remove_red_eye1.8K Views

โรคหัวใจขาดเลือด ตรวจก่อน รักษาก่อน หายก่อน

โพสต์วันที่ 16/09/2020
คราวก่อนพี่แมนมีมาคุยเรื่อง 10 โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดไป วันนี้พี่เรนนี่มีวิธีป้องกันตนเองจากโรคที่ติด 1 ใน 5 โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด ซึ่งก็คือโรคหัวใจขาดเลือด มาฝากกันค่ะ โรคหัวใจขาดเลือดอาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไหร่นัก เพราะเป็นชื่อเรียกโดยรวมของโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือที่เราเรียกกันว่าโรคหัวใจนั่นแหละ

พี่เรนนี่เคยอ่านเจอในพันทิปกระทู้นึง มีเจ้าของกระทู้มาแชร์ประสบการณ์ของคุณพ่อที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และเสียชีวิตหลังจากทำบอลลูนได้ 1 วัน อ่านไปก็เศร้าไป คุณพ่อของจขกท. มีอาการเหนื่อยง่าย จขกท. พาคุณพ่อไปตรวจคลื่นหัวใจที่ร.พ. A พบว่าคลื่นหัวใจปกติ ให้ยาคลายเครียด แก้เวียนหัว มาตามอาการ ต่อมาอาการยิ่งแย่ลงเลยไปหาที่ร.พ. B คุณหมอใช้วิธีฉีดสีและพบว่าคุณพ่อมีเส้นเลือดหัวใจตีบหมดทั้ง3เส้น 70% 80% 90% ตามลำดับ จขกท.ให้ข้อคิดไว้ว่าถึงแม้จะตรวจสุขภาพทุกปีก็ไม่พบว่ามีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ เพราะไม่สามารถตรวจเจอโรคจากการตรวจเลือดได้ พี่เรนนี่ก็ยังสงสัยว่าตรวจคลื่นหัวใจแล้วมันปกติได้ยังไงถ้าเกิดอุตตันมากขนาดนี้

มาถึงตรงนี้อาจจะคิดในใจกันใช่มั้ยคะว่าเราก็ปกติดีไม่เคยมีอาการเจ็บหน้าอก หรือหายใจไม่สะดวก หรือใจสั่นอะไร อายุก็ไม่ได้เยอะแยะ โรคนี้เป็นในคนสูงอายุมากกว่ามั้ง พี่เรนนี่ก็เห็นด้วยนะว่าอาการของโรคน่าจะแสดงออกมาให้เห็นเมื่ออายุมากขึ้น แต่เราอย่าลืมว่าโรคแบบนี้เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดแบบไม่มีที่มาที่ไป เป็นการสะสมของไขมันในเลือด เกิดจากพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายของเราเอง เราคงไม่อยากจะรู้ตัวอีกทีว่าเป็นโรคนี้ ตอนโรคแสดงอาการแล้วใช่มั้ยหละ พี่เรนนี่ไม่ขอพูดถึงค่าใช้จ่ายถ้าเกิดมันกลายเป็นโรคประจำตัวเรา ไหนจะค่าทำบอลลูนหัวใจ หรือทำบายพาส กินยาคุมไขมันในเลือดเม็ดละหลายร้อย อืมมม...

แต่ ๆ ๆ ๆ พี่เรนนี่มีวิธีป้องกันมาแนะนำจ้า เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์กว้างไกลเราสามารถตรวจได้ว่าเรามีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมั้ยในอีก 10 - 15 ปีข้างหน้า โดยใช้เครื่อง CT scan แบบว่านอนสวยๆ ผ่านเครื่องแล้วก็รู้ผลเลย 10 นาทีเสร็จ


CT scan ตรวจอะไร?

พี่เรนนี่ถามคุณหมอมาว่าเราเข้า CT scan เพื่อ scan อะไรคะคุณหมอ? คุณหมอเลยอธิบายว่า CT scan ก็คือเอกซเรย์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมด้วย จึงทำให้ได้ภาพที่คมชัด มีมิติ และอ่านได้แม่นยำกว่าภาพเอกซเรย์ธรรมดา โดยที่การตรวจนี้เครื่องจะคำนวน CT CALCIUM SCORE ออกมาให้เลย พี่เรนนี่ทำหน้างงนิดหน่อยว่าแคลเซียมเกี่ยวอะไร คุณหมอเลยอธิบายเพิ่มว่าเวลาไขมันมาเกาะสะสมอยู่ตามผนังเลือดไม่ได้มีแค่ไขมันอย่างที่เราได้รู้โดยทั่วกัน แต่จะมีแคลเซียมหรือหินปูนผสมอยู่ด้วย ซึ่งทำให้คราบไขมันนั้นเเข็งตัวและเกิดการตีบตันขึ้น เพราะฉะนั้นเครื่องนี้จะคำนวนปริมาณแคลเซียมที่อยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง


วัดผลยังไง?

เมื่อตรวจแล้วจะได้ค่า Calcium Score ออกมา ซึ่งเราสามารถแปลค่าคร่าวๆได้ว่า ค่าระหว่าง 0-400 หมายถึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต่ำ ถึงปานกลาง และค่าตั้งแต่ 400 ขึ้นไปมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูง แม้ว่าปัจจุบันจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม  และอาจจะแสดงอาการภายในระยะเวลา 2-5 ปี

การตรวจ CT CALCIUM SCORE จึงเป็นเหมือนการทำนายล่วงหน้า หรือที่เรียกว่า early detection ก่อนเกิดอาการของโรคที่อาจแก้ไขได้ยาก หรือสายเกินแก้นั่นเอง


ตรวจสุขภาพประจำปีไม่พอหรอ?

การตรวจสุขภาพประจำปีถ้าเราไม่ได้ซื้อแพ็คยิ่งใหญ่อลังการ ปกติมักจะได้ตรวจเลือดซึ่งไม่ได้คัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้ว และมักได้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ซึ่งพบได้ในเกือบทุกแพ็คเกจของโรงพยาบาล เป็นการตรวจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยสามารถตรวจจับการเต้นผิดปกติได้ แต่ไม่ได้เป็นอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสำคัญ อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ได้ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น

และถึงแม้จะเป็นการเต้นผิดปกติจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ก็ต้องมีเส้นเลือดตีบหนักแล้วจึงจะตรวจพบ หรือ บางครั้งก็ตรวจไม่พบเพราะไม่ได้มีอาการขณะตรวจ จึงควรตรวจร่วมกับการวิ่งสายพาน (EST) เพื่อผลที่แม่นยำกว่า เพราะบางครั้งหัวใจตีบ 70% ก็อาจจะยังไม่มีอาการใดๆ ถ้าไม่ได้ออกกำลังกายหนัก
ในความเห็นของพี่เรนนี่เลยขอตอบง่ายๆ ว่าตรวจสุขภาพประจำปีปกติไม่พอค่ะ


ตรวจ CT Calcium Score เป็นยังไง เจ็บมั้ย?

การตรวจ CT Calcium Score จะคล้ายกับการ x-ray แต่ให้ความละเอียดสูงกว่า และปริมาณรังสีน้อย ไม่ต้องฉีดสี ไม่เจ็บ ไม่ต้องงดน้ำอาหาร โดยแค่เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วเข้าไปนอนยกแขนในเครื่องที่หน้าตาเหมือนโดนัทให้เครื่องอ่านผล 5-10 นาทีก็ทราบผลทันที กลับบ้านได้

ใครยังไม่เห็นภาพไปดูรีวิวกันได้ที่ลิ้งนี้เลยจ้า


ตรวจ CT Calcium Score กับโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี

คุณหมอบอกมาว่าเหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้นนะเพราะคุณหมออยากจำกัดอายุในการรับรังสีจากเครื่องนิดนึง พี่เรนนี่แอบถามว่าแพงมั้ยคะคุณหมอ คุณหมอบอกว่าปกติก็อยู่ที่ 3,000 - 7,000 นะ แล้วแต่โรงพยาบาล แต่เดือนนี้โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรีที่คุณหมอประจำอยู่ทำโปรโมชัน ลดเหลือ 990 บาท net เท่านั้น!! คุณหมอบอกว่าให้รีบมาตรวจกัน และราคานี้ต้องซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้นจ้า ซื้อไว้ก่อนว่างวันไหนค่อยไปตรวจ ตรวจได้ถึงสิ้นปี 2563


ซื้อและใช้งานยังไง?

ตัวนี้เป็นแคมเปญที่ต้องซื้อออนไลน์ผ่านไลน์ของสมิติเวชธนบุรีเท่านั้นน้า ไม่รับ walk-in นะจ๊ะ เค้าจะให้ซื้อคูปองตรวจ CT Calcium Score ก่อน แล้ววันที่เรานัดตรวจก็แค่เอาคูปองไปยื่นใช้ได้เลย ไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเพิ่มเติมแล้ว ใครสนใจพี่เรนนี่มี 5 ขั้นตอนง่ายๆ ให้ทำตาม
  1. แอดไลน์ของโรงพยาบาลไปเลยจ้า @samitivejthonburi
  2. พอแอดเสร็จก็พิมพ์ 4 ทิ้งไว้เลย 4 คือสนใจตรวจคัดกรอง "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" (สำหรับอายุ 35 ปีขึ้นไป) เค้าจะมีแอดมินคอยแนะนำต่อ
  3. แอดมินจะถามว่าอายุเข้าเกณฑ์ 35+ มั้ย เคยมีอาการหรือเคยรักษาเกี่ยวกับหัวใจมาก่อนหรือเปล่า?
  4. ถ้าไม่มีประเด็นอะไร ก็ถึงเวลาโอนไว พร้อมเปย์ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย บมจ.ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์ เลขที่ 032-2-42818-9 พร้อมส่งสลิปให้แอดมิน
  5. แอดมินจะขอข้อมูลเพื่อทำประวัติ พร้อมส่งคูปองสำหรับการเข้าตรวจให้เป็นรูปทางไลน์จ้า

พี่เรนนี่ขอตัวไปโอนเงินก่อนนะ ถึงแม้พี่จะสวย โสด สตรอง ก็ไม่ประมาทนะคะ แอบเคลืองแคลงใจว่าที่เราไปยิมเอาชาบูออกเนี่ย เอาออกไปหมดรึเปล่า ไว้คราวหน้ามาเม้าใหม่น้า

#Reviewprakan
#เข้าอกเข้าใจ
#เราไม่อยากให้ใครป่วย
#samitivejthonburihospital
#โรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี

Picture Credit:
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่