remove_red_eye787 Views

เปิดเทอมหลังโควิด การศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร

โพสต์วันที่ 02/07/2020
วันที่ 1 ก.ค. เด็กๆ ได้ เปิดเทอมหลังโควิดอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากที่โควิดทำพิษทำให้เด็กๆ อยู่บ้านกันตั้งนาน บางทีก็ทำให้พ่อๆ แม่ๆ ที่ Work From Home กลายเป็น Multi Tasking ทั้งทำงาน และทั้งเลี้ยงลูก อาจจะมึนๆ ประสาทเสียกันบ้าง 55 โควิดกระทบนักเรียนในประเทศไทยมากกว่า 1.5 พันล้านคน หรือ 90% ของนักเรียนไทย เรามาดูกันหน่อยว่า หลังจากที่มีการผ่อนปรนมาตรการการรับมือโควิดและเปิดเทอมหลังโควิด การศึกษาของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังจากโควิด

จากการที่โควิดระบาด บางคนก็บอกว่าจริงๆ แล้วโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้โลกการศึกษาพัฒนาเร็วขึ้น สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดมากคือ การเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปดิจิทัล หรือเปลี่ยนการศึกษาให้เป็นแบบออนไลน์มากขึ้น เพราะเราถูกปิดเมืองหรือกึ่งปิดเมือง แล้วมีการทำ Social distacing ทำให้เราไม่สามารถเข้าใกล้กัน ไม่สามารถเจอกันได้มากเท่าที่ควร การศึกษาเราถึงต้องมาพึ่งพา Digital มากขึ้น ตั้งแต่การทำงาน ไปจนถึงการศึกษาของเด็กๆ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือการศึกษาทางไกล ทั้งหมดเหมือนถูกโยนเข้ามาให้เป็นหน้าที่คุณครูและเด็กๆ ทันที ซึ่งเมื่อก่อนมีแต่การคุยๆ กันเรื่องการเรียนออนไลน์ และการเรียนทางไกล ทีนี้ทุกคนจึงต้องโดน Flight บังคับกันถ้วนหน้า เพราะแม้นักเรียนจะยังไปโรงเรียนไม่ได้ แต่คุณครูและโรงเรียนต้องหาวิธีจัดการเรียนการสอนต่อไปให้ได้ ซึ่งเป็นงานที่ creative มาก ถ้าใครได้เคยเห็นผู้ปกครองหรือคุณครูแชร์วิธีการสอนลง social media จะรู้สึกชื่นชมคุณครูมากๆ เพราะคุณครูต้องใช้วิธีการที่หลากหลายในการดึงดูดความสนใจของเด็กๆ เนื่องจากธรรมชาติของเด็กนั้นยากมากที่จะจดจ่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเรียน 8 ชั่วโมงต่อวันได้ดี เช่น การแต่งชุดแฟนซีมาสอน, มีกิจกรรมเต้นเข้าจังหวะ, ใช้เทคนิคเปลี่ยนพื้นหลังของจอคอมให้น่าสนใจ เป็นต้น


Photo Credit: School photo created by jcomp - www.freepik.com

มาตราการรักษาความปลอดภัยจากเชื้อโควิดสำหรับสถานศึกษา

วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรกและได้กำหนดมาตราการ 6 ข้อ เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่ศึกษาปลอดภัยจากเชื้อโควิด เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
  1. การมีมาตรการคัดกรอง เช่น วัดไข้ก่อนเข้าโรงเรียน ผู้ปกครองร่วมให้ประวัติหากมีความเสี่ยง หากเด็กมีอาการไข้ไม่สบายต้องหยุดเรียนทันที และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
  2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ในโรงเรียน
  3. จัดจุดล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างเพียงพอ
  4. การเว้นระยะห่างในห้องเรียน เน้นจัดการเรียนการสอนให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ให้มีกิจกรรมทำในกลุ่มเดียวกันตลอดทั้งวัน
  5. เน้นการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกัน อาทิ สนามเด็กเล่น ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ร่วมกับการจัดกลุ่มสลับกันใช้งานเพื่อช่วยลดการสัมผัสร่วมกันจำนวนมาก
  6. ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่เกิดการรวมกลุ่มของเด็ก

คำถามที่ผู้ปกครองควรถามครูและโรงเรียน ก่อนเปิดเทอมหลังโควิด?

นอกจากมาตรการของรัฐบาลแล้ว เราคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราจะสอบถามโรงเรียนเพิ่มเติมให้แน่ชัด เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวถูก คำถามที่แนะนำมีตามนี้ค่ะ
  • นอกเหนือจากมาตรการที่รัฐบาลกำหนดแล้ว โรงเรียนมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมบ้าง?
    โรงเรียนจะรับมือกับการที่มีเด็กนักเรียนป่วยด้วยโรคอื่นๆ อย่างไร ที่จะไม่ให้โดนรังแก?
  • นอกเหนือจากการดูแลของโรงเรียนแล้ว สมาคมผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองสามารถช่วยอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง?
  • หลังจากที่เรียนออนไลน์ผ่านไป ถ้านักเรียน (ลูกเรา) เรียนไม่ทันจะทำอย่างไรดี?
ตอนนี้เราได้แต่หวังว่าวัคซีนโควิด-19 จะออกมาให้ใช้งานโดยเร็ววัน ซึ่งระหว่างนี้นอกจากป้องกันด้วยหน้ากาก, แอลกอฮอล และ การทำ social distance แล้ว เราก็ควรมีแผน back-up ให้ลูกๆและครอบครัว ในส่วนของการจำกัดค่าใช้จ่ายด้วยประกันสุขภาพ หรือประกันโควิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าถ้าเกิดเหตุขึ้นจริงลูกเราต้องรอด และจะไม่กระทบฐานะทางการเงินของบ้านเรา

นอกจากนั้นเด็กๆ พ่อแม่ และคุณครูคงจะได้ถอดบทเรียนจากการศึกษาช่วงโควิด และเล็งเห็นคุณค่าของเทคโนโลยีมากขึ้น มีการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นประโยชน์ดีขึ้น และได้พัฒนามาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง

Photo Credit:
เกี่ยวกับผู้เขียน
พี่เรนนี่
สาวโสดสุดเฉี่ยววัย 38 ปี ผู้เป็นตัวแทนของสาวยุคใหม่ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า ใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง Work hard play harder จบปริญญาโทสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของต่างประเทศ และทำงานสายประกันมานานจนใครๆก็ต่างยกให้พี่เรนนี่ เป็นกูเกิ้ลสำหรับประกันไปเลย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แนะนำสำหรับคุณ

ประกันที่ใกล้เคียง

Loading...
Loading...
Loading...
รอสักครู่