ่งการรักษา เป็น 2 ระยะ
ระยะสั้น คือ การใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัด เช่น การใช้เครื่องไฟฟ้า ความร้อน-เย็นในการรักษา เป็นต้น แบบนี้ก็จะต้องไปรับการบำบัดด้วยเครื่องในโรงพยาบาล หรือ ตามคลินิกกายภาพบำบัดต่าง ๆ ซึ่งร่างกายส่วนที่มนุษย์ออฟฟิศซินโดรมได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อ และการทำกายภาพก็จะเน้นไปที่ประเภทกายภาพบำบัด “ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ”

ส่วนระยะยาว คือ การออกกำลังกาย หรือ การฝึกท่ากายภาพต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถทำได้ที่บ้านเอง และจะดีต่ออาการบาดเจ็บในระยะยาว


ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ทำอย่างไรบ้างให้อาการดีขึ้น ?


ที่มา: ผลสำรวจ "HonestDocs" ชี้ คนไทย 99% มีสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม 29 มี.ค. 2021


การทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ มีวิธีใดบ้าง ?


เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) 

เป็นเครื่องมือที่ให้กระแสไฟฟ้าความถี่สูง ส่งผ่านความร้อนได้ถึงชั้นกระดูก เหมาะสำหรับข้อซึ่งมีเนื้อเยื่อปกคลุมอยู่หนา เช่น ข้อสะโพก และข้อไหล่ เป็นต้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะทำการรักษาด้วย Ultrasound โดยใช้คลื่นแบบต่อเนื่องจะทำให้เกิดความรู้สึกอุ่น ใต้บริเวณที่ทำการรักษา โดยอุณหภูมิที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการดูดซับพลังงานของเนื้อเยื่อ โดยจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือการสะสมต่อเนื้อเยื่อที่ได้รับคลื่น Ultrasound

เครื่องดึงหลังและเครื่องดึงคอ (Pelvic and Cervical Traction)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดร้าวลงไปตามแขน หรือขา อาการชาร้าวลงไปตามแขนหรือขา ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ ด้วยการใช้เครื่องดึงคอหรือดึงหลัง ด้วยน้ำหนักในการดึงที่เหมาะสม เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท โดยใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20-25 นาที ต่อการรักษา 1 ครั้ง

แผ่นประคบร้อน (Hydrocculator Pack)

เพื่อบรรเทาอาการปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อที่อยู่ในชั้นตื้น ด้วยการใช้ความร้อนในการรักษา ที่อุณหภูมิไม่เกิน 67 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 20 นาที ต่อ 1 ครั้งในการรักษา

เครื่องลดปวดด้วยกระแสไฟฟ้า (TENS) 

เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นผ่านเส้นประสาทสัมผัสทางผิวหนัง เพื่อลดความเจ็บปวด อาการชา หรือความรู้สึกที่ผิดปกติไปจากเดิม ด้วยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความเข้มต่ำ ไปกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกปวดที่อยู่บริเวณผิวหนังชั้นตื้น โดยใช้เวลาในการรักษาประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง

เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (ES) 

เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกของผู้ป่วยในขณะที่ทำการกระตุ้นด้วยไฟฟ้านั้น ผู้ป่วยสามารถรู้สึกได้ถึงการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ได้รับการกระตุ้นเป็นพัก ๆ ตลอดระยะเวลาในการรักษา 20 นาทีต่อการกระตุ้น 1 จุด

การรักษาด้วยการแช่ขี้ผึ้ง (Parafin)

เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ด้วยการใช้ความร้อนจากขี้ผึ้งพาราฟินในการรักษา ที่อุณหภูมิ 52-54 องศาเซลเซียส ด้วยการจุ่มอวัยวะที่ต้องการรักษา เช่นข้อมือและนิ้วมือ ลงไปในภาชนะบรรจุพาราฟินแล้วยกขึ้นมาปล่อยให้แห้งและจุ่มซ้ำ 10 ครั้ง จากนั้นใช้ถุงพลาสติกห่อหุ้มในส่วนที่เป็นขี้ผึ้งแล้วทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 20 นาที ต่อ 1 ครั้งในการรักษา อุปกรณ์ข้างต้นส่วนใหญ่ก็จะใช้ในโรงพยาบาล หรือ คลีนิคกายภาพบำบัด แน่นอนอนว่าการใช้อุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ ยังให้ผลที่ดีขึ้นในการรักษาด้วยนะ ยิ่งเราไปกายภาพสม่ำเสมอ การฟื้นตัวะยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น

กายภาพบำบัดฟื้นฟูความสมดุของร่างกาย

  • บรรเทาอาการปวด ป้องกัน หรือ ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ
  • ป้องกันความพิการ หรือลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัด
  • ป้องกันการล้มหรือลื่น โดยทำให้ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้น
  • ช่วยให้ควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้มากขึ้น
  • ช่วยประคองอาการจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน
  • เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย


OPD ประกันสุขภาพเคลมกายภาพบำบัดได้หรือไม่ ?

หากน้อง ๆ คนไหนที่มีประกันสุขภาพแบบ OPD ก็สามารถเคลมประกันได้เลย ภายในวงเงินตามกรมธรรม์ที่ได้ทำเอาไว้ และสามารถเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลที่มีสัญญากับบริษัทประกันได้เลยจ้า นอกจากจะไปทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์แล้ว พี่เรนนี่ก็อยากแนะนำให้น้อง ๆ นำท่าจากการทำกายภาพบำบัดไปฝึกที่บ้านด้วยนะ เพราะการทำกายภาพบำบัดด้วยท่าที่ถูกต้องและสม่ำเสมอยิ่งทำให้อวัยวะส่วนนั้นมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและสามารถซัพพอร์ตกระดูกข้อต่อของเราได้ด้วยนะ


ขอบคุณที่มา : https://hd.co.th/office-syndrome-survey

 
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ประกันออฟฟิศซินโดรม
#ออฟฟิศซินโดรม
#officesyndrome
#กายภาพบำบัด
แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Opal

฿14,904

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
5.0 (0)
remove_red_eye1.8K Views
ค่าห้อง
2,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
350,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
ปลูกถ่ายไขกระดูก-อวัยวะ, ฟอกไต
10,000 บาท
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
100,000 บาท
ประกันสุขภาพ
ชื่อแผน: Health Smile

฿9,360

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.1 (0)
remove_red_eye1.9K Views
ค่าห้อง
3,000 บาท/วัน
ผู้ป่วยใน
500,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ซื้อเพิ่มได้
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
3,000 บาท/ครั้ง
เสียชีวิต-พิการจากอุบัติเหตุ
250,000 บาท
เมืองไทยประกันชีวิต
แพ็คเสริมประกันกลุ่ม
ชื่อแผน: D Health Plus (มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ)

฿12,697

เบี้ยเริ่มต้น/ปี
4.6 (0)
remove_red_eye14.6K Views
ค่าห้อง
จ่ายตามจริง
ผู้ป่วยใน
5,000,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ
50,000 บาท
คุ้มครองอุบัติเหตุแบบผู้ป่วยนอก
ไม่คุ้มครอง
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่