remove_red_eye2.3K Views
4 หลุมพรางประกัน ที่คุณควรหลีกเลี่ยง
โพสต์วันที่ 08/10/2020
สวัสดีครับ นานๆจะเจอกันซักทีเพราะพี่เรนนี่ก็ขยันเขียนบทความแบบไม่ยั้งมือ แต่วันนี้พี่แมนจะขอเล่าบ้างนะครับ
พี่แมนได้มีโอกาสให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารเงินและบริหารหนี้ให้กับหลายๆคน ก็พบว่ามีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่มองเรื่องการทำประกันว่าเป็นแค่ตัวช่วยให้อุ่นใจเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินในชีวิต ซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ แต่จริงๆแล้ว ประกันเป็นมากกว่านั้น โดยถือเป็น “เครื่องมือทางการเงิน” แบบหนึ่งที่มีประโยชน์ในการวางแผนการเงินเอาอย่างมาก
ถ้าเปรียบการลงทุนในตลาดหุ้นเป็น “หยาง” ที่มีความร้อนแรง คือมีโอกาสทำกำไรสูง แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงเช่นกัน การลงทุนในประกัน ก็เปรียบเหมือน “หยิน” ที่เยือกเย็น คือการสร้างรากฐานความมั่นคงทางการเงินของเราเอาไว้ ด้วยการเก็บรักษาเงินต้น และให้ความคุ้มครองเป็นเงินก้อนในยามสุดวิสัย รวมไปถึงยังช่วยรักษาความมั่งคั่งในด้านอื่นๆของชีวิต อย่างเช่นด้านสุขภาพอีกด้วย
แต่พี่แมนจะเจอเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่มาปรึกษาตกหลุมพรางประกัน ทั้งแบบที่ตกหลุมพรางเพราะซื้อประกัน และตกหลุมพรางประกันเพราะไม่ซื้อประกัน อย่าเพิ่งงงนะครับ พี่แมนย่อยมาเป็น 4 แบบหลัก ๆ ไปเช็กกันเลยครับว่าเราแอบตกหลุมไหนกันบ้างรึเปล่า
แต่ในความเป็นจริง เราไม่ควรซื้อความคุ้มครองเต็ม max. แบบจ่ายเบี้ยโหด เพียงเพราะอยากนำเอาเรื่องการลดภาษีมาเป็นจุดประสงค์หลักในการซื้อประกัน โดยพี่แมนจะเจอว่า บางคนจะซื้อแต่ประกันออมทรัพย์ให้เต็ม แล้วไม่ซื้อประกันอย่างอื่นติดไว้เลย หรือบางคนมีการงานที่รุ่งเรืองขึ้น ก็จะซื้อแต่ประกันบำนาญกับประกันออมทรัพย์เป็นพอ โดยไม่สนใจการทำประกันในรูปแบบอื่นๆ
ทั้งที่จริงๆแล้ว ประกันสามารถทำหน้าที่ได้ทั้ง 2 แบบ นั่นก็คือ 1) เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และ 2) เป็นการป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินและสุขภาพ ทำให้ถ้าเราจัดพอร์ตการเงินให้บาลานซ์และครบถ้วนสำหรับประกันทั้งสองหน้าที่ คุณก็จะได้รับประโยชน์จากการซื้อประกันที่คุ้มค่ากับชีวิตมากกว่า
เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในช่วงต้นของชีวิต แต่จะส่งผลในช่วงท้ายของชีวิต การชะล่าใจ และคิดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นในชีวิตเร็วๆนี้ หลายๆคนจึงลืมเรื่องการวางแผนประกัน หรือเลื่อนการทำประกันออกไปเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่หากยืดระยะเวลาออกไป เมื่อถึงวันที่จำเป็นจริง ๆ เราจะเจอปัญหา 3 อย่างนี้แน่นอน นั่นก็คือ:
เมื่อรู้และเข้าใจถึงหลุมพรางประกันทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว ก็คงปฏิเสธไม่ได้แล้วนะครับว่า การทำประกันมีความสำคัญกับการวางแผนการเงินของชีวิตเราและครอบครัวมากจริงๆ พี่แมนก็อยากจะเชิญชวนให้คุณผู้อ่านทุกท่านลองมาศึกษาเรื่องการทำประกันเพิ่มเติมและใช้การทำประกันให้เป็นประโยชน์ เพื่อทั้งสร้างเสริม ปกป้อง และส่งมอบความมั่งคั่งให้กับคนที่คุณรักกันดีกว่านะครับ และถ้าหากคุณผู้อ่านไม่แน่ใจว่าจะเริ่มศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประกันที่ไหน ก็สามารถเข้ามาอ่านบทความจากผู้เชี่ยวชาญของทีมงานรีวิวประกัน ที่เว็บไซต์รีวิวประกันได้เลยนะครับ
พี่แมนได้มีโอกาสให้คำปรึกษาเรื่องการบริหารเงินและบริหารหนี้ให้กับหลายๆคน ก็พบว่ามีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่มองเรื่องการทำประกันว่าเป็นแค่ตัวช่วยให้อุ่นใจเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินในชีวิต ซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ แต่จริงๆแล้ว ประกันเป็นมากกว่านั้น โดยถือเป็น “เครื่องมือทางการเงิน” แบบหนึ่งที่มีประโยชน์ในการวางแผนการเงินเอาอย่างมาก
ถ้าเปรียบการลงทุนในตลาดหุ้นเป็น “หยาง” ที่มีความร้อนแรง คือมีโอกาสทำกำไรสูงและโอกาสขาดทุนสูงการลงทุนในประกัน ก็เปรียบเหมือน “หยิน” ที่เยือกเย็น คือการสร้างรากฐานความมั่นคงทางการเงิน ด้วยการเก็บรักษาเงินต้น
ถ้าเปรียบการลงทุนในตลาดหุ้นเป็น “หยาง” ที่มีความร้อนแรง คือมีโอกาสทำกำไรสูง แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงเช่นกัน การลงทุนในประกัน ก็เปรียบเหมือน “หยิน” ที่เยือกเย็น คือการสร้างรากฐานความมั่นคงทางการเงินของเราเอาไว้ ด้วยการเก็บรักษาเงินต้น และให้ความคุ้มครองเป็นเงินก้อนในยามสุดวิสัย รวมไปถึงยังช่วยรักษาความมั่งคั่งในด้านอื่นๆของชีวิต อย่างเช่นด้านสุขภาพอีกด้วย
แต่พี่แมนจะเจอเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่มาปรึกษาตกหลุมพรางประกัน ทั้งแบบที่ตกหลุมพรางเพราะซื้อประกัน และตกหลุมพรางประกันเพราะไม่ซื้อประกัน อย่าเพิ่งงงนะครับ พี่แมนย่อยมาเป็น 4 แบบหลัก ๆ ไปเช็กกันเลยครับว่าเราแอบตกหลุมไหนกันบ้างรึเปล่า
1. ไม่รู้ว่าซื้ออะไรมา
หลุมพรางข้อนี้พี่แมนเห็นคนเป็นกันเยอะมากเลยกับการซื้อตามคนอื่น อย่างเวลาเพื่อนๆมาเล่าให้ฟัง หรือนั่งฟังตัวแทนประกันขายให้เพื่อน แล้วเราก็เออออ “ขอสองค่ะ” ซื้อตามไปด้วยเฉย จำเป็นรึเปล่าก็ยังไม่รู้ แบบนี้เราอาจจะได้ประกันที่ไม่ตรงกับความต้องการของเราจริงๆ แต่เป็นประกันที่ตรงกับความต้องการของเพื่อนเรามากกว่า สุดท้ายถ้าเรานึกขึ้นมาได้ ก็ต้องการจัดการเวนคืนกรมธรรม์กลางทาง ซึ่งไม่คุ้มค่าเงินที่ลงไปแน่ๆ2. ซื้อประกันเพื่อลดภาษีอย่างเดียว
ในหลุมพรางนี้ หลายคนก็อาจจะคิดว่า “นี่ไง ผมก็ใช้ประกันมาวางแผนการเงินแล้ว” โดยการซื้อประกันเพื่อจุดประสงค์หลักในการลดภาษี ทั้งประกันออมทรัพย์, ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ ที่ให้สิทธิประโยชน์ช่วยลดหย่อนภาษีได้แต่ในความเป็นจริง เราไม่ควรซื้อความคุ้มครองเต็ม max. แบบจ่ายเบี้ยโหด เพียงเพราะอยากนำเอาเรื่องการลดภาษีมาเป็นจุดประสงค์หลักในการซื้อประกัน โดยพี่แมนจะเจอว่า บางคนจะซื้อแต่ประกันออมทรัพย์ให้เต็ม แล้วไม่ซื้อประกันอย่างอื่นติดไว้เลย หรือบางคนมีการงานที่รุ่งเรืองขึ้น ก็จะซื้อแต่ประกันบำนาญกับประกันออมทรัพย์เป็นพอ โดยไม่สนใจการทำประกันในรูปแบบอื่นๆ
ทั้งที่จริงๆแล้ว ประกันสามารถทำหน้าที่ได้ทั้ง 2 แบบ นั่นก็คือ 1) เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และ 2) เป็นการป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินและสุขภาพ ทำให้ถ้าเราจัดพอร์ตการเงินให้บาลานซ์และครบถ้วนสำหรับประกันทั้งสองหน้าที่ คุณก็จะได้รับประโยชน์จากการซื้อประกันที่คุ้มค่ากับชีวิตมากกว่า
3. คิดว่าประกันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการวางแผนทางการเงิน
อันนี้ก็จะตรงข้ามกับข้อก่อนหน้า โดยหลายๆคนอาจมีมุมมองที่ไม่ค่อยอยากจะยุ่งกับประกันซักเท่าไหร่ ตอนจัดพอร์ตการเงินเลยมองข้ามประกันไปทั้งก้อน แต่ทราบมั้ยครับว่า การวางแผนทางการเงินที่เป็นคำแนะนำจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) นั้นมี 4 ขั้นตอน นั่นก็คือ:- สร้างความมั่นคง (Wealth Creation): หมายถึงการรู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ และรู้ขยายดอกผล คิดง่ายๆก็คือการเก็บออมเงินทุนเพื่อขยายความมั่งคั่งนั่นเอง
- ปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection): หมายถึงการขจัดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นและนำเงินที่คุณเก็บออมในข้อ 1 ออกจากอ้อมอกของคุณไป ในข้อนี้จะหมายรวมไปถึงการวางแผนเกษียณด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ประกันต่าง ๆ จะมาตอบโจทย์ข้อนี้
- เพิ่มพูนความมั่งคั่ง (Wealth Accumulation): หมายถึงการนำทุนที่อดออมมาวางแผนการลงทุน ให้เติบโตแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินตั้งแต่แบบความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นต่างประเทศ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ให้คุณได้เลือกสรร
- ส่งมอบความมั่งคั่ง (Wealth Distribution): หมายถึงการวางแผนมรดกนั่นเอง โดยจะเป็นการพิจารณาว่าตอนนี้เรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง แล้วเราจะแบ่งให้ทายาทเท่าไหร่ ยังไง ตรงนี้ก็มีหลายวิธีในการจัดการ ตั้งแต่การโอนให้โต้งๆ ทำพินัยกรรม ไปจนถึงการทำประกันชีวิตที่ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์
4. ล่าช้าในการวางแผนประกันชีวิต
เรื่องนี้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในช่วงต้นของชีวิต แต่จะส่งผลในช่วงท้ายของชีวิต การชะล่าใจ และคิดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นในชีวิตเร็วๆนี้ หลายๆคนจึงลืมเรื่องการวางแผนประกัน หรือเลื่อนการทำประกันออกไปเพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่หากยืดระยะเวลาออกไป เมื่อถึงวันที่จำเป็นจริง ๆ เราจะเจอปัญหา 3 อย่างนี้แน่นอน นั่นก็คือ:- เบี้ยประกันแพงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
- อาจจะทำไม่ได้เพราะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
- หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ป่วยเป็นมะเร็ง หรือเสียชีวิต แล้วต้องหาเงินก้อนใหญ่มาจ่ายค่ารักษา หรือทำให้ต้องขาดรายได้ ก็จะกระทบกับการเงินของครอบครัวโดยตรง
เมื่อรู้และเข้าใจถึงหลุมพรางประกันทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว ก็คงปฏิเสธไม่ได้แล้วนะครับว่า การทำประกันมีความสำคัญกับการวางแผนการเงินของชีวิตเราและครอบครัวมากจริงๆ พี่แมนก็อยากจะเชิญชวนให้คุณผู้อ่านทุกท่านลองมาศึกษาเรื่องการทำประกันเพิ่มเติมและใช้การทำประกันให้เป็นประโยชน์ เพื่อทั้งสร้างเสริม ปกป้อง และส่งมอบความมั่งคั่งให้กับคนที่คุณรักกันดีกว่านะครับ และถ้าหากคุณผู้อ่านไม่แน่ใจว่าจะเริ่มศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประกันที่ไหน ก็สามารถเข้ามาอ่านบทความจากผู้เชี่ยวชาญของทีมงานรีวิวประกัน ที่เว็บไซต์รีวิวประกันได้เลยนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
#ประกันสุขภาพ
#ประกันชีวิต
#ประกันออมทรัพย์
#วางแผนการเงิน