ศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนซื้อประกัน

คำศัพท์ประกันที่พบบ่อยๆ รู้ไว้ ก่อนซื้อ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในการดูแผนประกัน

จำนวนเงินเอาประกันภัย

Sum insured

จำนวนเงินที่บริษัทประกัน ตกลงว่าจะจ่ายให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ตามแผนประกันกำหนด (ใช้กับประกันภัย)
remove_red_eye11.4K
อ่านต่อ

ค่าสินไหมทดแทน (เคลม)

Claims

การเยียวยาที่ต้องชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ผู้ที่ถูกละเมิด หรือผู้ได้รับผลประโยชน์ ไม่ว่าจะชดใช้เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรืออื่นๆ ตามที่ผู้เสียหายเรียกร้อง
remove_red_eye2.5K
อ่านต่อ

เบี้ยประกัน

Premium

เงินที่ "ผู้เอาประกัน" ต้องจ่ายให้บริษัทประกันในฐานะ "ผู้รับประกัน" เพื่อที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองตามแผนประกันที่ตกลงไว้ และเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี
remove_red_eye1.3K
อ่านต่อ

ทุนประกัน

Sum Assured

จำนวนเงินที่ผู้ทำประกันหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ เมื่อครบกำหนดปีที่ตกลงไว้หรือผู้เอาประกันเสียชีวิต (ใช้กับประกันชีวิต)
remove_red_eye2.2K
อ่านต่อ

ค่าใช้จ่ายส่วนแรก

Deductible

ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองก่อนในก้อนแรก (ตามแผนประกันระบุ) หากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนเกินจากก้อนแรก บริษัทประกันจะเป็นคนจ่ายส่วนที่เหลือให้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินของแผนประกัน
remove_red_eye3.4K
อ่านต่อ

สิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ประกัน (Free look)

Free Look Period

ผู้เอาประกันมีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์สำหรับช่องทางตัวแทน และภายใน 30 วันสำหรับช่องทางการซื้อประกันทางโทรศัพท์ โดยส่งแบบฟอร์มขอยกเลิกและสำเนาบัตรประชาชน พร้อมส่งคืนกรมธรรม์เล่มจริงไปยังบริษัทฯ นั้นๆ หรือยื่นเรื่องเองที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทประกัน เมื่อบริษัทประกันรับเรื่องแล้ว กรมธรรม์จะไม่มีผลบังคับใช้ทันทีนับตั้งแต่วันเริ่มต้นประกัน และจะคืนเบี้ยให้เราเป็นขั้นตอนถัดไป ตามเงื่อนไขแต่ละบริษัทฯ กำหนด
remove_red_eye21.2K
อ่านต่อ

ชดเชยรายวัน, ชดเชยรายได้

HB (Hospitalization Cash Benefit)

ประกันที่ผู้ทำประกันจะได้รับเงินชดเชยรายวัน เมื่อพักรักษาตัวตามจำนวนวันที่นอนค้างในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ลักษณะการจ่ายเงินจากประกัน มักจ่ายเป็นรายวันตามจำนวนวันนอนพัก
remove_red_eye1.6K
อ่านต่อ

ค่าห้อง

R&B (Room and Board)

คือ ค่าใช้จ่ายค่าห้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และค่าอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ในแต่ละวันที่รักษาตัว ประกันแต่ละชนิดมักจะกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ชัดเจน เช่น ค่าห้อง 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท เป็นต้น
remove_red_eye1.9K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยนอก

OPD (Out-Patient Department)

OPD (Out-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยนอก คือการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล พบหมอ รับยา กลับบ้าน
remove_red_eye223.3K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยใน

IPD (In-Patient Department)

IPD (In-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยใน คือการเข้ารับการรักษาแบบนอนรพ. โดยจะนับว่า admit เป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 6 ชม.ขึ้นไป หรือตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
remove_red_eye449.4K
อ่านต่อ

มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่

New health standard

ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป มีกำหนดให้มีการบังคับใช้มาตรฐานประกันสุขภาพแบบอัพเดตใหม่เพื่อ 1. ปรับปรุงเนื้อหาของประกันให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการแพทย์ 2. ปรับปรุงเนื้อหาของประกันสุขภาพให้ตารางผลประโยชน์ของประกันสุขภาพจะหน้าตาเหมือนกันหมดในข้อมูลหลัก 13 หมวด สามารถนำตารางผลประโยชน์ของแต่ละเจ้ามาเทียบกันได้เลย 3. บริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธการต่ออายุได้ เว้นแต่ 3 กรณีนี้คือ: 3.1 กรณีมีหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) ไม่แถลงข้อความจริงตามใบสมัคร (ใบคำขอเอาประกันภัย) หรือคำขอต่ออายุ ใบเเถลงสุขภาพ และข้อแถลงเพิ่มเติมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันสุขภาพ 3.2 ผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) ไปเคลมในส่วนของการรักษาโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ 3.3 ผู้เอาประกันภัย (ตัวเรา) เรียกค่าชดเชยรายวันรวมกันทุกบริษัทเกินรายได้ที่แท้จริง แต่ไม่ได้ให้บริษัทแบกค่ารักษาคนเดียว จะให้บริษัทฯเสนอแผนประกันแบบ co-pay จ่ายไม่เกิน 30% กับลูกค้าแทน เพื่อให้ลูกค้าได้ความคุ้มครองและบริษัทประกันลดความเสี่ยงของตัวเองด้วย วิน วิน กันไป 4. ถ้าเราตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ที่จะไม่บอกบริษัทประกันก่อนว่าเราเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วบริษัทมารู้ทีหลังภายใน 2 ปีที่ทำประกัน บริษัทมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาและคืนเบี้ยทั้งหมด แต่หากมารู้ภายหลังจากสองปีไปแล้ว ก็ถือเป็นการยกประโยชน์ให้ผู้เอาประกัน 5. มีข้อยกเว้นลดลงในส่วนของการรักษาจากการบาดเจ็บในหน้าที่ของอาชีพเสี่ยง เช่น ทหาร ตำรวจ นักบิน แอร์โฮสเตส เป็นต้น รวมถึงลดข้อยกเว้นอื่นๆ เช่นเรื่องความคุ้มครองการทะเลาะวิวาท ให้คุ้มครองครอบคลุมขึ้นนั่นเอง
remove_red_eye1.1K
อ่านต่อ

ศัพท์ที่ต้องรู้
ก่อนซื้อประกัน

(20)

ศัพท์ประกันที่มักเข้าใจผิด

คำศัพท์ประกันที่ดูเหมือนง่าย แต่ทำเราสับสนได้บ่อยๆ

ค่าใช้จ่ายส่วนแรก

Deductible

ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายเองก่อนในก้อนแรก (ตามแผนประกันระบุ) หากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนเกินจากก้อนแรก บริษัทประกันจะเป็นคนจ่ายส่วนที่เหลือให้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินของแผนประกัน
remove_red_eye3.4K
อ่านต่อ

โรคเรื้อรัง

Chronic Disease

โรคที่หากเป็นแล้วจะไม่หายขาด อาจต้องรักษาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ หรือเป็นการรักษาตลอดชีวิต
remove_red_eye1.9K
อ่านต่อ

ชดเชยรายวัน, ชดเชยรายได้

HB (Hospitalization Cash Benefit)

ประกันที่ผู้ทำประกันจะได้รับเงินชดเชยรายวัน เมื่อพักรักษาตัวตามจำนวนวันที่นอนค้างในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ลักษณะการจ่ายเงินจากประกัน มักจ่ายเป็นรายวันตามจำนวนวันนอนพัก
remove_red_eye1.6K
อ่านต่อ

ค่าห้อง

R&B (Room and Board)

คือ ค่าใช้จ่ายค่าห้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และค่าอาหารที่โรงพยาบาลจัดให้ในแต่ละวันที่รักษาตัว ประกันแต่ละชนิดมักจะกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้ชัดเจน เช่น ค่าห้อง 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท เป็นต้น
remove_red_eye1.9K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยใน

IPD (In-Patient Department)

IPD (In-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยใน คือการเข้ารับการรักษาแบบนอนรพ. โดยจะนับว่า admit เป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 6 ชม.ขึ้นไป หรือตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
remove_red_eye449.4K
อ่านต่อ

ผู้ป่วยนอก

OPD (Out-Patient Department)

OPD (Out-Patient Department) หรือ การรักษาแบบผู้ป่วยนอก คือการเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล พบหมอ รับยา กลับบ้าน
remove_red_eye223.3K
อ่านต่อ

เบี้ยประกัน

Premium

เงินที่ "ผู้เอาประกัน" ต้องจ่ายให้บริษัทประกันในฐานะ "ผู้รับประกัน" เพื่อที่ผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองตามแผนประกันที่ตกลงไว้ และเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี
remove_red_eye1.3K
อ่านต่อ

ทุนประกัน

Sum Assured

จำนวนเงินที่ผู้ทำประกันหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ เมื่อครบกำหนดปีที่ตกลงไว้หรือผู้เอาประกันเสียชีวิต (ใช้กับประกันชีวิต)
remove_red_eye2.2K
อ่านต่อ

แบบประกัน

Insurance Plan

ความหมายจริงๆ คือ การจำแนกรูปแบบของประกันมีทั้งหมด 6 แบบ คือ 1) แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) 2) แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) 3) แบบสะสมทรัพย์ (Endowment/Saving Insurance) 4) แบบเงินได้ประจํา/แบบบํานาญ (Annuity Insurance) 5) แบบควบการลงทุน (Investment-linked life insurance) 6) แบบเฉพาะผู้สูงอายุ แต่เวลาใช้จริง มักจะใช้เป็นภาษาพูดที่ไม่ตรงความหมายขนาดนั้น โดยมักใช้เป็นคำเดียวกับ ""แผนประกัน"" ซึ่งหมายความรวมๆ ถึงการเรียกประเภทประกันโดยรวม เช่น แบบประกันสุขภาพ แบบประกันควบการลงทุน แบบประกันออมทรัพย์ หรือ บางครั้งก็ใช้เรียกชื่อประกันแบบเฉพาะเจาะจง เช่น แบบประกัน D-health เป็นต้น
remove_red_eye1.3K
อ่านต่อ

ยินดีที่ได้รู้จัก! เราคือ Dict Prakan

ยินดีที่ได้รู้จัก! เราคือ Dict Prakan

คำศัพท์ประกันฉบับเข้าใจง่าย
พร้อมตัวอย่าง
หมดข้อสงสัยตอนซื้อ
และเคลมประกัน
รวบรวมคำศัพท์
จากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

คำศัพท์ทั้งหมด

ดูทั้งหมด

กู้กรมธรรม์อัตโนมัติ

(v.)

Automatic Premium Loan

เป็นการทำกู้ “อัตโนมัติโดยระบบ” โดยการเอามูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาค้ำเพื่อกู้เงินออกมาใช้จ่ายเบี้ยประกันหากเรามีเหตุให้ไม่สามารถจ่ายได้ ณ ตอนนั้น (หรือบางคนคือลืมจ่ายก็มี) เพื่อให้ความคุ้มครองของเราต่อเนื่องไม่ขาดหาย
remove_red_eye3.4K

การผ่าตัดใหญ่

(v.)

Major Surgery

คือ การผ่าตัดที่ผ่านผนังหรือช่องโพรงของร่างกายซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบ หรืออาจใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนก็ได้ เช่น การผ่าตัดไทรอยด์, ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี, การตัดมะเร็งเต้านม(MRM), ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นต้น
remove_red_eye4.3K

กรมธรรม์

(n.)

Policy

กรมธรรม์ คือเอกสารหลักฐาน และข้อมูลรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ของแบบประกันที่เราได้ทำไป
remove_red_eye1.7K

กายภาพบำบัด

(v.)

Physical Therapy

เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วยจนทำให้กระทบการใช้ชีวิตประจำวัน
remove_red_eye1.5K

การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง

(v.)

Targeted Therapy

เป็นวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบเฉพาะจุด จึงกระทบกับเซลล์ดีอื่นๆ ในร่างกายเราน้อยกว่าการบำบัดด้วยคีโมปกติ ทำให้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยลง
remove_red_eye889

การรับประกันภัย

(v.)

Underwriting

คือ การที่บริษัทรับประกันว่าหากเกิดเหตุตามที่ระบุในสัญญากรมธรรม์กับผู้ซื้อประกัน จะทำการจ่ายค่าชดเชยให้ตามตกลงในสัญญา โดยแลกกับค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ซื้อประกันจะต้องจ่าย ดังนั้นเบี้ยประกันจะคำนวนจากความเสี่ยงของผู้ซื้อประกันแต่ละคน ตามอายุ, เพศ และสภาพร่างกาย ยิ่งมีความเสี่ยงมาก เบี้ยจึงจะสูงตามมากนั่นเอง
remove_red_eye2.8K

กู้กรมธรรม์

(v.)

Policy loan

การเอามูลค่าเงินสดของกรมธรรม์ประกันชีวิตมาค้ำ เพื่อกู้เงินออกมาใช้จ่ายเบี้ยประกัน หรือ เบิกเป็นเงินสดเพื่อไปใช้จ่ายอื่นๆ โดยความคุ้มครองชีวิตจะยังมีอย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ตราบที่เรายังจ่ายเบี้ยประกันตามปกติอยู่ และต้องชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในภายหลัง
remove_red_eye1.5K

การผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

(v.)

Day Surgery

คือ การผ่าตัดใหญ่ หรือทำหัตถการที่ใช้แทนการผ่าตัดใหญ่ได้ แต่เป็นการผ่าที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผ่าแล้วกลับบ้านได้เลย เช่น การผ่าริดสีดวงทวาร, การผ่าไส้เลื่อนที่ขาหนีบ เป็นต้น
remove_red_eye3.3K

การรักษาแบบประคับประคอง

(n.)

Palliative Care

วิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรคและครอบครัว โดยให้การบรรเทาอาการ รวมไปถึงลดความทุกข์ทรมานจากโรคที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้การรักษาแบบประคับประคองจะมุ่งเน้นการดูแลที่ครอบคลุมทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวของคนไข้ด้วย
remove_red_eye881

การผ่าตัดเล็ก

(v.)

Minor Surgery

คือ การผ่าตัดระดับผิวหนัง หรือชั้นใต้ผิวหนัง หรือชั้นเยื่อบุ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ก็เพียงพอ เช่น การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าฝี เป็นต้น
remove_red_eye3.3K

กรมธรรม์ที่ชำระค่าเบี้ยครบแล้ว

(n.)

Paid-up Policy

คือคำเรียกกรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยครบแล้ว แต่ความคุ้มครองยังคงมีอยู่ตามสัญญาประกัน มักเกิดขึ้นกับประกันชีวิต และประกันออมทรัพย์
remove_red_eye2K

ยังไม่มีคำศัพท์ในตัวอักษรนี้

ช่วยทัก LINE บอกพี่เรนนี่หน่อย..
ว่าอยากให้แปลคำว่าอะไร

ประกันเจ้าไหนดี เลือกยังไง

คำค้นหาสุดฮิตเวลาคนเลือกประกันคือ “ประกันสุขภาพ ที่ไหนดี” ก็ประกันมันช่างมีรายละเอียดเยอะ

ทำเรามึนทุกทีสินะ มึนตั้งแต่คำศัพท์ที่ไม่คุ้นหู ทั้ง เหมาจ่าย ทุนประกัน เบี้ยประกัน OPD IPD ชดเชยรายวัน กรมธรรม์ ไปจนถึงแบบประกันว่าต้องซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ ประกันโรงร้ายแรง ต้องซื้ออันไหนกันแน่ แต่ละอันก็มีรายละเอียดความคุ้มครองไม่เหมือนกัน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องซื้อยังไงแม้แต่เริ่มจะเปรียบเทียบประกันยังเริ่มไม่ถูกเลย รีวิวประกัน เลยทำวุ้นแปลภาษาประกัน มาเป็นตัวช่วยให้ทุกคนค่ะ ซึ่งก็คือ Dict Prakan นั่นเอง

Dict Prakan เป็นที่รวบรวมศัพท์ประกันต่าง ๆ ที่เจอได้ทั่วไปเมื่อต้องยุ่งเกี่ยวกับประกัน แล้วทำการแปลภาษาประกันเหล่านั้นเป็นภาษามนุษย์แบบที่คุณป้าข้างบ้านก็เข้าใจ แล้วยังยกตัวอย่างการใช้งานไว้ด้วย แถมคำแปลภาษาประกันแบบทางการที่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องไว้ด้วยเผื่อมีใครอยากแกะคำศัพท์เองเพิ่มเติม

อ่านคำแปลภาษาประกันแล้ว แต่ยังมึนกับการเลือก ประกันที่ไหนดี ให้วกกลับมาที่รีวิวประกัน ที่จะขยายความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสุขภาพ ประกันออมทรัพย์ ประกันออนไลน์ แต่ละตัว แต่ละเจ้า ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพแยกค่าใช้จ่าย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย หรือ ประกันเจอจ่ายจบ ก็มีทั้งหมด รีวิวประกันจะทำการรีวิวไส้ในของประกันแต่ละแบบที่ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบประกันด้วยตนเองง่ายๆ ให้คุณสามารถเลือกประกันที่ดี และเหมาะกับคุณที่สุด 

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรีวิวประกันจากเพื่อน ๆ ที่ซื้อประกันตัวนั้น ๆ มาก่อน ที่จะมาคอมเม้นแบบเรียล ๆ ให้คุณได้รู้ insight ก่อนจะซื้อประกันจริง บริการหลังการขายดีมั้ย เคลมง่ายมั้ย รู้แบบนี้แล้วเริ่มค้นหาประกัน ที่ไหนดี ของคุณได้เลยที่นี่
Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่