remove_red_eye1.2K Views

“ปวดหลัง” 99% ของมนุษย์ออฟฟิศต้องเจอ

โพสต์วันที่ 10/12/2022

“ปวดหลัง” คำยอดฮิตของวัยทำงานที่มักจะได้ยินเสมอ พอปวดหลังก็ต้องนวด มนุษย์ออฟฟิศหลายคนอาจเคยเจอเหตุการณ์ที่เรานั่งทำงานทุกวันเป็นเวลานาน จนกระทั่งวันนึงก็รู้สึกปวดหลัง แน่นอนว่าความรู้สึกเหล่านี้พอเป็นแล้ว ก็จะเป็นเรื่อย ๆ อาการก็จะหนักขึ้นกว่าเดิม

จากสถิติผู้ป่วยอาการปวดหลังปี 2022 พบว่า

  • จำนวนผู้ป่วยปวดหลังมีมากถึง 540 ล้านคน จากทั่วโลก

  • 8 ใน 10 ของชาวอเมริกาจะมีอาการปวดหลังตลอดชีวิต

  • 5% ของผู้ที่มีอาการปวดหลังจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง

  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปี และผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหลัง

  • มนุษย์ออฟฟิศ 4 ใน 10 คนจะมีอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังของมนุษย์ออฟฟิศ คาดว่าพนักงานออฟฟิศกว่า 38% จะมีอาการปวดหลังส่วนล่าง และสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนั่งทำงาน

ส่องสาเหตุอาการปวดหลังของมนุษย์ออฟฟิศจากการทำงาน

  1. นั่งไขว่ห้าง : เวลานั่งไขว่ห้างตัวก็จะตะแคงบิด กระดูกก็จะถูกบิด ทำให้หลังและกระดูกสันหลังงอหรือเอียง ส่งผลให้ปวดหลังเรื้อรังได้
  2. ยืนพักขา : การทิ้งน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้สะโพกเอียง กระดูกสันหลังโค้ง
  3. นั่งยื่นไปข้างหน้า : นั่งยื่นคอไปด้านหน้า หรือยื่นหน้าใกล้จอคอมพิวเตอร์มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มแรงกดไปยังกระดูกสันหลัง แรงกดเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นถึง 4.5 กิโลกรัมต่อระยะ 1 นิ้ว ที่หน้ายื่นออกไป
  4. นั่งไหล่งอ/นั่งหลังงอ /นั่งไม่เต็มก้น : นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อนาน นอกจากจะปวดไหล่และสะบักแล้ว อาจส่งผลไปถึงหลัง เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ จึงควรปรับระดับความสูงและความเอียงของจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม และเตือนตัวเองไว้เสมอ ๆ ให้นั่งหลังตรงตลอดเวลา
  5. เก้าอี้ไม่มีพนัก : ไม่สามารถพิงหลังเพื่อผ่อนคลาย ขยับร่างกายเปลี่ยนท่าได้สะดวกแล้ว ยังต้องนั่งเกร็งหลังตลอดเวลา
  6. นอนขดตัว : หากเรานอนท่าไหนนาน ๆ ตลอดทั้งคืน อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะการนอนขดตัว เพราะจะทำให้กระดูกงอโค้ง กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็ง ท่านอนที่ดีคือการนอนตะแคงขวา โดยมีหมอนข้างช่วยรับน้ำหนักของร่างกายบางส่วน ซึ่งท่านอนนี้นอกจากจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังแล้ว ยังจะทำให้หัวใจทำงานได้สะดวกอีกด้วย
  7. ที่นอนไม่เหมาะสม : ที่นอนไม่ควรใช้เตียงนอนนิ่ม หรือนุ่มจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้

10 TIPS & TRICKS ป้องกันอาการปวดหลัง

  • ควบคุมอาหารและน้ำหนักให้เหมาะสมกับร่างกาย
  • ลดอาการปวดด้วยการนวด
  • หลีกเลี่ยงการนั่งหน้าจอเป็นเวลานาน
  • ลุกขึ้นยืน เดิน หรือยืดเส้น
  • นั่งทำงานด้วยท่าทางที่เหมาะสม
  • สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่เดินสบายแทนการใส่ส้นสูง
  • นอนบนที่นอนที่มีความแน่น ไม่บุุ๋มลงไป เพื่อลดส่วนโค้งของกระดูกสันหลัง
  • เทน้ำหนักเวลายกสิ่งของไปที่ขามากกว่าหลัง
  • การสูบบุหรี่ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ส่งออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอต่อเนื้อเยื่อกระดูกสันหลัง
  • ออกกำลังกายด้วยท่าทางที่เหมาะสม ฝึกกายภาพบำบัดภายใต้การดูแลของแพทย์

10 คำแนะนำรู้ไว้ก่อนสาย เพื่อป้องกันอาการปวดหลังนั้น เป็นวิธีป้องกันเบื้องต้น แต่ถ้าหากน้อง ๆ คนไหนที่มีอาการปวดหลังแบบเรื้อรังแล้วละก็ต้องเจอกับการรักษาที่แอดวานซ์มากขึ้นอย่าง

การรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด

ช่วยลดอาการปวด และช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น
Note: ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ นักกายภาพบำบัด และทำอย่างต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่าย 1,000 - 2,000 บาท/ครั้ง


การฉีดยาสเตียรอยด์ในโพรงเส้นประสาท

เหมาะกับผู้ที่เป็นระยะแรก ช่วยลดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้ดีและได้ผลเร็ว
Note: วิธีนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ใช้เพื่อช่วยลดอาการปวดได้
ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท/ครั้ง

การผ่าตัดด้วยเลเซอร์

การใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปในช่องเส้นประสาทแล้วใช้เลเซอร์ยิงไปที่หมอนรองกระดูกสันหลัง
Note: ข้อมูลวิจัยรองรับค่อนข้างน้อย และไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการรุนแรง
ค่าใช้จ่าย 300,000 บาท/ครั้ง

การผ่าตัดแผลเล็ก

ผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope เพื่อช่วยในการขยายภาพขณะทำผ่าตัด
ค่าใช้จ่าย 239,000 - 252,500 บาท/ครั้ง

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง

ผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope จะช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย ลดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นตัวได้ไว
Note: ควรผ่าตัดรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ค่าใช้จ่าย 365,000  บาท/ครั้ง


เห็นค่าใช้จ่ายรักษาอาการปวดหลัง ก็ไม่ธรรมแล้วนะ
พี่เรนนี่เลยขอแนะนำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาอาการปวดหลังเหล่านี้

เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส ดูแลสุขภาพทุกช่วงเวลา คุ้มครองโรคฝึดาษลิง โรคระบาด โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ คุ้มครองค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายในวงเงินเดียว 5 ล้านบาท
  • เหมาจ่ายในวงเงินเดียว ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าห้องไอ.ซี.ยู ค่าหมอ ค่ายา ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด แบบจ่ายตามจริง
  • นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
  • ครอบคลุมการรักษาฟื้นฟูต่อเนื่องแบบ OPD สมัครได้ถึงอายุ 11 - 90 ปี คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี
  • พลัสเพิ่มความคุ้มครอง การคลอดบุตร ตรวจสุขภาพทำฟัน ดูแลสายตา
  • ซื้อวันนี้ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือนหรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ซิกน่า ประกันสุขภาพกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ทำงานได้อย่างเต็มที่โรคออฟฟิศซินโดรมให้ซิกน่าดูแล ไม่จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยเกินความจำเป็น ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ไม่ยกเลิกกรมธรรม์ แม้ตรวจพบว่าเป็นโรคร้าย
  • คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท สำหรับกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม
  • คุ้มครองโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท อาการเวียนศรีษะ บ้านหมุน การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ นิ้วล็อก
  • เลือกซื้อความคุ้มครองเสริมตามความเสี่ยงโรคร้ายสูงสุด 3,000,000 บาทต่อโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ สำหรับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท
  • ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 


แหล่งที่มา : 
https://www.thegoodbody.com/back-pain-statistics/
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
https://handsdownbetter.org/health-and-wellness/back-pain-facts-and-statistics/
https://www.thehealthdesigns.com/price
https://kdmshospital.com/package/ipd-epidural-steroid-injection/
https://www.samitivejhospitals.com/th/package/detail/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94
https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/packages-promotions/spine-surgery-packages-2
https://www.muangthai.co.th/th/article/behavior-with-back-pain



เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ประกันออฟฟิศซินโดรม
#ปวดหลัง
#มนุษย์ออฟฟิศ
แนะนำสำหรับคุณ
ประกันออฟฟิศซินโดรม จ่ายจริงป่าว?
20.1K view
Editor
verified_user
ออฟฟิศซินโดรมมาเยือน รู้มั๊ย “กายภาพบำบัด” ก็เคลมประกันได้นะ
8.6K view
Editor
verified_user
นั่งทำงานนานจน “น้องริดซี่” มาเยือน
1K view
Editor
verified_user

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่